จากกรณี เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2567 ปรากฏข่าวพบลูกเสือโคร่ง อยู่ภายในซอยบางวัว-บางจาก 7 พื้นที่หมู่ 11 ต.บางวัว อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา ชาวบ้านและกู้ภัย ได้ช่วยกันล้อมจับ จนสามารถจับมันขึ้นไปท้ายรถกู้ภัยได้สำเร็จ ก่อนที่ตำรวจจะทำบันทึก แล้วเจ้าของได้มาแสดงตัวรับตัวไปจากสถานีตำรวจ พร้อมบอกว่า ลูกสัตว์ที่พบนั้น ไม่ใช่ "เสือโคร่ง" แต่เป็น "ไลเกอร์" ที่ตกแต่งให้ดูเหมือนเสือโคร่ง เพื่อนำไปเข้าฉากถ่ายทำ
ขณะที่ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง อยู่ระหว่างตรวจสอบข้เท็จจริง ซึ่งหากเป็น "ไลเกอร์" จริงตามที่ระบุ ก็จะไม่ได้อยู่ในอำนาจหน้าที่แล้ว รวมถึง ไม่จัดอยู่ในสัตว์ป่าคุ้มครอง เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า
"เนชั่นทีวี" ขอพาไปทำความรู้จัก "ไลเกอร์" รวมถึง "ไทกอน" คือตัวอะไร ทำไมถึงได้ชื่อว่าเป็นเจ้าป่าเลือดผสม
ไลเกอร์ กับ ไทกอน
ก่อนอื่น ผู้เขียนขอนำเรื่องการเกิดสัตว์เลือดผสมมาให้อ่าน เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ซึ่งการเกิดลูกผสมในเชิงชีววิทยาเกิดได้ในหลายระดับ โดยในระดับที่เกิดง่ายที่สุด คือ การผสมในชนิด (species) เช่น การผสมข้ามพันธุ์ระหว่างสุนัขพันธุ์ต่างๆ เพื่อให้เกิดสุนัขพันธุ์ใหม่ให้มีความสวยงาม หรือเหมาะสมกับการใช้งาน
ส่วนอีกระดับหนึ่ง คือ การผสมข้ามพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตต่างชนิด แต่อยู่ในสกุล (genus) เดียวกัน ซึ่งมีจำนวนโครโมโซมใกล้เคียงกัน (แต่ไม่เท่ากัน) ลูกผสมยังเกิดขึ้นได้ระหว่างสัตว์ต่างสกุล แต่อยู่ในวงศ์ (family) เดียวกัน
สำหรับสัตว์ลูกผสม เกิดได้จากทั้งการผสมข้ามสายพันธุ์ของพ่อและแม่ บางชนิดเกิดโดยธรรมชาติ บางชนิดก็เกิดจากมนุษย์
เจ้า "ไลเกอร์" (Liger) กับ "ไทกอน" (Tigon) เอง ก็เป็นลูกผสมของเสือโคร่ง และสิงโต ซึ่งทั้งสองจัดเป็นสัตว์ในวงศ์เสือและแมว
ทีนี้เรามารู้จักสัตว์ทั้งสองกัน
ไลเกอร์
ไทกอน
ไลเกอร์และไทกอน ที่มีในโลกส่วนมากแล้วนั้น เกิดขึ้นจากการผสมเทียม คนเราทั้งสิ้น เพราะในความปกติแล้วเสือและสิงโตนั้นมีพฤติกรรมไม่เหมือนกัน และยังอยู่อาศัยกันคนละถิ่นคนละภูมิประเทศ
นอกจากนี้ ไลเกอร์ และ ไทกอน ถือเป็นสัตว์ลูกผสม ทั้งคู่เลยมักจะมีปัญหาสุขภาพ และอายุสั้น
ขอบคุณข้อมูลจาก :
biotec.or.th
สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า Wildlife Conservation Office, Thailand
Environman
ngthai.com
วิกิพีเดีย
ภาพ : shutterstock