เป็นอีกเรื่องราวที่ผู้คนบนโลกโซเชียลพากันแชร์และตั้งคำถามว่า "แบบนี้ก็ได้หรือ เป็นการบังคับหรือไม่" เมื่อมีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง โพสต์ภาพผ่านเพจเฟซบุ๊กกลุ่ม "พวกเราคือผู้บริโภค" ระบุว่า
“ขอความกรุณาลูกค้ารีวิวให้ 5 ดาวเท่านั้น เนื่องจากลูกค้าได้รับสินค้าราคาพิเศษ ส่วนลดมากกว่า 80 % หากไม่รีวิวทางบริษัทขอสงวนสิทธิ์การรับประกันสินค้าทุกกรณี”
พร้อมยังระบุว่า
ตอนไลฟ์สดขายบอกให้พิเศษ ราคานี้.....
มีรับประกันให้1ปีเต็ม... ก็เลยสั่งมา...
พอส่งของมาแกะดูเอกสารใบใหญ่มาก!!!
ไม่รีวิวไม่รับประกันแบบนี้ก็มีด้วยพึ่งเคยเจอ...
**ไม่ใช่อยู่ที่ราคาของลดราคาหรือไม่ลดราคาแต่ตอนขายบอกว่ามีรับประกันให้เลยซื้อ...
แต่ถ้าเกิดบอกว่าสินค้าได้ลดราคา 80%
ไม่ได้มีรับประกันแล้วตัดสินใจซื้อก็คงเป็นความเสี่ยงของคนซื้อเอง
แต่นี่พูดชัดเจนว่ามีรับประกัน 1 ปีเต็ม ลูกค้าก็เลยซื้อ
โทรไม่รับ แชทไม่อ่าน จะให้ 5 ดาวยังไงก่อน!! (ซื้อของต้องดูรีวิว แต่ถ้ารีวิวไม่ได้มาด้วยการรีวิวจากความเป็นจริงของคนซื้อ แบบนี้ก็ได้หรอ)
ซึ่งภายหลังจากที่โพสต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ ได้มีชาวเน็ตเข้ามาแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก อาทิ
“เคยเจอแบบนี้เหมือนกัน รีวิวตามความจริงค่ะ” “ถ่ายรูปประกอบไปด้วยค่ะ โดนบังคับรีวิว” “ขยำทิ้งไปเลยครับ ไม่มีผลทางกฎหมายจะมาบังคับใด ๆ เลย ถ้าของพัง ต่อให้รีวิวไป 1 ดาว ร้านก็ต้องรับผิดชอบครับ”
สำหรับกรณีนี้ ทางเพจเฟซบุ๊ก มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ได้มีการแชร์ข่าวและอธิบายทางข้อกฎหมาย โดยระบุว่า
#เจอร้านค้าเอาเปรียบผู้บริโภค #ตั้งเงื่อนไขเชิงบีบบังคับเพื่อไม่รับเคลมสินค้า #มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ชี้ ผิดข้อกฎหมายหลายฉบับ #เข้าข่ายสัญญาที่ไม่เป็นธรรม
https://ffcthailand.org/news/unfaircontract
#ระบบรีวิวและการให้คะแนนบนแพลตฟอร์มช้อปปิงออนไลน์ ถูกสร้างมาโดยมีจุดประสงค์ ให้ผู้ซื้อแบ่งปันประสบการณ์การใช้งานจริง ให้แก่ลูกค้าคนอื่น ๆ เพื่อนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจซื้อสินค้าต่อไป แต่เวลานี้กลับมีร้านค้าบางราย ตั้งเงื่อนไขโดยกำหนดว่า หากรีวิวต่ำกว่า 5 ดาว สินค้าจะหมดประกันทันที และ ในกรณีที่เกิดปัญหาจะไม่รับเปลี่ยน ไม่รับเคลม ไม่รับคืนใด ๆ ทั้งสิ้น
ในทางกลับกันหากรีวิวให้ 5 ดาว ทางร้านจะขยายระยะเวลาการรับประกันให้ ซึ่งนี่ ถือเป็นวิธีการที่ไม่ตรงไปตรงมา เพื่อให้ได้ “รีวิวที่ดี” แต่เป็นเงื่อนไขสุดเอาเปรียบของร้านค้าบนแพลตฟอร์มออนไลน์ อีกวิธีที่ร้านค้าบางรายใช้ได้ผลอยู่ไม่น้อย โดยจ้างหน้าม้า สร้างรีวิวปลอมขึ้นมา เพื่อปั่นคะแนนรีวิวและสร้างความน่าเชื่อถือ แต่ทำให้ผู้บริโภค เข้าใจผิด คิดว่า สินค้าร้านนี้ดีมีคุณภาพ
หากพบเจอร้านค้าที่มีพฤติกรรมลักษณะนี้ถือว่า เข้าข่าย นำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ อีกตัวอย่างที่ร้านค้าเอาเปรียบผู้บริโภค นั่นคือคำที่ระบุว่า "#กรุณาถ่ายวิดีโอขณะเปิดกล่องพัสดุ #ไม่มีหลักฐานงดเคลมทุกกรณี
นางสาวณัฐวดี เต็งพานิชกุล นักกฎหมายมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ชี้ว่า วิธีการกำหนดเงื่อนไขไม่รับเคลมข้างต้นถือว่า เข้าข่าย “ข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม” **เพราะเป็นสัญญาที่ฝ่ายหนึ่งได้เปรียบคู่สัญญาอีกฝ่ายหนึ่งมากเกินสมควร ประกอบกับคู่สัญญาไม่ได้รับความยินยอมในสัญญาตั้งแต่ต้น ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 มาตรา 4 วรรคสาม ซึ่งระบุว่า #ข้อตกลงดังกล่าวมีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรมและพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น
**ดังนั้น การที่ผู้ขายใช้เงื่อนไข มาบีบบังคับผู้ซื้อ ด้วยข้อความที่ว่า “ไม่ถ่ายคลิปตอนเปิดพัสดุเคลมไม่ได้” จึงถือเป็นสัญญาที่ไม่เป็นธรรม เท่ากับ ผลักภาระให้ผู้บริโภคแต่เพียงฝ่ายเดียว
ส่วนผู้บริโภคอย่าคิดเพียงแค่ว่า เป็นการแบกภาระ เพราะการถ่ายวิดีโอขณะรับสินค้า ถือเป็นหลักฐานชั้นดี หากเจอสิ่งของแตกหักเสียหาย ได้ของไม่ครบ ไม่ตรงปก จะได้เป็นหลักฐานให้ร้านค้าต้องรับผิดชอบ โดยไม่มีข้ออ้างให้บ่ายเบี่ยง ซึ่งตาม พ.ร.บ.ขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 กำหนดเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภคว่า ให้ผู้บริโภคมีสิทธิเลิกสัญญา โดยส่งหนังสือแสดงเจตนาภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับสินค้าหรือบริการ ไปยังผู้ประกอบธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง (มาตรา 33)
และเมื่อผู้บริโภคใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องคืนเงินเต็มจำนวนที่ผู้บริโภคจ่ายไปคืนภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแสดงเจตนาเลิกสัญญา และการกำหนดเงื่อนไขการคืนสินค้าการเลิกสัญญา เป็นหนึ่งในรายละเอียดการซื้อขาย ที่ผู้ประกอบธุรกิจจะต้องแจ้งให้ผู้บริโภคทราบ ซึ่งถือว่าเป็นข้อสัญญาอย่างหนึ่ง
หากข้อสัญญาเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรม พ.ศ. 2540 จะมีผลบังคับได้เพียงเท่าที่เป็นธรรม และพอสมควรแก่กรณีเท่านั้น ซึ่งการกำหนดว่า จะต้องถ่ายวีดีโอก่อน หรือจะต้องรีวิวสินค้าให้ก่อน จึงจะรับเคลมสินค้าได้ ไม่ได้เป็นเงื่อนไขในการบอกเลิกสัญญาขอเงินคืน ตาม พ.ร.บ.ขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ. 2545 ผู้บริโภคยังมีสิทธิบอกเลิกสัญญา และขอเงินคืนเต็มจำนวนได้
ส่วนการที่มีการว่าจ้างรีวิวสินค้า โดยที่ไม่ได้มีการซื้อสินค้าจริง แต่รีวิวว่าเป็นผู้ใช้จริง ก็เป็นการนำข้อมูลเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งเข้าข่ายเป็นความผิดทุจริตหลอกหลวงนำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบ ตามมาตรา 14 ของพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งต้องพิสูจน์ให้ได้ด้วยว่า คนรีวิวนั้นจงใจรีวิวเพื่อหลอกหลวงผู้บริโภค
อย่างไรก็ตาม ประเด็นผู้ค้าบังคับผู้บริโภคต้องให้รีวิว 5 ดาว กับ ประเด็นต้องถ่ายวิดีโอ ขณะเปิดกล่องพัสดุ มิฉะนั้นจะไม่รับเคลมทุกกรณี ซึ่งยังเป็นเหตุที่เกิดขึ้นจนถึงทุกวันนี้ นักกฎหมายมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แนะนำ
ผู้บริโภค ที่ถูกร้านค้าตั้งเงื่อนไขเอาเปรียบ และต้องการคืนสินค้าทันที เบื้องต้นต้องแจ้งบริษัทแพลตฟอร์มให้ดำเนินการ แต่หากไม่ได้ผล สามารถร้องเรียนไปที่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ( ETDA ) อีกช่องทาง สามารถมาขอความช่วยเหลือจากมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เพื่อเจรจาไกล่เกลี่ยกับทางร้านค้า
https://www.facebook.com/share/p/GxtAvJpZwwzdSfyf/?mibextid=oFDknk