เป็นอีกเรื่องราวที่ผู้คนในโซเชียลมีการแชร์ และวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก เมื่อมีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง โพสต์ภาพพร้อมข้อความระบุ "ปรับจริงไม่ต้อง งง กันอีกต่อไป ค่าปรับนักรักความเร็ว"
โดยเป็นภาพใบเสร็จรับเงิน การชำระภาษีประจำปี รถยนต์นั่งส่วนบุคคล 7 คน จากกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม จำนวน 2,953.60 บาท เงินเพิ่มรถยนต์นั่งส่วนบุคคล จำนวน 88.61 บาท
แต่ที่ไม่ธรรมดาคือ นอกจากต้องเสียค่าภาษีแล้ว ยังต้องจ่ายค่าปรับใบสั่งจราจร ทั้งหมด 6 ใบ ใบละ 500 บาท รวมเป็นเงิน 3,000 บาท
ผู้โพสต์ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า แฟนไปต่อภาษีที่ขนส่งฯ เจ้าหน้าที่แจ้งว่ามีค่าปรับ ที่ อ.ท่าอุแท จ.สุราษฎร์ธานี 4 ใบ และที่ อ.ไชยา อีก 2 ใบ รวม 6 ใบ ซึ่งเป็นใบสั่งขับรถเร็วเกินกำหนดย เริ่มนับตั้งแต่เดือนเมษายน 2566 ที่ผ่านมา
ภายหลังที่โพสต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ ได้มีชาวเน็ตจำนวนมากต่างพากันวิจารณ์ และมีหลายคนตั้งข้อสงสัยว่า ทำไมถึงต้องมีการเสียค่าปรับ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ข่าวว่า ศาลปกครองได้สั่งเพิกถอนประกาศ ตร.กำหนดแบบใบสั่ง-จำนวนค่าปรับ! ตั้งแต่ปี 63 เหตุตัดสิทธิโต้แย้ง-ปิดทางจนท.ใช้ดุลยพินิจ ไม่ใช่หรือ
เนชั่นออนไลน์ จะพาไปไขข้อข้องใจว่า เหตุใดจึงต้องมีการเสียค่าปรับจราจร เมื่อต่อทะเบียนรถเช่นนี้ ........
ก่อนอื่นต้องรู้จักชนิดของใบสั่งจราจร
ปัจจุบัน ใบสั่งจราจร จะมีอยู่ 3 รูปแบบหลัก คือ ใบสั่งชนิดเขียนด้วยลายมือ , ใบสั่งส่งทางไปรษณีย์ (ตรวจจับด้วยกล้อง) ใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์ (ใบสั่งออนไลน์ หรือ e-Ticket)
ทำความเข้าใจก่อนว่าถูกตรวจจับตอนไหน
ปัจจุบัน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ มีการใช้ ระบบตรวจจับยานพาหนะทำผิดจราจรแบบอัตโนมัติ เพื่อตรวจจับการทำผิดกฎจราจร บริเวณแยกไฟแดงต่าง ๆ แบบนี้จะมีการออกใบสั่งที่เรียกว่า "ใบสั่งออนไลน์" รวมถึงกล้องตรวจจับความเร็ว ตามถนนสายต่าง ๆ ทั่วประเทศ จะมีการออก "ใบสั่งส่งทางไปรษณีย์" จึงทำให้บางคนอาจจะยังได้กระทำผิดกฎจราจร และไม่รู้ว่าโดนใบสั่งจราจร เพราะไม่มีเอกสารอะไร ส่งไปที่บ้านเลย หรืออาจจะมีส่งมา แต่คิดว่าไม่เป็นไร
โดยตั้งแต่เมื่อ 1 เม.ย. 66 เป็นต้นไป สำนักงานตำรวจฯ ได้ร่วมมือกับ กรมการขนส่งทางบก ทำให้ผู้ที่โดนใบสั่งจราจร ถ้าไม่จ่ายค่าปรับ จะไม่สามารถต่อภาษีรถยนต์ตัวจริงได้ และให้นิรโทษกรรมใบสั่งค้างเก่าก่อนหน้านี้ ถือเป็นการเริ่มนับกันใหม่ ตั้งแต่ 1 เม.ย. 66 ที่ผ่านมา
ต่อมา กรมการขนส่งทางบก ได้อำนวยความสะดวก ด้วยการเชื่อมระบบ e-Service เข้ากับระบบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อตรวจสอบรถที่ค้างชำระค่าปรับใบสั่งจราจร ทำให้ประชาชนที่ไปต่อภาษีรถยนต์ประจำปี สามารถชำระค่าปรับตามใบสั่ง พร้อมกับชำระภาษี กับนายทะเบียนได้ และรับเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีได้ทันที
แต่หากยังไม่ได้ชำระค่าปรับใบสั่งจราจร นายทะเบียนจะรับต่อภาษีประจำปี แต่จะไม่ได้รับเครื่องหมายแสดงการเสียภาษี (ป้ายภาษี) โดยจะได้หลักฐานชั่วคราวแทนป้ายภาษี มีอายุ 30 วัน เพื่อให้ไปชำระค่าปรับที่ค้าง ให้ครบใน 30 วัน จึงจะสามารถมารับป้ายภาษีได้ แต่หากไม่ชำระค่าปรับภายใน 30 วัน จะมีโทษตาม พ.ร.บ.รถยนต์ ฐานขับรถโดยไม่มีป้ายภาษี ปรับไม่เกิน 2,000 บาท และตัดแต้ม 1 คะแนน
ทั้งนี้ ประชาชนสามารถตรวจสอบว่า ตัวเองมีใบสั่งออนไลน์ค้างคา ก่อนต่อภาษีรถยนต์ หรือไม่ ได้ที่ >> https://ptm.police.go.th/eTicket/ หรือสามารถเช็กใบสั่งออนไลน์ผ่านแอป “ขับดี” ที่พัฒนาขึ้นมาโดยสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และบริษัทโทรคมนาคมแห่งชาติ โดยแอปนี้ ยังสามารถ
ดาวน์โหลดแอป “ขับดี”: IOS / Android
เราสามารถจ่ายค่าปรับใบสั่งจราจรได้ที่ไหนบ้าง?
สำหรับผู้ที่ทราบหรือเช็กแล้วว่า โดนใบสั่งจราจร และไม่อยากนิ่งเฉย ปล่อยไว้จนต้องมาตกใจ หรือเกิดปัญหาตามภายหลัง สามารถจ่ายค่าปรับใบสั่งออนไลน์ ผ่านช่องทางต่อไปนี้
ใบสั่ั่งจราจรรูปแบบเติมของตำรวจก็ยังมีใช้นะ
สำหรับกรณีที่ ศาลปกครองได้สั่งเพิกถอนประกาศ ตร.กำหนดแบบใบสั่ง-จำนวนค่าปรับ! ตั้งแต่ปี 63 ซึ่งเป็นกรณีที่ผู้ขับขี่รถยนต์ ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุม และเขียน ใบสั่งชนิดเขียนด้วยลายมือ นั้น กรณีดังกล่าว ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดย พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รอง ผบ.ตร. ได้ลงนามคำสั่งวิทยุในราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่ 0007.34/3927 เมื่อวันที่ 6 ต.ค. 66 อ้างถึงคำสั่งศาลดังกล่าว และมีคำสั่งว่า ขณะนี้ ตร. อยู่ระหว่างดำเนินการอยู่ระหว่างดำเนินการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลปกครองกลาง และอ้างถึง พรบ. จัดตั้งศาลปกครองกลาง ฯ มาตรา 70 วรรค 2 คำพิพากษาศาลปกครองกลางดังกล่าว ยังไม่มีผลบังคับจนกว่าจะพ้นระยะการอุทธรณ์ หรือในกรณีที่มีการอุทธรณ์ให้รอการบังคับคดีไว้จนกว่าคดีจะถึงที่สุด
ดังนั้น การปฏิบัติงานจราจรในการออกใบสั่ง การใช้เกณฑ์จำนวนค่าปรับตามที่เปรียบเทียบ และ การใช้งานระบบ PTM ให้ทุกหน่วยถือปฏิบัติตามเดิม จนกว่าจะมีกฎ ระเบียบ คำสั่ง กำหนดเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น เพื่อทราบและดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
ดังนั้นจึงทำให้เรื่องของการออกใบสั่งจราจรรูปแบบต่าง ๆ ยังเป็นสุญญากาศอยู่