3 สิงหาคม 2566 เตรียมรับมือฝนตกชุก ฝนฟ้าคะนอง และฝนตกหนัก โดย กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายอากาศทั่วไป ประจำเดือน สิงหาคม 2566 ระบุว่า.. ประเทศไทยจะมีฝนตกชุกหนาแน่นเพิ่มขึ้นอีก โดยส่วนใหญ่จะมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60–80 ของพื้นที่ กับจะมีฝนตกหนักหลายพื้นที่และหนักมากในบางแห่ง ซึ่งก่อให้เกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก รวมทั้งน้ำล้นตลิ่งในบางแห่ง
สำหรับคลื่นลมทั้งบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีกำลังแรง โดยจะมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างจะมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยยังคงมีกำลังแรงเป็นระยะๆและต่อเนื่อง ประกอบกับในบางช่วงจะมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นอกจากนี้จะมีพายุหมุนเขตร้อนเคลื่อนตัวบริเวณทะเลจีนใต้ แล้วมีโอกาสสูงที่จะเคลื่อนตัวเข้าใกล้หรือเคลื่อนผ่านประเทศไทยบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ
สรุปเดือนสิงหาคม 2566 คาดว่า.. ปริมาณฝนรวมส่วนใหญ่จะน้อยกว่าค่าปกติ ประมาณร้อยละ 5 – 10 เว้นแต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะใกล้เคียงค่าปกติ ส่วนอุณหภูมิเฉลี่ยจะสูงกว่าค่าปกติเล็กน้อย
ข้อควรระวัง
เดือนนี้มักจะมีพายุหมุนเขตร้อน เคลื่อนตัวบริเวณทะเลจีนใต้ ซึ่งจะส่งผลให้มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ทำให้มีฝนตกเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตก จึงขอให้ประชาชนติดตามข่าวพยากรณ์อากาศจากกรมอุตุนิยมวิทยาไว้ด้วย
กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายอากาศรายภาค ประจำเดือนสิงหาคม 2566 ดังนี้..
กรุงเทพและปริมณฑล
ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคกลาง
ภาคตะวันออก
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา
ออกประกาศ 01 สิงหาคม 2566
ขณะที่ พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ช่วงระหว่างวันที่ 2 – 8 สิงหาคม พ.ศ. 2566 กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายอากาศทั่วไป ระบุว่า..
ในช่วงวันที่ 2 – 3 ส.ค. 66 ร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบนและอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย
ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่าง มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 4 - 8 ส.ค. 66 ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านประเทศเมียนมาตอนบน และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง
ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบน มีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง 1 – 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ข้อควรระวัง
ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย
ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองตลอดช่วง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 2 – 3 ส.ค. 66 นี้ไว้ด้วย
กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายอากาศรายภาค ระหว่างวันที่ 2 – 8 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ดังนี้..
กรุงเทพและปริมณฑล
ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคกลาง
ภาคตะวันออก
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
ตั้งแต่ จ.สุราษฏร์ธานี ขึ้นมา
ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ลงไป
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา
ออกประกาศ 02 สิงหาคม 2566 12:00 น.