12 กรกฎาคม 2566 เตือน “ฝนตกหนัก” และ “ฝนฟ้าคะนอง” กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า ตั้งแต่เวลา 06.00 น. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น
สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1-2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
ขณะที่ กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า ในช่วงระหว่างวันที่ 11 - 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 ระบุว่า..
ในช่วงวันที่ 11 - 13 ก.ค. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทสเวียดนามตอนบน
ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทย ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้
สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร
ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 15 ก.ค. 66 ร่องมรสุมจะพาดผ่านประเทศเมียนมา ตอนบนของภาคเหนือ และประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศเวียดนามตอนบน และอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย จะเริ่มมีกำลังแรงขึ้น
ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทย จะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 16 - 17 ก.ค. 66 ร่องมรสุมจะเลื่อนลงมาพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย เข้าสู่หย่อมความกดกาศต่ำกำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และ อ่าวไทยมีกำลังค่อนข้างแรง
ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักบางแห่งในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันออก โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก
ส่วนคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยบริเวณห่างฝั่งจะมีกำลังค่อนข้างแรง โดยบริเวณทะเลอันดามัน และอ่าวไทยตอนบน ทะเลมีคลื่นสูง 2 – 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร บริเวณอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
ข้อควรระวัง
ในช่วงวันที่ 14 - 17 ก.ค. 66 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย
ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 16 – 17 ก.ค. นี้ไว้ด้วย
สำหรับ พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่างวันที่ 11-20 ก.ค. 2566 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF) ระบุว่า..
ช่วงวันที่ 12-14 ก.ค.66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังพัดปกคลุม ทะเลอันดามัน ประเทศไทยและอ่าวไทย มีกำลังอ่อนลงเล็กน้อย ทำให้ประเทศไทย ยังมีฝน ฝนฟ้าคะนองและตกหนักบางแห่ง ส่วนมากด้านรับมรสุม (ภาคเหนือด้านตะวันตก ภาคกลาง กทม.ปริมณฑล ภาคตะวันออก) ส่วนภาคอีสาน ยังมีฝนบางแห่ง
สำหรับภาคใต้โดยเฉพาะด้านรับมรสุม (ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่) ยังมีฝนตกต่อเนื่อง แต่มีแนวโน้มเบาลง คลื่นลมฝั่งอันดามันยังมีคลื่นเล็กน้อยถึงปานกลาง ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือ ชาวประมงเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือในระยะนี้
ช่วงวันที่ 15 -21 ก.ค.66 ฝนจะเพิ่มขึ้นอีกครั้ง โดยเฉพาะด้านรับมรสุม และภาคอีสานตอนบนและด้านตะวันออก มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง ต้องระวังฝนตกหนัก ฝนตกสะสม อาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากได้ เนื่องจากคาดว่าจะมีแนวร่องมรสุมเลื่อนลงมาพาดผ่านประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศบริเวณทะเลจีนใต้ตอนบน ซึ่งจะช่วยดึงดูดมรสุมให้มีกำลังแรงขึ้น ส่วนจะมีโอกาสเป็นพายุหมุนเขตร้อนได้หรอไม่ ยังต้องติดตามเป็นระยะๆ
หมายเหตุ - ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ
กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น โดยพยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย 06:00 น. วันนี้ ถึง 06:00 น. วันพรุ่งนี้ ระบุว่า
กรุงเทพและปริมณฑล
ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคกลาง
ภาคตะวันออก
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
ที่มา : กรมอุตุนิยมวิทยา
ออกประกาศ 12 กรกฎาคม 2566