svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

อย. รีบแจง หลังสะพัดหนัก กินเม็ดชานมไข่มุก เสี่ยงโรคมะเร็ง เรื่องนี้มีคำตอบ

สนั่นฟีดอีกแล้ว ข่าวกินเม็ดชานมไข่มุกทำให้เป็นโรคมะเร็ง ล่าสุด ศูนย์ต่อต้านข่าวปลอมได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว จากคำถามตอบที่คุณคาใจ ได้คำตอบที่คุณเชื่อถือได้ ตรงนี้ 

สืบเนื่องจากในขณะนี้ โลกออนไลน์ได้มีการเผยแพร่ข่าว เม็ดไข่มุกบางยี่ห้อจากไต้หวัน มีสารสไตรีน และสารกลุ่มโพลีคลอรีนเนตเต็ดไบฟีนีล (Polychlorinated Biphenyls ; PCBs) ซึ่งทำให้เกิดมะเร็งได้ ทางสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข ได้ตรวจสอบข้อมูลและชี้แจงว่า 

ไม่เป็นความจริง

จากที่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคไต้หวันได้มีการตรวจสอบแล้ว ไม่พบว่ามีสารสไตรีน (Styrene) แต่พบสารอะซิโตฟีโนน (Acetophenone) และสารประกอบกลุ่มโพลีโบรมีนเนตเต็ดไบฟีนีล (Polybrominated Biphenyl ; PBBs) ซึ่งมีปริมาณน้อยมาก แต่ไม่ใช่สารประกอบกลุ่มโพลีคลอรีนเนตเต็ดไบฟีนีล (Polychlorinated Biphenyls ; PCBs) จึงไม่ได้ทำให้เป็นมะเร็งอย่างที่ได้มีการแชร์ โดยเม็ดชานมไข่มุกทำมาจากแป้งมันสำปะหลัง การกินเม็ดชานมไข่มุกก็เหมือนการกินแป้ง จึงยังสามารถกินชานมไข่มุกได้เหมือนเดิม

ย้อนอ่านประเด็นนี้ โดยทางเพจดัง "อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์"
ได้เคยไขคำตอบเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างน่าสนใจ 
.
"ไข่มุก (ในชานม) ไม่ได้ก่อมะเร็งครับ"
เรื่องไข่มุกชานมก่อมะเร็ง กลับมาแชร์กันใหม่อีกแล้ว จริงๆ เรื่องนี้มันตั้งแต่ปี 2555 และก็เคยชี้แจงไปแล้วว่า ไม่ได้มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นเช่นนั้นจริง อย่าตกใจกันครับ ... คราวนี้ เลยเอาข้อมูลจากวารสาร Wellness ของมหาวิทยาลัย University of California Berkeley (http://www.berkeleywellness.com/.../tapioca-pearl-problems) เมื่อ July 26, 2013 มาสรุปให้ฟังกันนะครับ ดูเนื้อหาด้านล่างนะ

 

คนไทยเราน่าจะคุ้นเคยกับเม็ด "ไข่มุก" ขนมเม็ดกลมๆ สีดำๆ เคี้ยวเด้งๆ ที่อยู่ในชานมเย็น สไตล์ไต้หวัน ที่เข้ามาในบ้านเราได้หลายปีแล้ว เม็ดไข่มุกนี้หลักๆ จะทำจากแป้งมันสำปะหลัง

 

ปัญหาคือ เมื่อปี 2012 (พ.ศ. 2555) มีรายงานจากประเทศเยอรมันที่บอกว่า เม็ดไข่มุกนี้อาจจะก่อมะเร็ง และกลายเป็นข่าวใหญ่ไปทั่วโลก ทำนองว่าเป็นเรื่องที่ฟันธงแล้ว ?

การศึกษาที่ว่านั้นทำโดยนักวิจัยของมหาวิทยาลัย University Hospital Aachen โดยเอาเม็ดไข่มุกไม่ระบุยี่ห้อจากตัวแทนจำหน่ายชาวไต้หวัน และพบว่ามีสารเคมี เช่น สไตรีน (styrene) และ อะซิโตฟีโนน (acetophenone) และสารอื่นๆที่จับอยู่กับธาตุโบรมีน ทางนักวิจัยเลยบอกว่ามันน่าจะเป็นสารประกอบกลุ่ม โพลีคลอรีนเนตเต็ตไบฟีนีล (พีซีบี PCBs polychlorinated biphenyls) ... ซึ่งสารพีซีบีนี้ เป็นที่ทราบกันมานานแล้วว่า สามารถทำให้เกิดมะเร็งในสัตว์ทดลองได้ และสารพีซีบีนั้นสัมพันธ์กับมะเร็งตับและมะเร็งผิวหนังของคนงานที่สัมผัสกับสาร

พอเป็นข่าวเช่นนั้น คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ของทางรัฐบาลประเทศไต้หวัน ก็ได้ทำการพิสูจน์หาข้อเท็จจริง ได้เก็บตัวอย่างเม็ดไข่มุก 22 ตัวอย่างจาก 7 ผู้ผลิต ซึ่งผลที่ได้นั้น ไม่พบว่ามีสารสไตรีน ขณะที่พบสารกลุ่มโบรมีนเนตเต็ทไบฟีนิลและอะซิโตฟีโนน แต่มีปริมาณน้อยมาก จนไม่ต้องกังวลต่อสุขภาพ

แต่สิ่งที่น่ากลัว คือการกินชานมไข่มุกในปริมาณที่มากเกินไป อาจทำให้เกิดโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจได้ เพราะนอกจากในเม็ดไข่มุกจะประกอบไปด้วยแป้งมันสำปะหลังแล้วนั้น ในน้ำชานมยังประกอบไปด้วยน้ำตาล น้ำเชื่อม ครีมเทียม นมข้นหวาน ซึ่งจัดได้ว่าชานมไข่มุกเป็นเครื่องดื่มที่มีแคลอรีสูง และมีคุณค่าทางสารอาหารน้อย จึงควรกินชานมไข่มุกนาน ๆ ครั้งเท่านั้น หรือหากต้องการกินอาจลดปริมาณน้ำตาล หลีกเลี่ยงการใส่ครีมเทียมในชานมไข่มุก

ส่วนองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกานั้น (U.S. FDA) ก็ได้ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า สารหอมระเหย กลุ่มอะซิโตฟีโนนและสารสไตรีนนั้น ไม่นับว่าเป็นสารกลุ่มพีซีบี เพราะมันไม่ได้มีส่วนประกอบเป็นคลอรีนหรือไบฟีนิล 
ความจริงแล้ว ทั้งสารกลุ่มอะซิโตฟีโนนและสไตรีนนั้น ได้รับอนุญาตอย่างถูกกฎหมายให้เติมลงไปในอาหารได้ด้วยซ้ำ เพื่อแต่งกลิ่นให้กับอาหาร

สรุปประเด็นตรงนี้ก็คือ ทั้งกลุ่มนักวิจัยเยอรมันและรวมถึงสื่อมวลชนด้วย ได้เข้าใจผิดว่าสารที่พบในเม็ดไข่มุกนั้นเป็นสารประกอบที่เป็นอันตราย ซึ่งไม่ได้เป็นเช่นนั้น

รายงานของทางเยอรมันไม่ได้ระบุเลยว่า สารที่มีโบรมีนอยู่ (ที่พบในไข่มุก) นั้นเป็นสารอะไรกันแน่ และพบปริมาณเท่าไหร่ ซึ่งเป็นเรื่องซีเรียสมากเพราะการที่บอกว่ามันอันตรายหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าปริมาณสารเคมีที่พบนั้นมีมากพอที่จะเป็นพิษหรือไม่
เอาเข้าจริงๆ แล้ว รายงานจากทางเยอรมันเอง ก็ยังไม่ได้ถูกตีพิมพ์ในวารสารวิจัยที่เป็นที่ยอมรับ ไม่ได้รับการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญในวงการว่ามีความถูกต้องแม่นยำเพียงพอ

คำสรุปสำหรับเรื่องนี้ก็คือ อย่าไปตื่นกลัวกันว่าเม็ดไข่มุกชานมจะก่อมะเร็งครับ ยังสามารถบริโภคได้เหมือนเดิม เพียงแต่ก็ต้องระวังเรื่องกินเครื่องดื่มหวานพวกนี้แล้วจะได้แคลอรี่สูงเกิน แถมเด็กเล็กก็ไม่ควรให้กินด้วย เพราะถ้าสำลัก เม็ดไข่มุกอาจพลาดเข้าไปติดหลอดลมได้ครับ

ข้อมูลจาก http://www.berkeleywellness.com/.../tapioca-pearl-problems 

อย. รีบแจง หลังสะพัดหนัก กินเม็ดชานมไข่มุก เสี่ยงโรคมะเร็ง เรื่องนี้มีคำตอบ

มีข้อมูลน่ากลัว (อีกครั้ง) เกี่ยวกับชานมไข่มุก เมนูเครื่องดื่มสุดฮิตยุคนี้ ที่มีผลสำรวจพบว่าส่วนใหญ่มีน้ำตาลเกินมาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ แต่ยอดขายธุรกิจนี้ก็ยังแรงไม่ตก แถมยังสร้างรายได้จนมีมูลค่าธุรกิจนับพันล้านในไทย และหลายหมื่นล้านทั่วโลก

ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค โดยโครงการเฝ้าระวังสินค้า และบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ เปิดเผยผลทดสอบชานมไข่มุก 25 ยี่ห้อ ที่เก็บตัวอย่างเมื่อเดือนพ.ค.ที่ผ่านมา ที่เป็นขนาดแก้วปกติ ไม่ใส่น้ำแข็งพบว่า มี 23 ยี่ห้อน้ำตาลเกินมาตรฐานที่องค์การอนามัยโลก หรือ WHO แนะนำว่าคนเราควรกินน้ำตาลไม่เกินวันละ 6 ช้อนชา หรือ 24 กรัมต่อวัน

ในจำนวนนี้มียี่ห้อเดียวที่น้ำตาล 16 กรัม หรือ 4 ช้อนชา และที่มากสุด 74 กรัม หรือ 18.5 ช้อนชา และค่าเฉลี่ยส่วนใหญ่อยู่ในระดับ 8-11 ช้อนชา นอกจากนี้ยังพบสารกันบูดในเม็ดไข่มุก บางยี่ห้อน้อย บางยี่ห้อมาก แต่ไม่เกินมาตรฐาน และมีข่าวดีคือไม่พบสารปนเปื้อนของตะกั่ว

ระดับน้ำตาลโดยเฉลี่ยที่ 8-11 ช้อนชานี้ พอๆ กับน้ำอัดลมกระป๋อง 325 มิลลิลิตร กาแฟสดขนาดกลาง และชาเขียว 420 มิลลิลิตร ซึ่งต้องใช้เวลาเผาผลาญ 18-27 นาที

อย. รีบแจง หลังสะพัดหนัก กินเม็ดชานมไข่มุก เสี่ยงโรคมะเร็ง เรื่องนี้มีคำตอบ

นี่ไม่ใช่ครั้งแรกของการเตือนเรื่องชานมไข่มุกที่หวานเกินไป และอาจทำลายสุขภาพ เพราะก่อนหน้านี้ก็เตือนกันมาเป็นระยะ นับตั้งแต่ชานมไข่มุกเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยม จากจุดกำเนิดที่ไต้หวันไปถึงทั่วโลก เพราะหลายคนกินแล้วติดใจ ได้ความรู้สึกสดชื่น ด้วยฤทธิ์ของชา น้ำผลไม้ ที่ผสมความหวาน กินแล้วสนุกกับการเคี้ยว เพราะมีเม็ดไข่มุกหนึบๆ ที่ทำจากแป้งมันสำปะหลัง และกระบวนการตลาดที่สร้างมูลค่าให้กินแล้วอินเทรนด์ จนมึปรากฏการณ์เข้าแถวซื้อแล้วหลายแบรนด์

เม็ดเงินธุรกิจชานมไข่มุก จึงเบ่งบานไปทั่วโลก ในปี 2559 มีมูลค่า 1,945 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 62,000 ล้านบาท (อัตราแลกเปลี่ยน 32 บาทต่อ 1 ดอลลาร์) และคาดว่าปี 2568 จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเท่าตัว อยู่ที่ 3,864 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 123,648 ล้านบาท เติบโตปีละประมาณ 8.5%

ตลาดชานมไข่มุกทั่วโลกถือเป็นหนึ่งในตลาดเครื่องดื่มที่มีขนาดใหญ่ โดยคาดว่าในปี 2568 จะมีมูลค่าตลาดรวมราว 1.1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราว 3.43 แสนล้านบาท โดยมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 9.3% ต่อปี ขณะที่ตลาดในประเทศไทยก็คึกคักไม่แพ้กัน ด้วยการเติบโตที่กลับมารุนแรงในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 3,000-4,000 ล้านบาท และดันให้ไทยติดอันดับ 5 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการเติบโตของตลาดชานมไข่มุกสูงสุด

นายเคนนี่ ซี แคน วง กรรมการผู้จัดการ บริษัท มิกเซี่ยน ฟู้ดส์ จำกัด ผู้ให้บริการธุรกิจแฟรนไชส์ แบรนด์ชานมไข่มุก “DAKASI” เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ภาพรวมตลาดชานมไข่มุกในช่วงโควิดระบาดอาจชะลอตัวไปบ้าง ซึ่งหลังโควิดซาพบว่าผู้เล่นในตลาดลดน้อยลง ขณะที่แบรนด์ DAKASI ยังมีการเติบโตหลังจากที่ขายลิขสิทธิ์แฟรนไชส์ให้กับบางจาก รีเทล นำไปขยายสาขาในสถานีบริการน้ำมันบางจาก ทำให้มีจำนวนสาขาเพิ่มขึ้นกว่า 200%

         

“ก่อนโควิดมีสัดส่วนดีลิเวอรีราว 30% และเทคโฮม 70% แต่เมื่อเกิดโควิดสัดส่วนขยับเป็น 50 : 50 เพราะฉะนั้นเราจึงมองว่าภาพรวมรูปแบบเปลี่ยนไป ขณะที่การขยายสาขาในปั๊มน้ำมันบางจาก ทำให้ได้รับการตอบรับดีจากแฟรนไชซี ที่สนใจขยายสาขามากขึ้น บริษัทจึงเริ่มขยายสาขาออกไปในจังหวัดที่มีศักยภาพ โดยปัจจุบันบริษัทมีสาขารวม 100 สาขา เป็นสาขาของบริษัทเอง 25 สาขา และสาขาแฟรนไชส์ 75 สาขา”


อย่างไรก็ดี ในสิ้นปีนี้จะมีสาขาเพิ่มขึ้นเป็น 150 สาขาทั่วประเทศ และมียอดขายราว 360 ล้านบาท โดยในช่วง 2-3 ปีหลังจากนี้บริษัทตั้งธงขยายจำนวนแฟรนไชส์เป็นหลักและเน้นเปิดต่างจังหวัดมากขึ้นโดยเริ่มจากหัวเมืองก่อนโดยเฉพาะภาคอีสานกับภาคตะวันออก หลังจากที่ทำการสำรวจพบว่า ลูกค้ามีกำลังซื้อ

 

นอกจากโควิดส่งผลให้พฤติกรรมการใช้บริการซื้อสินค้าเปลี่ยนไปแล้ว ยังพบว่า ผู้บริโภคใส่ใจต่อสุขภาพมากขึ้น โดยจะเห็นว่า ผู้บริโภคหันมาเลือกสั่งสินค้าประเภทหวานน้อยมากขึ้น ทำให้บริษัทต้องหันมาพัฒนาในเรื่องของ innovation และ healthy โดยให้ลูกค้าสามารถเลือกระดับความหวานในเครื่องดื่มได้

              

ทั้งนี้บริษัทตั้งงบลงทุนในช่วง 2-3 ปีนี้ราว 50 ล้านบาทในการเปิดสาขาและทำการตลาด ซึ่งในเชิงของการตลาดหลังจากมีการ Rebranding ไปแล้วเมื่อปีก่อนในปีนี้ DAKASI จะเริ่มทำแคมเปญการตลาดออกมาต่อเนื่อง เพื่อสร้างการรับรู้ต่อแบรนด์ โดยในครึ่งปีหลังต่อเนื่องถึงปีหน้าจะเน้นการสร้างการเขาถึงผู้บริโภค (customer engagement) มากขึ้น ผ่านระบบ CRM เพื่อรักษาฐานลูกค้าเก่าและสร้างลูกค้าใหม่ ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีลูกค้าใหม่เข้ามามากขึ้น

//

สิ่งที่เราค่อนข้างกังวลคือ เรื่องของคุณภาพสินค้า และการบริการหน้าร้าน การสื่อสารทางการตลาดเราก็อยากได้ฟีดแบคจากลูกค้ามากขึ้นเพราะฉะนั้นจึงลงทุนเยอะในฝั่งของ CRM โดยการเอาดาต้ามาพยายามทำโปรโมชั่นที่ถูกใจลูกค้ามากขึ้นเพราะก่อนหน้านี้มีโปรโมชั่นที่สาดกระจายทุกคนจะได้โปรโมชั่นเหมือนกัน แต่ว่าในช่วงปีหน้าเราจะเริ่ม tailor-made Promotion แต่ละคนมากขึ้นเพื่อให้ลูกค้าได้ทานในสิ่งที่เขาอยากทานจริงๆ

              

นอกจากนี้สิ่งที่อาจเห็นในปีนี้คือ การแข่งทางด้านราคาในแบรนด์ชานมไข่มุกต่างๆที่อยู่ในแพลตฟอร์มค่อนข้างเยอะ ไม่ว่าจะเป็นการลดหรือโปรโมชั่นแจก แถม ซึ่งคาดว่าเมื่อเกิดขึ้นเราก็คงหลีกเลี่ยงไม่ได้เพราะว่ามันเป็นปกติของตลาด แต่ตอนนี้ยังยืนราคาเดิมและไม่มีการปรับราคาแต่อย่างใด

ด้านนางสาวปัทมพร ปรีชาวุฒิเดช ผู้ก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท 21 ซันแพสชั่น จำกัด เจ้าของร้านชานมไข่มุก “BEARHOUSE” กล่าวว่า ตลาดเครื่องดื่มชานมไข่มุกมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง ซึ่งในปีนี้แบร์เฮ้าส์ตั้งเป้าหมายที่จะขยายสาขาเพิ่มขึ้นอีก 8 สาขาจากปัจจุบันที่มีอยู่ 12 สาขา โดยเป็นการลงทุนเองทั้งหมด ในทำเลรอบเมืองและปริมณฑล รวมทั้งมีแผนจะนำร่องทดลองเปิดสาขาในต่างจังหวัด ซึ่งใช้ขนาดพื้นที่สาขาละไม่ต่ำกว่า 50 ตารางเมตร ใช้งบลงทุนสาขาละ 2.5-4.5 ล้านบาท เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่ให้กับลูกค้า

///


นอกจากนี้ยังพัฒนาเมนูใหม่เพื่อรองรับผู้บริโภครุ่นใหม่ โดยคิดค้น วิจัย และพัฒนาโดยใช้วัตถุดิบหลักจากหล่อฮังก้วย และส่วนผสมอื่น ๆ ปรุงขึ้นใหม่จนได้รสชาติความอร่อยใกล้เคียงกับไซรัปปกติมากจนแยกไม่ออก ซึ่ง Sugar Free syrup เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพ ซึ่งพบว่าได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี

 

โดยในปีนี้บริษัทตั้งเป้าหมายที่จะมียอดขายราว 180 ล้านบาท และมีแผนเดินหน้าขยายสาต่อเนื่อง รวมทั้งแผนในระยะยาว จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในอีก 5 ปีข้างหน้าซึ่งจะมีรายได้รวมราว 500 ล้านบาท รวมทั้งขยายการลงทุนในต่างประเทศทั้งในเอเชียและยุโรปด้วย

ที่มา : ฐานเศรษฐกิจ 
 
หน้า 15 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 42 ฉบับที่ 3,808 วันที่ 11 - 13 สิงหาคม พ.ศ. 2565