อีกหนึ่งบทความทางวิชาการที่น่าสนใจ เกี่ยวกับประเด็นโควิด-19 และรายงานสถานการณ์อัปเดตโควิดวันนี้ อัปเดตโควิดโลก ล่าสุดในวันนี้ทางเพจดังด้านวิชาการ เพจคุณหมอธีระ รายงานไว้ว่า
Update สถานการณ์จาก WHO
องค์การอนามัยโลกออกรายงานล่าสุด WHO Weekly Epidemiological Update เมื่อคืนนี้ 18 พฤษภาคม 2566
Omicron สายพันธุ์ย่อย XBB.x ครองการระบาดกว่า 87% ทั่วโลก โดย XBB.1.5 มีสัดส่วนสูงสุดราว 44.76% แต่ลดลงต่อเนื่อง
ในขณะที่ XBB.1.6 XBB.1.9.1 และ XBB.1.9.2 เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ XBB.1.16 มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นกว่า 2 เท่าในรอบ 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา
ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีรายงานจำนวนเคสใหม่เพิ่มขึ้น 52% และจำนวนเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 153% ในรอบ 4 สัปดาห์ที่ผ่านมา
ติดโควิด-19 เสี่ยงเบาหวานมากขึ้น
ทีมงานจากมหาวิทยาลัยเซาเปาโล ประเทศบราซิล เผยแพร่ผลการศึกษาในวารสารวิทยาศาสตร์การแพทย์ PNAS เมื่อ 15 พฤษภาคมที่ผ่านมา
ชี้ใช้เห็นว่า การติดเชื้อโรคโควิด-19 จะทำให้มีการติดเชื้อที่เซลล์ตับได้ และกระตุ้นให้เกิดการผลิตน้ำตาลกลูโคสในร่างกายมากขึ้น
ทั้งนี้กลไกการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เข้าไปในเซลล์ตับนั้นคาดว่าเกิดผ่าน GRP78 และ ACE2 cotransporters
การศึกษานี้ช่วยให้เกิดความรู้ที่อธิบายพยาธิสภาพที่น่าจะช่วยอธิบายความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานที่เพิ่มขึ้นหลังจากติดเชื้อซึ่งมีการศึกษามากมายทั่วโลกที่มีมาก่อนหน้านี้ในแคนาดา สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร
สถานการณ์ระบาดในไทยมีการติดเชื้อกันมากรายรอบตัว
จากจำนวนป่วยรายสัปดาห์ที่มีการรายงานเพิ่มขึ้นนั้น จำนวนเสียชีวิตรายสัปดาห์เพิ่มสองเท่า
คาดประมาณติดเชื้อใหม่อย่างน้อย 16,829-23,374 คน/วัน
การใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง และความใส่ใจสุขภาพตนเอง เป็นตัวกำหนดสิ่งที่แต่ละคนและแต่ละครอบครัวจะเผชิญ
โควิดสายพันธุ์ใหม่ เฝ้าระวัง "โควิด FU.1"แพร่เร็วกว่า XBB.1.16 ถึง 50%
จับตาเฝ้าระวัง โควิด-19 สายพันธุ์ใหม่ FU.1 หรือ XBB.1.16.1.1 แพร่เชื้อไวกว่า XBB.1.16 ถึง 50% กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เผยรายงาน ในไทยพบแล้ว 1 คน มีการแพร่ระบาดเร็ว แต่ยังไม่พบความรุนแรงของโรค จนส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตมาก
โควิด19 สายพันธุ์ใหม่ FU.1 หรือ XBB.1.16.1.1 แพร่เชื้อไวกว่าเดิมถึง 50% แข็งแกร่งขึ้น ต้านทานภูมิคุ้มกันของร่างกาย ห่วงคนภูมิตก ต้องเร่งฉีดวัคซีนกระตุ้น
น.พ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงกรณีผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกประสานความร่วมมือเฝ้าติดตาม “FU.1” หรือ XBB.1.16.1.1 หลานของ XBB.1.16 ซึ่งเติบโตและแพร่ระบาดสูงกว่า XBB.1.16 ถึง 50% โดยไทยพบแล้ว 1 คน ว่า เป็นข้อมูลที่กรมวิทย์ฯ รายงานเข้าสู่ฐานข้อมูลโลก หรือ GISAID ซึ่งกรมมีการติดตามและสุ่มตรวจถอดรหัสสายพันธุ์อยู่ต่อเนื่อง เท่าที่ติดตามแม้จะมีการแพร่ระบาดเร็ว แต่ยังไม่พบความรุนแรงของโรค จนส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตมาก
การแพร่ระบาดเร็วอาจจะมาจากปัจจัยอื่น ๆ ด้วย ทั้งการรวมตัวทำกิจกรรมมากของผู้คนที่มากขึ้น คนใส่หน้ากากอนามัยน้อยลง เนื่องจากบางคนเห็นว่าเป็นเพียงไข้หวัดธรรมดา ไม่อยากให้กังวล เพราะธรรมชาติของไวรัสมีการกลายพันธุ์ ไปหลายสายพันธุ์จำนวนมาก ทางกรมฯ ยังติดตามเฝ้าระวังต่อเนื่อง
ด้าน Center for Medical Genomics ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ ร.พ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เปิดเผยในวันที่ 18 พ.ค.66 ว่า
จับตาโอไมครอน “FU.1(XBB.1.16.1.1)” หลานของ “XBB.1.16”
ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกประสานความร่วมมือเพื่อเฝ้าติดตาม “FU.1” เนื่องจากมีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage)สูงกว่า XBB.1.16 ถึง 50% โดยความรุนแรงยังไม่ปรากฏ
แม้จำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลกจะลดลงอย่างมีนัยสำคัญ แต่โควิด-19ตระกูลโอมิครอนยังมีการกลายพันธุ์แพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ที่เด่นชัดมี 3 กลุ่มคือ
โดยกลุ่มโอมิครอน XBB.1.5 มีการลดจำนวนลงอย่างต่อเนื่อง ประเมินว่าจะถูกแทนที่โดย กลุ่ม XBB.1.16* และ XBB.1.9.1 ที่พบระบาดมากที่สุดในอินเดีย และมีการกระจายไปทั่วโลก ส่วนในอาเซียนพบในสิงคโปร์และไทย
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดี ติดตามการกลายพันธุ์ในระดับจีโนมของไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกจากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของไวรัสโควิด-19 โดยการเก็บตัวอย่างจากผู้ติดเชื้อในประเทศและข้อมูลรหัสพันธุกรรมจากฐานข้อมูลโควิดโลก “จีเสส (GISAID)” ในช่วง 30 วันที่ผ่านมา (15 เม.ย. -15พ.ค. 2566)
พบโอมิครอนสายพันธุ์หลักในประเทศไทย เป็นกลุ่ม XBB* ประมาณ 93.5% ประกอบด้วยสายพันธุ์ย่อยอันดับหนึ่งคือ XBB.1.16* ประมาณ 19% อันดับสองเป็น XBB.1.5* ประมาณ 10% และอันดับสามเป็น XBB.1.9.1* ประมาณ 8.4%
สายพันธุ์ย่อยอันดับหนึ่งกลุ่ม XBB.1.16 หรืออาร์คทูรัส (Arcturus) พบการกลายพันธุ์ระบาดไปทั่วโลกถึง 3 รุ่นคือ
รุ่นแรก
โอมิครอน XBB.1.16 (กลายพันธุ์ ณ. ตำแหน่ง S:E180V, S:478R) ทั่วโลกพบ 9,003 ราย ประเทศไทย 139 ราย
รุ่นลูก
โอมิครอน XBB.1.16.1 (S:T547I) ทั่วโลกพบ 2,714 ราย ประเทศไทย 26 ราย
โอมิครอน XBB.1.16.2 (ORF3a:V13L, ORF1a:P926H) ทั่วโลกพบ 666 ราย ประเทศไทยพบ 25 ราย
โอมิครอน XBB.1.16.3 (A2893C) ทั่วโลกพบ 175 ราย ประเทศไทยพบ 5 ราย
โอมิครอน XBB.1.16.4 (S:T678I) ทั่วโลกพบ 177 ราย ประเทศไทยยังไม่พบ
โอมิครอน XBB.1.16.5 (T9991C,C16332T) ทั่วโลกพบ 135 ราย ประเทศไทยยังไม่พบ
โอมิครอน XBB.1.16.6 (S:F456L) ทั่วโลกพบ 23 ราย ประเทศไทยยังไม่พบ
รุ่นหลาน
โอมิครอน XBB.1.16.1.1 (T3802C) นามแฝง FU.1 ทั่วโลกพบ 122 ราย ประเทศไทยพบ 1 ราย
โอมิครอน XBB.1.16.1.2 (C8692T) นามแฝง FU.2 ทั่วโลกพบ 149 ราย ประเทศไทยยังไม่พบ
ขอขอบคุณ Thira Woratanarat (ป๊ามี้คีน)
อ้างอิงข้อมุลจาก :
COVID-19-related hyperglycemia is associated with infection of hepatocytes and stimulation of gluconeogenesis. PNAS. 15 May 2023.