งาน Thailand smart city Bangkok model ที่เครือเนชั่นกรุ๊ป โดย เนชั่นทีวี และโพสต์ทูเดย์ จัดขึ้น ณ โรงแรมแกรนด์ไฮแอท เอราวัณ ในวันนี้ มีผู้เข้าร่วมสัมมนา ทั้งบุคคลภาคการเมือง ภาคธุรกิจ และผู้นำองค์กร จำนวนมาก และมี คุณฉาย บุนนาค ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เนชั่นกรุ๊ป ไทยแลนด์ จำกัด มหาชน และผู้บริหารเครือเนชั่น เข้าร่วมงาน
โดยคุณสมชาย มีเสน รองประธานกรรมบริหารบริษัทเนชั่นกรุ๊ป กล่าวเปิดงานว่า การที่สื่อน้องใหม่ในเครืออย่างโพสต์ทูเดย์ และเนชั่นทีวี จัดงานสมาร์ทซิตี้เพราะเห็นความสำคัญที่เมืองไทยเข้าสู่เมืองอัจฉริยะ
สมาร์ทซิตี้ นอกจากเป็นเรื่องของการนำเทคโนโลยีมาใช้อำนวยความสะดวก การอยู่ดีกินดี และความปลอดภัยแล้ว ก็จะหมายถึงการมีสิ่งแวดล้อมที่ดี และมีความโปร่งใสในการบริหาร และการขับเคลื่อนด้วยพลังงานอย่างประหยัดหรือ GREEN ENERGY ด้วย
ทั้งนี้ ยังเห็นความล่าช้าในอผนการจับเคลื่อนสมาร์ทซิตี้ให้กับเมือง ซึ่งยังไม่เห็นเรื่องนี้อย่างชัดเจน ซึ่งอาจจะมีข้ออ้างเรื่องงบประมาณหรือเรื่อง อื่นๆ แต่สื่ออย่างเราจึงต้องหยิบเรื่องนี้ขึ้นมา เพื่อผลักดันเร่งให้ ผู้บริหารองค์กร ขับเคลื่อนให้เมืองไทยเข้าสู่เมืองอัจฉริยะ และการเป็นเมืองอัจฉริยะ จะช่วยขับเคลื่อนสังคมผู้สูงอาจุที่จะทำให้มีชีวิตยืนยาวขึ้นและมีคุณภาพชีวิตที่ดี ง่ายต่อความเป็นอยู่ และหวังว่า เมืองที่จะเป็นสมาร์ทซิตี้ได้อันดับแรกคือกรุงเทพมหานคร
โดยงานนี้ก็จะช่วยกันหาคำตอบว่าจะทำอย่างไรให้เป็นเมืองสมาร์ทซิตี้ได้อย่างแท้จริง ซึ่งจะให้กรุงเทพเป็นโมเดลก่อน จากนั้นจะไปจัดยังเมืองอื่นๆว่าจะทำให้เข้าสู่เมืองสมาร์ทซิตี้ได้อย่างไร
ขณะที่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร คุณชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ได้ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ ในหัวข้อ ‘กรุงเทพเป็นเมืองอัจฉริยะจริงไหม เราอยู่ตรงไหนในนิยามที่ถูกกำหนด’
คุณชัชชาติ ระบุว่า ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเมืองคือตลาดแรงงาน หัวใจเมืองคืองานคือการมีเศรษฐกิจ หน้าที่ของกทม.คือ 1.การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน 2.พัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับคน 3.สร้างโอกาส ที่จะต้องดูแลทุกคนสร้างโอกาสให้กับทุกคน/ 4.สร้างความไว้วางใจ เพราะหากเมืองไม่มีความไว้วางใจก็จะอยู่ยาก ดังนั้น สมาร์ทซิตี้ คือการเอาเทคโนโลนีที่เหมาะสมมาเพิ่มทั้ง 4 ข้อนี้ ที่เป็นหัวใจของเมือง
โดยมองว่าปัญหาสำคัญของกรุงเทพมหานคร 4 เดือนแรก ที่ตนเองเข้ามาทำงาน เป็นเรื่องการไว้วางใจ แม้จะเป็นปลายปีงบประมาณก็ไม่สำคัญ แต่สำคัญคือคนไม่ไว้ใจเรา เมืองไม่ได้อยู่ด้วยกฎหมายแต่อยู่ด้วยพันธะสัญญา ถ้าเมืองไหนไว้ใจกันเมืองนั้นจะมีความฉลาดขึ้นได้ แนวทางการสร้างความไว้ใจ จึงต้องให้เอาประชาชนเป็นที่ตั้ง ให้ประชาชนมีส่วนร่วม และมีความเท่าเทียม มีการกระจายอำนาจ ความยุติธรรม ก็จะสร้างความไว้วางใจได้
และแนวทางการแก้ปัญหาความไว้วางใจ ในการนำเอาเทคโนโลยีมาใช้ของกทม. เช่น การใช้แอพพิเคชั่น ทราฟฟี่ฟองดูร์ ที่สามารถร้องเรียนผ่านแอปพลิเคชั่นได้โดยตรงเพื่อให้เกิดการแก้ไข ซึ่ง ทราฟฟี่ฟองดูร์ รัฐบาลทำไว้เมื่อ 4 ปีที่แล้วแต่ไม่มีคนใช้ กทม.จึงนำมาใช้
โดยขณะนี้ มีปัญหาจาก ทราฟฟี่ฟองดูร์ ร้องเรียนมาแล้ว 179,241เรื่อง และแก้ปัญหาไปแล้ง 117,286 เรื่อง ซึ่งตัวเลขกว่า 1.7แสนเรื่องนั้น แสดงถึงความไว้ใจที่ประชาชนไว้ใจ กทม.ในการให้แก้ปัญหา
ส่วนปัญหาที่สองของกทม. คือ ปัญหาเส้นเลือดฝอยที่ผ่านมา กทม.ลงทุนเยอะกับเส้นเลือดใหญ่ โครงสร้างพื้นฐานจำนวนมาก แต่ในชุมชน ไม่ได้ลงทุน เมื่อเส้นเลือดฝอยไม่ได้ดำเนินการก็ไปไม่รอด
ทั้งนี้ถ้าเส้นเลือดใหญ่เข้มแข็ง เส้นเลือดฝอยอ่อนแอ ก็ลำบาก เช่น มีรถไฟฟ้าในเส้นเลือดใหญ่ แต่การเข้าซอย เข้าบ้านต้องรอรถ เพราะเส้นเลือดฝอยอ่อนแอ หรือกรณีการเก็บขยะ รถขยะเข้าไม่ถึงหน้าบ้าน ต้องใช้คน ดังนั้นจะเอาเทคโนโลยีมาช่วยได้อย่างไรเพื่อให้เส้นเลือดฝอยเข้มแข็ง การเป็นสมาร์ทซิตี้ จึงต้องคิดถึงทั้งระบบ
ส่วนการแก้ปัญหาเส้นเลือดฝอย คือการเอาเทคโนโลยีไปหาชุมชน เช่น โครงการต้นไม้ล้านต้น การควบคุมการจราจร และปัญหาที่สามของ กทม. คือปัญหาเรื่องความโปร่งใส จึงต้องเอาเทคโนโลยีมาช่วย ให้เกิดความโปร่งใสขึ้น
และคุณชัชชาติ ยังมองอีกว่า กรุงเทพเป็นอันดับหนึ่งของโลก และมีดัชนีความน่าอยู่ อันดับที่ 98 ดังนั้นจะทำอย่างไรให้พัฒนาขึ้น เพื่อเป็นเมืองที่น่าอยู่สำหรับทุกคน ไม่ได้เป็นแค่เมืองสมาร์ทอย่างเดียว ซึ่ง กทม.ก็มีนโยบาย 9ดี 9ด้าน ที่จะพัฒนา
สุดท้ายคือ อนาคตของเมือง จะต้องมีระบบที่สอนให้คนรู้เรื่องหลากหลายมากขึ้นในทุกด้าน เพื่อให้ตอบโจทย์รอบด้าน และการทำสมาร์ทซิตี้ต้องเริ่มที่คน ไม่ได้เริ่มที่เทคโนโลยี เพราะหัวใจของสมาร์ทซิตี้ต้องตอบโจทย์คน และเอาคนเป็นศูนย์กลาง และสุดท้ายแล้วอยู่ที่ความคิด ให้สงสัยในสิ่งที่เรารู้ และขวนขวายในสิ่งที่เราไม่รู้ และก็ใช้เทคโนโลยี เอามาช่วยสนับสนุนความคิดคนให้แตกต่าง และยอมรับก้าวไปด้วยกัน
คุณชัชชาติ ยังบอกด้วยว่า
เมืองสมาร์ทซิตี้ ส่วนตัวที่ชอบคือ ไทเป ไต้หวัน เพราะคล้ายๆกันกรุงเทพ มองว่า เราจะน่าจะพัฒนาคนได้ทันแน่นอน
นอกจากนี้ยังมี ผู้นำองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และรัฐวิสาหกิจ ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
ไฮไลท์ในช่วงบ่าย ยังมีการแสดงวิสัยทัศน์ จาก พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในหัวข้อ นโยบสยและแนวทางเพื่อความปลอดภัยขั้นสุดขอเมืองระดับมหานคร