จากกรณีโลกออนไลน์ได้มีการแห่แชร์โพสต์จากเฟซบุ๊กของ "นักวิ่งหนุ่ม" รายหนึ่ง พร้อมข้อความอาลัยกับการจากไปของเขา โดยระบุว่า เจ้าตัวได้หมดสติระหว่างซ้อมครั้งแรก เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา แต่ไม่เป็นอะไร จึงได้ออกมาโพสต์เตือนนักวิ่ง ก่อนหมดสติระหว่างซ้อมอีกเป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันพุธ แต่ครั้งนี้เขาเสียชีวิต
ข่าวที่เกี่ยวข้อง : อาลัย "หนุ่มนักวิ่ง" วูบดับขณะซ้อม หลังจากนั้น 3 วันวูบซ้ำ สุดท้ายเสียชีวิต
นพ.อกนิษฐ์ ศรีสุขวัฒนา หรือหมอแอร์
นพ.อกนิษฐ์ ศรีสุขวัฒนา หรือ หมอแอร์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Akanis Srisukwattana เกี่ยวกับ "โรควูบ" โดยระบุว่า โรควูบ อันตรายถึงชีวิตฝากถึงนักกีฬา และ บุคคลทั่วไปที่ออกกำลังกาย อาการวูบ ขณะออกกำลังกาย ให้ถือว่าเป็นความผิดปกติ ที่อาจทำให้เสียชีวิตได้
การวูบ เป็นลม ส่วนใหญ่ จะมาจาก การออกกำลังกายที่หนักเกินไป นานไป แต่ส่วนน้อย มาจากการมีโรคซ่อนโดยเฉพาะ โรคหัวใจ และ โรคสมอง ที่อันตรายมากๆ
ดังนั้น เมื่อไหร่ก็ตามที่วูบ หรือจะวูบ (วูบหมายถึง หมดสติ จอดับ ไม่รู้ตัวนะครับ อาการ หน้ามืดเวลาเปลี่ยนท่า ไม่นับเป็นวูบ) ต้องพบแพทย์ ยิ่งเร็วยิ่งดีตรวจให้แน่ใจ ว่าไม่มีโรคอันตรายซ่อนอยู่ก่อนที่จะออกกำลังครั้งต่อไป
นพ.อกนิษฐ์ ศรีสุขวัฒนา หรือ หมอแอร์
เราไม่สามารถแยกเองได้ 100% ว่าวูบจาก ออกกำลังหนัก หรือวูบจากมีโรคซ่อน การวูบ หน้ามืด เจ็บหน้าอก ขณะแข่ง ไม่มีการนั่งพักให้หายแล้วไปต่อ การแข่งของ คุณในวันนั้นจบลงแล้ว และต้องบอก เพื่อนนักวิ่ง บอกเจ้าหน้าที่สนาม เพื่อไป รพ. ตรวจรักษา หาสาเหตุนะครับ เพราะโรคบางอย่างอาจเป็นโรคที่ต้องรักษาเร่งด่วน
วูบ ต้องตรวจให้แน่นอน ว่าไม่มีอะไรซ่อน ยิ่งตรวจเร็วยิ่งดี ถ้ายังไม่ตรวจ อย่าพึ่งไปออกกำลังครับ เพราะอาจอันตรายถึงชีวิตได้ถ้ามีโรคซ่อน
นอกจากนี้ หมอแอร์ ยังได้เพิ่มเติมว่า
เพื่อความเข้าใจ การออก zone สูงๆ ไม่เกี่ยวกับการเสียชีวิตโดยตรง ถ้าคนนั้นไม่มีโรคซ่อนอยู่ ออก zone สูงก็ แค่ เหนื่อย ล้า เมื่อยกล้ามเนื้อ แต่ไม่ทำให้เสียชีวิต กลับกันการใช้ชีวิตประจำวัน หรือแม้ออกกำลังไม่หนักมาก มีโอกาสเสียชีวิตได้ถ้ามีโรคซ่อน สำคัญคือ ต้องคัดกรอง ว่าเรามีโรคซ่อนที่เราไม่รู้ตัวไหม และควรทำโดยรีบด่วน ถ้ามีอาการเตือน เหล่านี้ เจ็บหน้าอก ใจสั่น หน้ามืดเป็นลม
ขอแสดงความเสียใจกับนักวิ่งและญาติน้องที่เสียชีวิตด้วยครับ
นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์
ก่อนหน้านี้ นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ภาวะวูบหมดสติ (Syncope) เป็นอาการสูญเสียความรู้สึกตัว และการทรงตัวชั่วคราว โดยทั่วไปเกิดจากเลือดไปเลี้ยงสมองลดลงชั่วขณะ ทำให้สมองขาดออกซิเจนชั่วคราวจะมีลักษณะอาการเฉพาะคือ หมดสติเฉียบพลัน เกิดขึ้นชั่วขณะในระยะเวลาอันสั้น และสามารถฟื้นคืนสติได้เอง จะแสดงออกทางอาการหลากหลาย
เช่น เรียกไม่รู้สึกตัว ล้มลงกับพื้น ทรงตัวไม่อยู่ อาจมีอาการเกร็งที่มือ เท้า ตาค้างชั่วขณะ เหงื่อออกที่ใบหน้า ซึ่งผู้ป่วยจะจำเหตุการณ์ตอนหมดสติไม่ได้ โดยจะมีระยะเวลาการหมดสติ ตั้งแต่ 30 วินาที ถึง 5 นาที ขึ้นกับสุขภาพพื้นฐานเดิมของผู้ป่วย ในบางรายอาจจะมีอาการนำมาก่อนเกิดอาการวูบหมดสติ เช่น รู้สึกหวิวๆ มึนศรีษะ โคลงเคลง ตาพล่าหรือเห็นแสงแวบวาบ ปลายมือปลายเท้าเย็น คลื่นไส้ เป็นต้น อาการวูบไม่รู้ตัวเป็นเรื่องที่อันตรายมากโดยเฉพาะคนที่ต้องทำงานบนที่สูง หรือผู้ที่ต้องขับรถ หากมีอาการวูบบ่อยๆ ควรพบแพทย์ประเมินหาสาเหตุ
ด้าน นายแพทย์ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า สาเหตุของภาวะวูบหมดสติ เกิดขึ้นได้หลายสาเหตุ เช่น
สิ่งที่เป็นอันตรายที่ควรต้องระวัง คือ หลังจากผู้ป่วยตื่นขึ้นมาอาจมีอาการบาดเจ็บได้ การรักษาควรจะต้องรักษาที่สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ แต่ถ้าหากวูบหมดสติตื่นขึ้นมาแล้วมีอาการ เช่น ปากเบี้ยว ลิ้นแข็ง พูดไม่ชัด ชาหรืออ่อนแรงร่างกายครึ่งซีก อาจเป็นสัญญาณเตือนความผิดปกติภาวะทางสมองอาการของหลอดเลือดสมองตีบ หรือหลอดเลือดสมองแตกได้ ผู้ป่วยหรือผู้ใกล้ชิดควรต้องสังเกตอาการวูบที่เกิดขึ้น และควรรีบมาพบแพทย์ทันทีอย่าปล่อยทิ้งไว้
ขอบคุณข้อมูลจากเพจ Akanis Srisukwattana (หมอแอร์)