3 พฤศจิกายน 2564 คณะนักบรรพชีวินวิทยาจีน ได้ประกาศการค้นพบ "ไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่" ที่มีส่วนหน้าสุดของ "กระดูกสันหลัง" ช่วงกลางหลัง (dorsal vertebrae) เป็นรูป "ผีเสื้อ" ซึ่งจัดเป็นลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจาก "ไดโนเสาร์" กลุ่มโทรโอดอนทิด (troodontids) ตัวอื่น
ทีมวิจัยฯพบตัวอย่างต้นแบบของ "ไดโนเสาร์สายพันธุ์ใหม่" ดังกล่าวในเขตปกครองตนเองมองโกเลีย ทางตอนเหนือของจีน ประกอบด้วย กะโหลกสภาพเกือบสมบูรณ์ ความยาวรวม 12 เซนติเมตร และชิ้นส่วนกระดูกหลังกะโหลกศีรษะ (postcranial bones) ขณะส่วนลำตัวยาวถึง 1 เมตร
เผย รุ่ย นักวิจัยจากสถาบันบรรพชีวินวิทยาสัตว์มีกระดูกสันหลังและมานุษยวิทยาบรรพกาล (IVPP) สังกัดสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน (CAS) กล่าวว่า "ไดโนเสาร์" ข้างต้น อาศัยอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนปลายเมื่อประมาณ 83 - 70 ล้านปีก่อน โดยอยู่ในขั้นโตเต็มวัย ซึ่งเป็นช่วงเวลาสำคัญทั้งในแง่การพัฒนาเชิงปัจเจกและวิวัฒนาการของประชากรไดโนเสาร์กลุ่มใหญ่
"การค้นพบครั้งนี้มีความสำคัญต่อการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตบนบกและการเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมยุคดึกดำบรรพ์ในเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือช่วงปลายยุคครีเทเชียส"
อนึ่ง การค้นพบฉบับออนไลน์ได้รับการเผยแพร่ในวารสารครีเทเชียส รีเสิร์ช (Cretaceous Research) เมื่อเดือนตุลาคม
ที่มา xinhuathai.com