"ความคิดส่วนตัวของตระกูลสะสมทรัพย์นั้น เมื่อเข้ามาเป็นนักการเมือง ความต้องการตัวเองต้องเป็นที่สอง ความต้องการประชาชนต้องเป็นอันดับหนึ่ง ต้องทำได้ อย่าเห็นแก่ตัว อย่ามีกิเลส อย่าหลงในอำนาจ ซึ่งทำยากมากแต่คุณต้องทำ ถ้าคุณจะมาเป็นผู้แทน"
นี่คือคำจัดความของความเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ของ "เผดิมชัย สะสมทรัพย์" อดีตรัฐมนตรีและเป็นผู้แทนฯมาหลายสมัย แห่งเมืองนครปฐม
ความพ่ายแพ้จากการเลือกตั้งเมื่อปี 2562 คนบ้านใหญ่นครปฐม อย่าง "เผดิมชัย สะสมทรัพย์" หล่นลงไปอยู่อันดับสี่ แต่ทว่านักการเมืองผู้เจนจัดสังเวียนเลือกตั้งก็สามารถฮึดกลับมาได้เร็ว ในการเลือกตั้งซ่อม "เผดิมชัย" ได้รับชัยชนะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปีเดียวกัน
ด้วยเหตุนี้ "ผ่าสมรภูมิเลือกตั้ง66" จึงได้มีโอกาสเจาะใจคน"บ้านใหญ่นครปฐม" ในหลายแง่มุมก่อนเตรียมลงทำศึกรอบใหม่ "เลือกตั้ง66"
"เผดิมชัย"เป็นส.ส. นครปฐม สมัยที่ 8 สังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ในรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย ความน่าสนใจคือตระกูลการเมือง เป็นพี่ชายคนโตในตระกูลสะสมทรัพย์ "ไชยยศ -ไชยา(เสียชีวิต)- อนุชา สะสมทรัพย์ตามลำดับ
ความเป็นตระกูลทางการเมืองขนาดใหญ่ จะมีบทบาทกับการเลือกตั้ง 66 มากน้อยแค่ไหน ?
"เผดิมชัย สะสมทรัพย์" : ยอมรับว่าความเป็นตระกูลใหญ่ ตั้งแต่สมัยคุณทวด คุณปู่ ยันมาถึงรุ่นคุณพ่อผม ตั้งรกราก เติบโต ใช้ชีวิตอยู่จังหวัดนครปฐม มา 200 กว่าปี ปัจจุบันตัวพ่อผม อายุ 97 ปี ย่าง 98 ปีแล้ว ทำให้เห็นว่าตระกูลของเราผูกพันธ์กับจังหวัดนครปฐมมาอย่างยาวนาน
"นครปฐมให้อะไรกับตระกูลผมมากมาย ทำให้เรามีบ้านช่อง ให้ที่ทำมาหากิน ตั้งแต่รุ่นคุณตาเลยก็ว่าได้เพราะท่านเป็นเจ้าของโรงสีจวบจนปัจจุบัน ตระกูลผมเข้าใจบริบทสัมคมในนครปฐมทุกยุคทุกสมัย"
เหตุผลที่เข้าร่วมสังกัดพรรคชาติไทยพัฒนา ?
"เผดิมชัย" : แรกเริ่ม ผมสังกัดพรรคเล็กที่สุด คือ"พรรคก้าวหน้า" ของ คุณอุทัย พิมพ์ใจชน เรามีอุดมการณ์ตั้งแต่จะลงเลือกตั้งว่าทำไม คุณอุทัย ถึงไม่มีใครสนับสนุน เพราะตอนนั้นนโยบายของพรรคนั้นดีมาก ส่วนตัวผมถูกเชิญร่วมงานการเมืองครั้งแรก จากท่านชัยยศ ซึ่งได้แนะนำว่า กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ควรจะมีวาระ ไม่ได้หมายความว่า จะต้องเป็นไปตลอดตั้งแต่อายุ 25 ปี จน 60 ปี ตามกฎหมาย บางคนเป็นมาตั้งแต่รุ่นคุณปู่ คุณย่า ซึ่งถือว่าเป็นเร็วไป พอนานไปก็สร้างความรำคาญ สร้างความเบื่อหน่ายให้กับประชาชน
จึงคิดได้ว่าถ้าใครทำความดีไว้ ก็ควรได้ดำรงตำแหน่งต่อเนื่อง จึงสนับสนุน "คุณอุทัย พิมพ์ใจชน" ซึ่งขณะนั้นมีผู้แทน 3 ท่าน เห็นได้ว่าการตัดสินใจของพวกเราอยู่ในหลักการเดียวกันทั้งสิ้น ไม่ได้อยู่ในหลักการว่าเราต้องแพ้ หรือชนะ เราต้องสนับสนุนหลักการที่ใกล้ตัวเรามากที่สุด ที่จะเป็นประโยชน์แก่ประชาชนมากที่สุดด้วย
หากย้อนกลับไปปี 62 ผมไม่ได้เปลี่ยนหรือย้ายพรรคเยอะ ทุกคนทิ้งผมไปกันหมดต่างหาก พอผมย้ายไปพรรคก้าวหน้า ทุกคนก็หนีไปกันหมด จนก่อตั้งรวมพรรคเอกภาพขึ้นมา โดยมี"คุณบุญชู โรจนเสถียร" และคนอื่น ๆ อีก จนภายหลังได้ท่าน "เนวิน ชิดชอบ" เข้ามาอยู่ด้วยอีกคน และท้ายสุดพรรคเล็กถูกยุบหมด จนปี 40 ถึงย้ายมาอยู่กับพรรคไทยรักไทย ซึ่งผมก็อยู่พรรคนี้ยาวไปจนเกิดรัฐประหาร ทำให้ต้องเปลี่ยนพรรคกระทันหัน จึงเป็นเหตุว่าทำไมถึงย้ายมาอยู่"พรรคชาติไทยพัฒนา"
การเลือกตั้งปี 62 มีเหตุพลิกผันอะไร ถึงทำให้เกิดการสอบตก ?
สาเหตุหลักเกิดจาก หลังออกจากเพื่อไทย ทั้งที่ตอนนั้นพรรคให้เรามีบทบาท เป็นผู้หลักผู้ใหญ่ให้ตำแหน่งรัฐมนตรี พอเราย้ายออกทำให้ประชาชนที่สนับสนุนพรรคเกิดความไม่พอใจในตัวผม ว่าทำไมเราถึงไม่บอกกล่าวก่อน หรือมีความจำเป็นอะไรที่ต้องย้ายพรรค ซึ่งตอนนั้นเรายอมรับว่าเราไม่อยากบอกใคร
"พอเกิดเรื่องขึ้นจึงทำให้รู้ว่า พี่น้องประชาชนเขาโกรธผม จึงทำโทษให้บทเรียนกับผม แต่ส่วนตัวผมมองว่าเป็นเรื่องปกติ ไม่เคยโกรธใคร คิดแค่ว่าจะต้องพัฒนาตัวเองให้มากขึ้น"
"เผดิมชัย" เล่าต่อไปว่า จากนั้นไม่นานช่วงเลือกตั้งซ่อม ผมได้รับความไว้วางใจจากประชาชนกลับคืนมาอีกครั้ง จนได้รับชัยชนะครั้งนั้น เพราะประชาชนเข้าใจในตัวผม ถึงสาเหตุการย้ายออกจากพรรคเพื่อไทย จนยาวมาถึงกระทั่งปี 66
มองยังไงกับผู้นำทัพของนครปฐม ในขณะนี้ ?
นครปฐมมีทั้งหมด 7 อำเภอ ซึ่งตอนนี้เรามีผู้แทน 6 คน ผมได้ทำความเข้าใจกับพี่น้องชาวนครปฐมจนเข้าใจในตัวผมว่าทำไมผมถึงต้องย้ายมาชาติไทยพัฒนา ซึ่งผมได้บอกว่าที่จริงแล้วทุกพรรคการเมืองนั้นมีดีหมด ทุกพรรคเป็นเพื่อนกันหมด เพียงแต่ชาติไทยพัฒนาคือบ้านที่อยู่ใกล้ผมมากสุด ซึ่งอยู่ภาคกลาง และผู้นำก็เป็นคนภาคกลาง คือ "ท่านบรรหาร ศิลปอาชา"
ปัญหาที่เราเจอมาตลอดขณะเป็นผู้แทน ทั้ง สุพรรณบุรี สิงห์บุรี นครปฐม ของภาคกลาง คือเรื่องปลูกข้าว ซึ่งเกิดจากปัญหาด้านน้ำ เช่น ขาดแคลนน้ำ หรือปัญหาประตูชลประทาน ซึ่งจังหวัดที่กล่าวมาเจอปัญหาคล้ายกันหมด จนได้ศึกษาและบอกกับชาวบ้านไปว่าบ้านเมืองตอนนี้เราเปลี่ยนแปลงไป จากเดิมที่เคยพูดกันในอดีตว่า ไม้สัก ยางพารา ข้าวเป็นสินค้าส่งออก ตอนนี้ไม่ใช้แล้ว
คอนเซ็ป คือ จะทำยังไงถึงจะดึงนักท่องเที่ยวเข้ามา จึงได้ว่า พระร่วง โรจนฤทธิ์ ของนครปฐม น่าจะเป็นตัวช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวได้มากอีกทาง อีกทั้งยังมีวัดไร่ขิงที่สร้างชื่ออยู่แล้ว จึงมีคำถามว่าเราจะเพิ่มศักภาพให้ดีขึ้นอย่างไร เพราะนครปฐมเป็นเมืองพุทธศาสนา ถึงเป็นที่มาว่าทำไมเราถึงเจาะจงเลือกภาคกลางเพราะเรามีความเข้าใจในปัญหาที่แท้จริง จะได้แก้ไขให้พี่น้องประชาชนได้ตรงจุดมากที่สุด
การดิ้นรนแบบไหนที่จะช่วยให้ประชาชานอยู่ดีกินดี นี่คือโจทย์ใหญ่ ภูมิประเทศของนครปฐมไม่ได้มีทะเล มีภูเขา เหมือนภูเก็ต หรือเชียงใหม่ แต่จะทำอย่างไรให้นักท่องเที่ยวมากขึ้นแบบนั้นได้ ซึ่งผมมีนโยบายด้านอื่นเข้ามาช่วยอีกทางคือ ผลักดันสินค้าที่เรามีให้เติบโตมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมการกระจายสินค้าทุกชนิดให้เขามารับซื้อเราโดยอัตโนมัติ เพื่อเกิดการหมุนเวียนของเศรษฐกิจในจังหวัด
การแข่งขันทางการเมือง ทั้ง 6 เขต ประเมินไว้อย่างไรบ้าง ?
ตั้งแต่ได้เข้าสภาปี62 และเมื่อความคิดเปลี่ยนไป ผมคิดว่าสิ่งที่ดีที่สุด คือความสามัคคี คือพลัง ผมอยากให้เราได้รับเกียรติเพิ่มขึ้นอีก1คน อยากให้น้องๆมารวมพลังเป็นหนึ่ง ปัญหาในพื้นที่ก็ดีถ้าหากได้ร่วมกันแก้ปัญหาจะทำให้เรื่องแก้ไขได้เร็วขึ้น ไม่ใช่ว่าเขตใคร คนนั้นก็ไปรับผิดชอบเอาเอง แบบนี้ไม่ได้ ผมอยากให้ทุกปัญหาคือ ทุกเรื่องของทุกคนที่ต้องช่วยกันแก้ไข ไม่ใช่ปล่อยให้เป็นปัญหาของใครคนใดคนหนึ่งอีกต่อไป ถ้าคนไหนมีความสามารถไม่เหมือนกัน เราจะยังสามารถช่วยกันแก้ปัญหากันได้อยู่ดี
จึงเป็นที่มาว่าทั้งหมด 6 เขตต้องเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ พื้นฐานคนในบ้านต้องได้รับการดูแลดีที่สุดก็คือ ให้หลานมาเป็นนายกฯ อบจ. ซึ่งเป็นการทดสอบว่าประชาชนยังเคารพ และรักเราทั้งจังหวัดหรือไม่แค่ไหน จนหลานชายได้คะแนนมาอย่างท่วมท้น เกือบ 3 แสนคะแนน ทั้งห่างที่ 2 หลายแสน คนถึงเข้าใจเราว่าทำไมถึงต้องย้ายไปพรรคเล็ก ซึ่งจะพรรคใหญ่หรือ เล็กนั้นไม่สำคัญเลย
วันนี้"ชาติไทยพัฒนา"ก็มีบทบาทที่ดี มีคนหนุ่มไฟแรงเป็นหัวหน้าพรรค เรามีคนภาคกลางที่พร้อมพัฒนาร่วมกัน ผมมั่นใจว่า"คุณท็อป" วราวุธ ศิลปอาชา ไม่ได้ขี้เหร่ไปกว่าใครๆ ด้วยซ้ำ เป็นคนที่มีความรู้ความสามารถรอบตัว จึงต้องช่วยกันสนับสนุน นอกจากนี้ผมยังมีหลานชายอีกคนเป็น ส.ส. เขต 1 กำแพงแสนชื่อ "พาณุวัฒน์ สะสมทรัพย์" หรือ"เสี่ยโหน่ง" ถ้าจะให้มั่นใจในเขตใดเขตหนึ่งคงตอบไม่ได้ ขึ้นอยู่กับประชาชนจะไว้ใจเรามากแค่ไหน
ข้อเปรียบเทียบการเลือกตั้งอดีตกับปัจจุบัน นักการเมืองต้องปรับตัวอย่างไรบ้าง ?
เรื่องแรกผมมองว่านักการเมืองสมัยใหม่ ต้องปรับลุคความคิดเรื่องทุจริต กระทั่งทุกองค์กรก็เหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการหน่วยไหน สีไหน ต้องเปลี่ยนความคิดได้แล้ว ปรับปรุงตัวใหม่เพราะเราไม่ได้อยู่ในมุมมืดอีกต่อไป คุณจะทำสิ่งที่เป็นเรื่องเสียหายไม่ได้อีกต่อไป (เรื่องทุจริต) เพราะสมัยนี้เทคโนโลยีก้าวหน้าไปไกลมาก ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้แบบง่ายดาย
ซึ่งต่างจากในอดีตเป็นอย่างมาก ผมไม่รู้ติ๊กต่อก ไม่รู้จักเฟซบุ๊ก สมัยผมไม่มีสิ่งเหล่านี้ แต่ปัจจุบันสิ่งเหล่านี้มีบทบาทกับคนรุ่นใหม่ ทำให้นักการเมืองต้องระวังตัวให้มากขึ้น ฉะนั้นถ้าคุณทำไม่ดีมันจะติดตัวคุณไปตลอด
กังวลเขตไหนเป็นพิเศษ
พูดตรงๆเราไม่ได้กังวลคู่แข่ง เรากังงวลตัวพวกเราที่จะมีแผนการทำอะไรตั้งใจดีให้กับจังหวัด แพ้ชนะเขากำหนดมาแล้ว แต่ทุกคนต้องเป็นคนดีของจังหวัด ต้องนึกถึงวิสัยทัศน์ที่ดี
"ชีวิตผู้แทน เราทำเพื่อคนอื่น ไม่ได้ทำเพื่อตัวเอง คำว่าส.ส คือสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพราฉะนั้นต้องยึดโยงราษฎร เป็นหลักก่อน ว่าเขามีปัญหาอะไร เราถึงต้องแก้ในปัญหาที่ควรต้องแก้ บางครั้งราษฎรจะมารู้ว่า มาตรา 152 , 157 คืออะไร ยากมาก เขาลำบากในธุรกิจ ปากท้องเขาอย่างไร อันนั้นคือการตอบสนองของการเป็นผู้แทน อะไรที่ไม่ดี มีกฎหมายอ่อนแอเราก็นำเข้าไปในนิติบัญญัติ ไปแก้ไขให้ เช่นภาคกลาง ปัญหาหมูเห็ดเป็ดไก่ ผักผลไม้ ใกล้กทม.ทำไมเราไม่หันมาขายผักผลไม้ นั่นคือความคิดผู้แทนที่ต้องสนับสนุน
เหมือนเป็นแม่ทัพนำลูกทีมในเขตที่เหลือเข้าสู่เส้นชัย
"เผดิมชัย" ตอบอย่างถ่อมตนไม่เชิงนำทัพ แต่จากการที่เป็นผู้ใหญ่ของพรรค ผ่านประสบการณ์ในและนอก อยากจะสอนให้มีคุณภาพ ตอนนี้ เด็กใหม่ทุกพรรค ผมว่าปรับปรุงไปไกล เราต้องแข่งขันในสิ่งเหล่านั้นทุกพรรค
เมื่อเราถามมีเทคนิคอะไรบ้าง "เผดิมชัย" เปิดเผยว่า การเป็นผู้แทนฯที่เราถ่ายทอดกันในตระกูลสะสมทรัพย์ ต้องรักคำมั่น สัจจะต่อแผ่นดินเกิด นี่คือเมืองที่ต้องให้ความเจริญต่อประชาชน
"ผมจึงมีคำพูด เป็นความคิดส่วนตัวสะสมทรัพย์ เมื่อเข้ามาเป็นนักการเมือง ความต้องการตัวเองต้องเป็นที่สอง ความต้องการประชาชน ต้องเป็นอันดับหนึ่ง ต้องทำได้ อย่าเห็นแก่ตัว อย่ามีกิเลส อย่าหลงในอำนาจ ซึ่งทำยากมากแต่คุณต้องทำ ถ้าคุณจะมาเป็นผู้แทน"
"เผดิมชัย" กล่าวว่า อย่ามีตำหนิจากประชาชนเข้าหูผม ว่าคุณไปยุ่งกับตรงโน้นตรงนี้ ยุ่งกับงบประมาณ ยุ่งอะไรในท้องถิ่นของเขา จะไม่มีในชีวิตเด็ดขาด 30 ปีที่อยู่บนถนนนี้ เราไม่ได้ประกาศตัวเราเองนะ จะได้บอกลูกหลานว่ามันยากมากนะ การชนะกิเลส ถ้าเราทำได้ จะมีความสุขที่สุด ตรงนั้นต่างหาก แต่ไม่รู้จะสอนได้บ้างหรือเปล่า
การเลือกตั้งนครปฐมยึดจากกระแส หรือพรรค หรืออะไร
นักการเมืองอาวุโสท่านนี้ บอกว่า เป็นทุกอย่าง หนึ่งผมเปรียบเทียบเคยพ่ายแพ้จากสิ่งที่ไม่เคยเห็นเลยจากกระแส ป้ายก็ไม่มี รถก็ไม่มี เขามาแบบถล่มทลาย เพราะตอนนี้เราเปลี่ยนไป มีมือถือเขาติดต่อกันทางนี้ ซึ่งเป็นยุคดิสทรัปชั่น เพราะฉะนั้นอนาคตพวกคุณต้องเปลี่ยน ตอนนี้หลานผม อายุยังน้อย และ เด็กใหม่ ที่มาจากนร.นอกที่เป็นสมาชิกพรรคเข้ามา คนหนุ่มสาวมีคุณภาพเกือบหกสิบเปอร์เซนต์ เราเป็นพี่เลี้ยงสอนให้เขารู้ว่า ผู้แทนควรเป็นเป็นอย่างไร ควรมีศักดิ์ศรีของความเป็ฯนครปฐมเป็นอย่างไร ซึ่งก็กำลังบ่มให้
อิทธิพลบารมี ทางการเมืองจำเป็นไหม
"ผมกล้าพูดต่อหน้าการสัมภาษณ์เพราะต้องออกสื่อ ผมไม่มีศัตรูกับทุกพรรค ทุกพรรคเข้าใจผมหมด เพราะไปอยู่ที่ไหน ตระกูลผมไม่เคย ถ้าเราหลบความรู้สึกที่ไม่ชอบก็เฉย ทนได้ แนะนำได้ก็แนะนำกัน จะเห็นว่า ไม่เคยอ้างว่ามีบุญคุณกับใคร ถึงจะมีการเกื้อกูลกัน รู้จักกันหมด กลุ่ม16 ในอดีต รมต.ในรัฐบาล ผมเคารพคุณชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภาอย่างไรก็เคารพ มางานศพคุณแม่ เป็นเรื่องส่วนตัวที่เป็นความผูกพัน ซึ่งคนอื่นไม่เข้าใจแต่เราเข้าใจว่าคนนี้เป็นผู้ใหญ่น่าเคารพ ถึงไม่ได้อยู่กันแต่เราเคารพ เป็นอยู่อย่างนี้ในสายเลือดตระกูลผม ไม่เคยที่จะต้องมา ไอ้นั่นไม่ให้ ไอ้โน่นไม่ ไม่ใช่ เป็นเรื่องปกติที่เราต้องทำใจ"
คนในพื้นที่ เรียกคุณเผดิมชัย "เจ้าพ่อนครปฐม"
"เผดิมชัย (หัวเราะ) มันห้ามไม่ได้หรอก บางทีอัธยาศรัย ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน อย่างเช่นลูกเล็กเด็กแดง เดือดร้อนขึ้นโรงพักเรื่องคดีความเราก็พยายามบอกว่า ปล่อยเถอะ เคลียร์ได้ก็เคลียร์ แต่ไม่ใช่ทำอะไรที่ตามใจ แล้วเรียกบอกว่าอย่านะ ให้ครั้งเดียว อย่าทำ
"คนก็นึกว่า ผมบ้านใหญ่ ทำไมตีกัน เราห้ามได้ แต่คนอื่นห้ามไม่ได้ โห!บ้านใหญ่ห้าม กลายเป็นบารมีเกิดบ้านใหญ่ คนที่ถูกเคลียร์ คนไปพูดก็พูดเกินจริงว่า บ้านใหญ่ แต่จริงๆเราอยากให้จบ ทุกเรื่องควรจบ อะไรที่อยากจบได้ ควรจบ" เผดิมชัย กล่าวอย่างตรงไปตรงมา
สรุป การเป็นนักการเมืองต้องมีบารมี
"เผดิมชัย" ย้อนถาม ตรงนั้นเรียกว่าบารมีหรือ ไม่ทราบเหมือนกัน (หัวเราะ) โอเค ก็ดี เราก็เห็นกันมาสี่สิบปีแล้ว พยายามให้ลูกหลานต่อยอดให้ได้ และเราต้องรู้จักพอด้วย รู้กำลังตัวเอง และสิ่งที่สอนกันไม่ได้ ไม้ได้เห็นประสบการณ์อย่างผม อยากให้ประสบการณ์ถ่ายทอด ไม่ใช่ทุกเรื่อง แต่อยากถ่ายทอดสิ่งดีๆให้เป็นอย่างไร แค่นั้นหล่ะครับ ที่สำคัญ
ชมคลิป >>>
ผ่าสมรภูมิเลือกตั้ง เคาะประตูบ้านใหญ่สะสมทรัพย์