svasdssvasds
เนชั่นทีวี

พระราชสำนัก

ครม.เห็นชอบ วันสวรรคตในหลวง ร.9 ตรงกับ 13 ตุลาคมของทุกปี เป็นวัน “วันนวมินทรมหาราช” 

ครม.เห็นชอบ 13 ตุลาคม วันคล้ายวันสวรรคตในหลวง รัชกาลที่ 9 ของทุกปีเป็น “วันนวมินทรมหาราช” และ เป็นวันหยุดราชการประจำปี

ครม.เห็นชอบ วันสวรรคตในหลวง ร.9 ตรงกับ 13 ตุลาคมของทุกปี เป็นวัน “วันนวมินทรมหาราช” 

ครม.เห็นชอบ วันสวรรคตในหลวง ร.9 ตรงกับ 13 ตุลาคมของทุกปี เป็นวัน “วันนวมินทรมหาราช”  ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ กำหนดชื่อวันคล้ายวันสวรรคต พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันที่ 13 ตุลาคม ว่า “วันนวมินทรมหาราช” ตามที่ขอพระราชทานพระมหากรุณา

ครม.เห็นชอบ วันสวรรคตในหลวง ร.9 ตรงกับ 13 ตุลาคมของทุกปี เป็นวัน “วันนวมินทรมหาราช”  ครม.เห็นชอบ วันสวรรคตในหลวง ร.9 ตรงกับ 13 ตุลาคมของทุกปี เป็นวัน “วันนวมินทรมหาราช” 

สืบเนื่องจากสำนักนายกรัฐมนตรี ขอเสนอชื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้กำหนดชื่อวันคล้ายวันสวรรคตพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ว่า “วันนวมินทรมหาราช” ในวันที่ 13 ตุลาคม 2559 ดังนั้นจึงกำหนดให้วันที่ 13 ตุลาคมของทุกปี เป็นวันหยุดราชการประจำปี เนื่องจากเป็นวันสำคัญของชาติไทย

ครม.เห็นชอบ วันสวรรคตในหลวง ร.9 ตรงกับ 13 ตุลาคมของทุกปี เป็นวัน “วันนวมินทรมหาราช” 

ครม.เห็นชอบ วันสวรรคตในหลวง ร.9 ตรงกับ 13 ตุลาคมของทุกปี เป็นวัน “วันนวมินทรมหาราช”  ย้อนอ่านพระราชประวัติ

พระนาม “ภูมิพลอดุลเดช” นั้นพระบรมราชชนนีได้รับพระราชทานทางโทรเลขจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2470โดยทรงกำกับตัวสะกดเป็นอักษรโรมันว่า “Bhumibala Aduladeja” ทำให้สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงเข้าพระทัยว่าได้รับพระราชทานนามพระโอรสว่า “ภูมิบาล”

ในระยะแรกพระนามของพระองค์สะกดเป็นภาษาไทยว่า “ภูมิพลอดุลเดช” ต่อมาพระองค์เองทรงเขียนว่า “ภูมิพลอดุลยเดช” โดยทรงเขียนทั้งสองแบบสลับกันไป จนมาทรงนิยมใช้แบบหลังซึ่งมีตัว “ย” สะกด

พระนามของพระองค์มีความหมายว่า

ภูมิพล = ภูมิ+พล
ภูมิ หมายความว่า “แผ่นดิน”
พล หมายความว่า “พลัง” รวมกันแล้วหมายถึง “พลังแห่งแผ่นดิน”

อดุลยเดช = อดุลย +เดช
อดุลย หมายความว่า “ไม่อาจเทียบได้”
เดช หมายความว่า “อำนาจ” 

“ภูมิพลอดุลยเดช” จึงหมายถึง “อำนาจที่ไม่อาจเทียบได้”

ครม.เห็นชอบ วันสวรรคตในหลวง ร.9 ตรงกับ 13 ตุลาคมของทุกปี เป็นวัน “วันนวมินทรมหาราช”  ต่อมาคือ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลเดช เมื่อได้รับพระราชทานนาม มีพระเชษฐภคินีและสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช 2 พระองค์ คือ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงออกพระนามเรียกพระองค์เป็นการลำลองว่า “เล็ก”

ครม.เห็นชอบ วันสวรรคตในหลวง ร.9 ตรงกับ 13 ตุลาคมของทุกปี เป็นวัน “วันนวมินทรมหาราช”  ครม.เห็นชอบ วันสวรรคตในหลวง ร.9 ตรงกับ 13 ตุลาคมของทุกปี เป็นวัน “วันนวมินทรมหาราช”  พระราชกรณียกิจที่เห็นจนชินตา คือในหลวง ร.9  เสด็จพร้อมด้วย สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงกระชับสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ ทั้งในยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย และ เอเชีย และได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในภูมิภาคต่างๆ ทุกภาค

ทรงประจักษ์ในปัญหาของราษฎรในชนบทที่ดำรงชีวิตด้วยความยากจน ลำเค็ญและด้อยโอกาส ได้ทรงพระวิริยะอุตสาหะหาทางแก้ปัญหาตลอดมาตราบจนปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่า ทุกหนทุกแห่งบนผืนแผ่นดินไทยที่รอยพระบาทได้ประทับลง ได้ทรงขจัดทุกข์ยากนำความผาสุกและทรงยกฐานะความเป็นอยู่ของราษฎรให้ดีขึ้น

ด้วยพระบุญญาธิการและพระปรีชาสามารถปราดเปรื่อง พร้อมด้วยสายพระเนตรอันยาวไกล ทรงอุทิศพระองค์เพื่อประโยชน์สุขของราษฎร และเพื่อความเจริญพัฒนาของประเทศชาติตลอดระยะเวลาโดยมิได้ทรงคำนึงประโยชน์สุขส่วนพระองค์เลย


ในหลวงรัชกาลที่ 9 ได้พระราชทานโครงการนานัปการมากกว่า 2,000 โครงการ ทั้งการแพทย์สาธารณสุข การเกษตร การชลประทาน การพัฒนาที่ดิน การศึกษา การพระศาสนา การสังคมวัฒนธรรม การคมนาคม ตลอดจนการเศรษฐกิจเพื่อประโยชน์สุขของพสกนิกรในชนบท

ทั้งยังทรงขจัดปัญหาทุกข์ยากของประชาชนในชุมชนเมือง เช่น ทรงแก้ปัญหาการจราจรอุทกภัยและปัญหาน้ำเน่าเสียในปัจจุบัน ได้ทรงริเริ่มโครงการการช่วยสงเคราะห์ และอนุรักษ์ช้างของไทยอีกด้วย

แม้ในยามประเทศประสบภาวะเศรษฐกิจ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2539 เป็นต้นมา ก็ได้พระราชทานแนวทางดำรงชีพแบบ “เศรษฐกิจพอเพียง” และ “ทฤษฎีใหม่” ให้ราษฎรได้พึ่งตนเอง ใช้ผืนแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดประกอบอาชีพอยู่กินตามอัตภาพซึ่งราษฎรได้ยึดถือปฏิบัติเป็นผลดีอยู่ในปัจจุบัน

ครม.เห็นชอบ วันสวรรคตในหลวง ร.9 ตรงกับ 13 ตุลาคมของทุกปี เป็นวัน “วันนวมินทรมหาราช”  ครม.เห็นชอบ วันสวรรคตในหลวง ร.9 ตรงกับ 13 ตุลาคมของทุกปี เป็นวัน “วันนวมินทรมหาราช”  ตลอด ระยะเวลาที่ ในหลวง ร.9 ทรงครองราชย์ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจมากมาย และมีหลายโครงการเกิดขึ้น อาทิ

  • มูลนิธิชัยพัฒนา
  • มูลนิธิโครงการหลวง
  • โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา
  • โครงการหลวงอ่างขาง
  • โครงการปลูกป่าถาวร
  • โครงการแก้มลิง
  • โครงการฝนหลวง
  • โครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน
  • โครงการแกล้งดิน
  • กังหันชัยพัฒนา
  • แนวพระราชดำริ ผลิตแก๊สโซฮอล์ในโครงการส่วนพระองค์ (พ.ศ. 2528)
  • แนวพระราชดำริ "เศรษฐกิจพอเพียง"

พระอัจฉริยภาพ 

ในหลวงรัชกาลที่ 9 พระองค์ทรงมีพระอัจฉริยภาพด้านดนตรีอย่างสูงส่ง ทรงพระราชนิพนธ์เพลงอันไพเราะนับแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบันรวม 47 เพลง

ครม.เห็นชอบ วันสวรรคตในหลวง ร.9 ตรงกับ 13 ตุลาคมของทุกปี เป็นวัน “วันนวมินทรมหาราช”  บรรดาเหล่านักดนตรีทั้งไทย และต่างประเทศนำไปบรรเลงอย่างแพร่หลาย เป็นที่ประจักษ์ในพระอัจฉริยภาพจนสถาบันดนตรีในออสเตรเลียได้ทูลเกล้าฯ ถวายสมาชิกภาพกิตติมศักดิ์แด่พระองค์ 

นอกจากนั้น ยังทรงเป็นนักกีฬาชนะเลิศรางวัลเหรียญทองในการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ทรงได้รับยกย่องเป็น “อัครศิลปิน” ของชาตินอกจากทรงพระปรีชาสามารถด้านดนตรีแล้วยังทรงสร้างสรรค์งานจิตรกรรมและวรรณกรรมอันทรงคุณค่าไว้เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของชาติ 

เช่น ทรงพระราชนิพนธ์ แปลเรื่อง ติโต นายอินทร์ผู้ปิดทองหลังพระ และพระราชนิพนธ์เรื่องชาดกพระมหาชนก พระราชทานคติธรรมในการดำรงชีวิตด้วยความวิริยะอุตสาหะอดทนจนพบความสำเร็จแก่พสกนิกรทั้งปวง

ครม.เห็นชอบ วันสวรรคตในหลวง ร.9 ตรงกับ 13 ตุลาคมของทุกปี เป็นวัน “วันนวมินทรมหาราช” 

แม้การเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม 2559 จะล่วงเลยมาถึงปัจจุบันแต่พสกนิกรทุกหมู่เหล่ายังล้วนคำนึงถึงสำนึกชาบซึ้งในพระมหากรุณาที่อย่างไม่รู้ลืมเลือน

ดังนั้นเพื่อให้วันคล้ายวันสวรรคตเป็นวันที่ร่วมรำลึกและน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดไม่ได้แห่งพระมหากษัตริย์ผู้ทรงมีคุณูปการอันยิ่งใหญ่แก่แผ่นดิน

โดยในการนี้รัฐบาลจึงได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา ขอพระราชทานพระบรมราชวิจฉัย
โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้กำหนดชื่อวัน
คล้ายวันสวรรคตว่า "วันนวมินทรมหาราช"
ตามที่รัฐบาลขอพระราชทานพระมหากรุณาธิคุณ

#น้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณอันหาที่สุดมิได้

ครม.เห็นชอบ วันสวรรคตในหลวง ร.9 ตรงกับ 13 ตุลาคมของทุกปี เป็นวัน “วันนวมินทรมหาราช”