20 เมษายน 2568 จากกรณีกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยข้อมูลว่า หลังจากทาง อบจ.กาญจนบุรี ได้รับถ่ายโอน รพ.สต.ทั้งจังหวัด มาอยู่ในการดูแล แต่กลับยังค้างจ่ายค่ารักษา โรงพยาบาลแม่ข่ายปี 2566 รวม 152 ล้านบาท หลังขอเอางบเหมาจ่ายรายหัวไปบริหารเอง และมีความกังวลว่า ในปี 2568 หาก อบจ.กาญจนบุรี บริหารเองอีก เสี่ยงจะทำ รพ.ติดลบ เกรงกระทบประชาชน ขอเร่งทบทวนเคลียร์ค้างจ่ายให้ครบนั้น
ล่าสุด วันนี้ นพ.ประวัติ กิจธรรมกูลนิจ หรือ หมอหวัด นายก อบจ.กาญจนบุรี ชี้แจงว่า ไม่ได้ค้างจ่าย แต่เริ่มทยอยจ่าย เหตุที่ช้าเพราะเบิกจ่ายข้ามกระทรวง มีรายละเอียดมากต้องรอบคอบ เผยจ่ายไปแล้ว 6 อำเภอ ที่เหลืออยู่ในกระบวนการ
อบจ.กาญจนบุรี ได้มีการวางแผนกระบวนการจ่ายชดเชยให้กับโรงพยาบาลแม่ข่าย ตามมติคณะกรรมการสุขภาพระดับพื้นที่ (กสพ.) ที่ให้ รพ.สต.ดำเนินการรับงบประมาณเหมาจ่ายรายหัว ในส่วนงาน OP และ P&P จาก สปสช. เพื่อให้บริหารจัดการ เพื่อพัฒนาและยกระดับการบริการสุขภาพปฐมภูมิ ตามแนวทางกระจายอำนาจ และนโยบายของ อบจ.กาญจนบุรี
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากที่ผ่านมา รพ.สต. ที่บริหารจัดการงบประมาณในส่วนดังกล่าว และต้องตามจ่ายชดเชยใหักับโรงพยาบาลอื่นๆ ในสังกัด สธ. ที่ให้บริการสุขภาพกับประชาชนในพื้นที่ แต่สาเหตุมาจากข้อจำกัดของการจ่ายชดเชยของ รพ.สต.ในพื้นที่ ที่ผู้อำนวยการ รพ.สต. อนุมัติได้ไม่เกิน 1 แสนบาท แต่ค่าใช้จ่ายที่ต้องจ่ายชดเชยมีจำนวนมากกว่า รพ.สต.จึงต้องทำหนังสือฎีกาเพื่อให้นายก อบจ.อนุมัติ การเบิกจ่ายให้ ต้องยอมรับว่า การเบิกจ่ายต้องทำอย่างรอบคอบ เพราะ อบจ.กาญจนบุรี ก็ต้องถูกตรวจสอบการเบิกจ่ายด้วยเช่นกัน ทำให้การจ่ายชดเชยมีความล่าช้าออกไป
นพ.ประวัติ กล่าวอีกว่า เงินที่ค้างจ่ายส่วนดังกล่าว ไม่ใช่เกิดจากการบริหารจัดการ แต่เป็นเงินที่ได้ตกลงร่วมกันกับโรงพยาบาลในพื้นที่ เมื่อหักลบกับเงินค้างท่อที่โรงพยาบาลยังต้องจ่ายให้กับ รพ.สต. ในช่วงโควิด -19 กับ เงินค่าบริการของโรงพยาบาล ที่ รพ.สต. ต้องตามจ่าย เป็นตัวเลขประมาณ 220 ล้านบาท ซึ่งเพิ่งประชุมและตกลงร่วมกันได้เมื่อมกราคม 2568 และจากนั้นก็เริ่มอนุมัติจ่าย โดยขณะนี้คาดว่าเหลือในส่วนที่ต้องอนุมัติอีกประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ อบจ.กาญจนบุรี ได้อนุมัติฎีกาตามจ่ายให้กับโรงพยาบาลไปแล้ว 6 อำเภอ ประกอบด้วย อ.เมือง อ.เลาขวัญ อ.ทองผาภูมิ อ.ศรีสวัสดิ์ อ.หนองปรือ และ อ.ห้วยกระเจา ขณะที่อำเภออื่นๆ อยู่ในกระบวนการตามจ่าย
นอกจากนี้ การอนุมัติการเบิกจ่ายของ รพ.สต. ให้กับโรงพยาบาล ยังมีรายละเอียดและเอกสารตามระเบียบและขั้นตอนจำนวนมากที่ต้องจัดการ เพราะเป็นการเบิกจ่ายงบประมาณกันข้ามกระทรวง เนื่องจาก รพ.สต.ทั้งหมดที่ถ่ายโอน ก็ถือว่าได้อยู่กับสังกัดท้องถิ่นแล้ว แต่ระเบียบการเบิกจ่ายที่มีเยอะ และเข้มงวด ทำให้การตามจ่ายมีความล่าช้า ซึ่งที่ผ่านมาก็พูดคุยกันในพื้นที่ร่วมกันเป็นอย่างดี ทั้ง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี (รวมถึงผู้ตรวจราชการ สธ. เขต 5 มาตลอด
เมื่อถามถึงประเด็นที่ สธ. กังวลว่า หากให้ อบจ.กาญจนบุรี บริหารจัดการอีกอาจทำให้โรงพยาบาลติดลบ มีความเห็นอย่างไร นพ.ประวัติ กล่าวว่า งบประมาณเหมาจ่ายรายหัว ที่รับกับ สปสช. เพื่อให้ รพ.สต. ถ่ายโอนบริหารจัดการเป็นแนวทางและนโยบายของ อบจ.กาญจนบุรี ที่ต้องการให้งานด้านบริการสุขภาพที่รับถ่ายโอนมาอยู่ในแนวทางการจัดการเดิมที่คุ้นเคย โดยท้องถิ่นคือ อบจ.คอยสนับสนุน ซึ่งเป็นความสวยงามของการกระจายอำนาจ และไม่เกี่ยวกับการที่โรงพยาบาลจะต้องติดลบ เพราะเงินมีอยู่ที่ รพ.สต.ถ่ายโอน แต่ระเบียบการเบิกจ่ายชดเชยข้ามกระทรวงมันมีค่อนข้างมาก หากเปลี่ยนได้ก็จะดี เพราะจะช่วยให้ท้องถิ่นบริหารจัดการงานสุขภาพปฐมภูมิได้ดีขึ้น
นอกจากนี้ การอนุมัติการเบิกจ่ายของ รพ.สต. ให้กับโรงพยาบาล ยังมีรายละเอียดและเอกสารตามระเบียบและขั้นตอนจำนวนมากที่ต้องจัดการ เพราะเป็นการเบิกจ่ายงบประมาณกันข้ามกระทรวง เนื่องจาก รพ.สต.ทั้งหมดที่ถ่ายโอน ก็ถือว่าได้อยู่กับสังกัดท้องถิ่นแล้ว แต่ระเบียบการเบิกจ่ายที่มีเยอะ และเข้มงวด ทำให้การตามจ่ายมีความล่าช้า ซึ่งที่ผ่านมาก็พูดคุยกันในพื้นที่ร่วมกันเป็นอย่างดี ทั้ง สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกาญจนบุรี (สสจ.กาญจนบุรี) รวมถึงผู้ตรวจราชการ สธ. เขต 5 มาตลอด
นายก อบจ.กาญจนบุรี กล่าวอีกว่า งบประมาณเหมาจ่ายรายหัว ที่รับกับ สปสช. เพื่อให้ รพ.สต. ถ่ายโอนบริหารจัดการเป็นแนวทางและนโยบายของ อบจ.กาญจนบุรี ที่ต้องการให้งานด้านบริการสุขภาพที่รับถ่ายโอนมาอยู่ในแนวทางการจัดการเดิมที่คุ้นเคย โดยท้องถิ่นคือ อบจ.คอยสนับสนุน ซึ่งเป็นความสวยงามของการกระจายอำนาจและไม่เกี่ยวกับการที่โรงพยาบาลจะต้องติดลบ เพราะเงินมีอยู่ที่ รพ.สต.ถ่ายโอน แต่ระเบียบการเบิกจ่ายชดเชยข้ามกระทรวงมันมีค่อนข้างมาก หากเปลี่ยนได้ก็จะดี เพราะจะช่วยให้ท้องถิ่นบริหารจัดการงานสุขภาพปฐมภูมิได้ดีขึ้น