svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ทั่วไทย

เจ้าหน้าที่ฝนหลวงบินโปรยน้ำ ลดหมอกควัน-ฝุ่น PM 2.5 "พิษณุโลก-สุโขทัย"

"เชียงใหม่-แพร่" ส่งเครื่องบินโปรยน้ำปรับลดอุณหภูมิ หลายกว่า 5 พันลิตร แก้ปัญหา "หมอกควันจากไฟป่า-ฝุ่น PM 2.5" จังหวัด "พิษณุโลก-สุโขทัย" พบค่าฝุ่นลดลงอยู่ในเกณฑ์น่าพอใจ

14 มกราคม 2568 พ.อ.นพดล วัชรจิตบวร รอง ผอ.รมน.จังหวัดพิษณุโลก เปิดเผยว่า หน่วยงาน เกษตรและสหกรณ์จังหวัดพิษณุโลก , ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือตอนล่าง จัดอากาศยาน จากฐานปฏิบัติการบินเชียงใหม่ , แพร่ ในภารกิจบรรเทาหมอกควันและสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) พื้นที่เป้าหมาย พื้นที่ประสบปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) จังหวัดพิษณุโลก 

 

เจ้าหน้าที่ฝนหลวงบินโปรยน้ำ ลดหมอกควัน-ฝุ่น PM 2.5 \"พิษณุโลก-สุโขทัย\"

 

เจ้าหน้าที่ฝนหลวงบินโปรยน้ำ ลดหมอกควัน-ฝุ่น PM 2.5 \"พิษณุโลก-สุโขทัย\"

โดยปฏิบัติการบินที่ 1 โดยเครื่องบิน CN จำนวน 1 ลำ รวม 1 เที่ยวบิน ใช้น้ำปรับลดอุณหภูมิ จำนวน 2,000 ลิตร ความสูง 7,500 ฟุต บริเวณ  อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย และ ปฏิบัติการบินที่ 2 โดยเครื่องบิน CASA จำนวน 1 ลำ รวม 1 เที่ยวบิน ได้ใช้น้ำปรับลดอุณหภูมิ จำนวน 1,000 ลิตร ความสูง 7,500 ฟุต บริเวณ  อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก 

 

เจ้าหน้าที่ฝนหลวงบินโปรยน้ำ ลดหมอกควัน-ฝุ่น PM 2.5 \"พิษณุโลก-สุโขทัย\"

 

 

เจ้าหน้าที่ฝนหลวงบินโปรยน้ำ ลดหมอกควัน-ฝุ่น PM 2.5 \"พิษณุโลก-สุโขทัย\"

เจ้าหน้าที่ฝนหลวงบินโปรยน้ำ ลดหมอกควัน-ฝุ่น PM 2.5 \"พิษณุโลก-สุโขทัย\"

 

 

เจ้าหน้าที่ฝนหลวงบินโปรยน้ำ ลดหมอกควัน-ฝุ่น PM 2.5 \"พิษณุโลก-สุโขทัย\"

 

กอ.รมน.จังหวัดพิษณุโลก ร่วมกับคณะกรรมการแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควันฯ จ.พิษณุโลก ประกอบด้วย สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจ.พิษณุโลก, สนง.ปภ.พิษณุโลก, เกษตรและสหกรณ์จังหวัดพิษณุโลก, ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือตอนล่าง(พิษณุโลก) และ สสจ.พิษณุโลก  ร่วมหารือถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาค่าคุณภาพอากาศในพื้นที่จังหวัดพิษณุโลกที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน วัดผลจากค่า PM 2.5  ในพื้นที่มีค่าสูงมาก(สีส้มและสีแดง)ต่อเนื่อง 

 

เจ้าหน้าที่ฝนหลวงบินโปรยน้ำ ลดหมอกควัน-ฝุ่น PM 2.5 \"พิษณุโลก-สุโขทัย\"

 

 

เจ้าหน้าที่ฝนหลวงบินโปรยน้ำ ลดหมอกควัน-ฝุ่น PM 2.5 \"พิษณุโลก-สุโขทัย\"

 

 

เจ้าหน้าที่ฝนหลวงบินโปรยน้ำ ลดหมอกควัน-ฝุ่น PM 2.5 \"พิษณุโลก-สุโขทัย\"


สรุปผลได้ดังนี้  

 

 

1.ปัญหาที่เกิดขึ้นเกิดจากกระแสลมพัดพาหมอกควันมาจากพื้นที่รอบนอก ซึ่งเกิดจากลักษณะภูมิประเทศของจังหวัดที่เป็นแอ่งกระทะ และสภาพภูมิอากาศที่อุณหภูมิ ลดต่ำอย่างต่อเนื่องทำให้ก้อนเมฆคลุมพื้นที่ไว้คล้ายมีฝาชีปิดพื้นที่ทำให้การระบายอากาศออกจากพื้นที่ทำได้ยากด้วยวิธีปกติ ทำให้ค่า pm 2.5 มีค่าสูงขึ้นมากต่อเนื่อง  

 

2.จากผลการดำเนินการของส่วนราชการทุกภาคส่วนในแผนฯสภาพของจุดความร้อนในพื้นที่มีน้อยมากบางวันไม่มีปรากฏ น่าจะส่งผลต่อสภาพอากาศบ้างแต่เป็นเหตุผลส่วนน้อย  

 

3.การแก้ไขปัญหาของคณะกรรมการฯ กอ.รมน.จ.พิษณุโลก ร่วมกับเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพิษณุโลก, ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือตอนล่าง ( พิษณุโลก ) ประสานขอรับการสนับสนุน อากาศยาน จากกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เข้ามาปฏิบัติการ เพื่อลดอุณหภูมิในชั้นบรรยากาศผกผัน ( Inversion ) โดยมุ่งทำการเจาะช่องอากาศเพื่อเร่งระบายหมอกควันและฝุ่นละอองในพื้นที่ให้ลอยขึ้นพ้นชั้นบรรยากาศที่คลุมพื้นที่เป้าหมายเพื่อลดผลกระทบของค่าอากาศต่อประชาชน

 

ทั้งนี้ ได้เริ่มปฏิบัติตามแผนบินมาตั้งแต่ วันที่ 11 -14 ม.ค.เพื่อเจาะช่องระบายอากาศทางหัวและท้ายของ จ.พิษณุโลกโดย หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดแพร่เพื่อบรรเทาปัญหาหมอกควันและสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ในพื้นที่เป้าหมายพื้นที่ประสบปัญหาหมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) จังหวัดพิษณุโลก  เวลา 10.30 น. 

 

ปฏิบัติการบินที่ 1เครื่องจากฐานปฏิบัติการบิน แพร่ โดยเครื่องบิน CASA จำนวน 1 ลำ รวม 1 เที่ยวบิน โดยใช้น้ำปรับลดอุณหภูมิ จำนวน 1,000 ลิตร ความสูง 9,500 ฟุต บริเวณ  อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก และ เวลา 14:00 น.

 

ปฏิบัติการบินที่ 2 เครื่องจากฐานปฏิบัติการบินแพร่ โดยเครื่องบิน CASA จำนวน 1 ลำ รวม 1 เที่ยวบิน โดยใช้น้ำปรับลดอุณหภูมิ จำนวน 1,000 ลิตร ความสูง 9,000 ฟุต บริเวณ  อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก และ เวลา 14:15 น. 

 

ปฏิบัติการบินที่ 3 เครื่องจาก ฐานปฏิบัติการบินเชียงใหม่ โดยเครื่องบิน CN จำนวน 1 ลำ รวม 1 เที่ยวบิน โดยใช้น้ำปรับลดอุณหภูมิ จำนวน 2,000 ลิตร ความสูง 9,500 ฟุต บริเวณฝั่งตะวันตกของแนวรอยต่อระหว่าง จ.พิษณุโลก และ อ.ศรีสำโรง จ.สุโขทัย  

 

 

เจ้าหน้าที่ฝนหลวงบินโปรยน้ำ ลดหมอกควัน-ฝุ่น PM 2.5 \"พิษณุโลก-สุโขทัย\"

 

เจ้าหน้าที่ฝนหลวงบินโปรยน้ำ ลดหมอกควัน-ฝุ่น PM 2.5 \"พิษณุโลก-สุโขทัย\"

 

ผลการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การตรวจค่า PM2.5 ในพื้นที่ตามห้วงเวลาปรากฏ มีค่าลดลง จากสีแดง และสีส้ม ลงไปที่  ค่าเฉลี่ย 32.3 ซึ่งทำให้สภาพอากาศดีขึ้นอยู่ในขั้นอากาศดี(เขียว) ถึงอากาศปานกลาง(เหลือง)

ทำให้ผลกระทบของปัญหา ลดลงอยู่ในเกณฑ์น่าพอใจ และคณะกรรมการจะหาแนวทางแก้ไขปัญหาด้วยวิธีอื่นๆควบคู่กับภารกิจบิน เพื่อเร่งลดผลกระทบให้กลับมาอยู่ในสภาวะปกติต่อไป