svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ทั่วไทย

อ้าว! ชาวสวนยันทุเรียนที่ถูกจับ ไม่ใช่ทุเรียนศรีสะเกษ เชื่อมีสวมสิทธิ์ GAP

ชัดเจน! เจอแล้วเจ้าของสวนทุเรียนที่มีชื่อในใบ GAP ที่พบในรถทุเรียนที่ถูกจับ ยืนยันชัดทุเรียนที่ถูกรวบ "ไม่ใช่ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ" ที่สวน เชื่อมีขบวนการสวมสิทธิ์ GAP

27 มิถุนายน 2566 ความคืบหน้าปมร้อน กรณี กรมศุลกากรจับทุเรียนเถื่อน น้ำหนักกว่า 8 ตัน มูลค่ากว่า 1 ล้านบาท ในพื้นที่ จ.สระแก้ว โดยระบุ เป็นทุเรียนมีถิ่นกำเนิดต่างประเทศ ไม่ปรากฎเอกสารหลักฐาน แสดงการผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้อง จึงยึดของกลางทั้งหมด ส่งดำเนินคดี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

อ้าว! ชาวสวนยันทุเรียนที่ถูกจับ ไม่ใช่ทุเรียนศรีสะเกษ เชื่อมีสวมสิทธิ์ GAP  

ขณะที่เจ้าของล้งทุเรียน ได้ร้องเรียนกับ นายอัมรินทร์ ยี่เฮง เครือข่ายภาคประชาชนจังหวัดสระแก้ว ยืนยันว่า ทุเรียนดังกล่าวซื้อมาอย่างถูกต้อง จากเจ้าของสวนในพื้นที่ จ.ศรีสะเกษ เพื่อนำมาส่งขายไปยังต่างประเทศ เนื่องจากทุเรียนใน จ.จันทบุรี มีไม่เพียงพอ และมีการเข้าแจ้งความเอาผิดเรื่องนี้ ตามมาด้วยการที่ต่างฝ่าย ต่างนำข้อมูลออกมาโต้กัน 
อ้าว! ชาวสวนยันทุเรียนที่ถูกจับ ไม่ใช่ทุเรียนศรีสะเกษ เชื่อมีสวมสิทธิ์ GAP

โดยเฉพาะประเรื่องการพบมี ใบ GAP ปรากฏชื่อในการขนส่งทุเรียนชุดนี้ ชื่อ นายสมัย สุยคำไฮ เกษตรกรสวนทุเรียน ม.10 ต.พราน อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ ระบุในใบรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร หรือ GAP  การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร มกษ.9001 – 2556 รหัสรับรอง กษ.03-9001-33-111-000625 รหัสแปลง 330803-9111-0019-0614 ชนิดพืช ทุเรียน พื้นที่ 10 ไร่

พร้อมกับมีข้อความในใบสำเนาเอกสาร  GAP เขียนด้วยลายมือว่า “โดยมีระบุข้อความด้วยลายมือเขียนไว้ชัดเจนว่า ข้าพเจ้านายสมัย สุยคำไฮ ขายทุเรียนให้กับโรงคัดบรรจุแผงไทซิงเต่า จำนวน 17,000 Kg วันที่ 24/6/66 ลงชื่อ” และหมายเลขโทรศัพท์ไว้อย่างชัดเจน แต่เมื่อตรวจสอบกลับไม่พบเกษตรกรรายนี้แต่อย่างใด
อ้าว! ชาวสวนยันทุเรียนที่ถูกจับ ไม่ใช่ทุเรียนศรีสะเกษ เชื่อมีสวมสิทธิ์ GAP  

ล่าสุด ผู้สื่อข่าวประจำจังหวัดศรีสะเกษ ได้ลงพื้นที่บ้านซำขี้เหล็ก ม.10 ต.พราน อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ พบกับ นายสมัย สุยคำไฮ ผู้ที่มีชื่อปรากฏใน ใบสำเนา GAP ในรถยนต์ ที่ถูกเจ้าหน้าที่ศุลกากรจับทุเรียนดังกล่าว โดยได้สอบถามถึงเรื่องการซื้อขายทุเรียน 

นายสมัย สุยคำไฮ ยืนยันว่า ขายทุเรียนภูเขาไฟไปจริง แต่ขายในวันที่ 24 มิ.ย. 66 โดยได้ทำสัญญาซื้อขายกัน ในราคากิโลกรัมละ 115 บาท จำนวน 10,000 ลูก ๆ ละเฉลี่ย 2 - 3 กิโลกรัม โดยมี ใบรับรอง GAP ถ่ายเอกสารมอบให้ไปก่อน ตั้งแต่วันที่ 22 มิ.ย. 66 ตามคำขอร้องของล้ง จากนั้นได้ตัดทุเรียนส่งมอบวันที่ 24 มิ.ย. 66 รถยนต์ขนส่งออกจากสวน เวลา 02.00 น. วันที่ 25 มิ.ย. 66 
นายสมัย สุยคำไฮ เจ้าของสวนทุเรียนที่ถูกอ้าง  

แต่ตามที่ข่าวออกออกมาว่า ศุลกากรจับรถขนส่งทุเรียนที่มีเอกสาร ใบ GAP ที่มีชื่อตน มีลายมือเขียนกำกับไว้ ยืนยันว่า ทั้งลายมือที่เขียนใบสำเนา และหมายเลขโทรศัพท์ไม่ใช่ของตน ยืนยันว่า ทุเรียนชุดที่โดนจับนั้น ไม่ใช่ทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ของตนเองแน่นอน
นายสมัย สุยคำไฮ เจ้าของสวนทุเรียนที่ถูกอ้าง
 

ขณะเดียวกัน นายศักดิ์ศรี ชอบดี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านซำขี้เหล็ก ม.10 ต.พราน กำลังตรวจสอบการชั่งทุเรียน ก่อนการขนส่งทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ของเกษตรกรายหนึ่งอยู่ที่สวน ได้มาให้คำแนะนำเพิ่มว่า ศุลกากรได้โทรศัพท์มาหา กรณีที่ทุเรียนถูกจับ และมี ใบรับรอง GAP กำกับอยู่พร้อมระบุชื่อนายสมัย

เมื่อตรวจสอบแล้ว คาดว่า ไม่ใช่ทุเรียนของนายสมัย เพราะการขนส่งคนละวัน จึงได้ส่งไลน์ให้คำแนะนำในการขายส่งทุเรียนให้ล้งว่า จะต้องออกใบสัญญาซื้อขายที่ชัดเจน มี ใบรับรอง GAP ที่ระบุให้ชัดว่า ขายให้ใคร จำนวนเท่าใด ส่งขนส่งวันไหนออกจากสวน พร้อมกับขีดค่อมผ่ายาวครึ่งกระดาษ เหมือนกับการลงชื่อรับรองสำเนาบัตรประชาชน เพื่อป้องกันการนำเอา ใบสำเนา GAP ไปใช้ประโยชน์ทางอื่น ๆ 
นายศักดิ์ศรี ชอบดี ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านซำขี้เหล็ก ม.10 ต.พราน  

ครั้งนี้เชื่อว่า น่าจะมีขบวนการถ่ายสำเนาใบ GAP ขายต่อกัน เพื่อนำไปใช้ในการฟอกทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ที่กำลังมีชื่อเสียงโด่งดัง คุณภาพดี มีความต้องการสูง นำไปปลอมทุเรียนภูเขาไฟศรีสะเกษ ขายต่อสู่ผู้บริโภค ทั้งในและต่างประเทศด้วย จึงฝากเตือนมาเกษตรกรชาวสวน ก่อนที่จะมอบ ใบรับรอง GAP ให้กับผู้ที่มาซื้อทุเรียน ต้องขีดค่อม ลงชื่อกำกับเอาไว้ ทั้งเพื่อการตรวจสอบย้อนกลับ และป้องกันการนำไปสวมทุเรียนที่อื่น ๆ ด้วย
อ้าว! ชาวสวนยันทุเรียนที่ถูกจับ ไม่ใช่ทุเรียนศรีสะเกษ เชื่อมีสวมสิทธิ์ GAP