นายวชิร คูณทวีเทพ ผู้อำนวยการสถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย รายงานผลกาวิเคราะห์ “10 ธุรกิจ ดาวรุ่ง-ดาวร่วง ปี 2566” ซึ่งมีเกณฑ์การให้คะแนนใน 5 ด้าน รวม 100 คะแนน ได้แก่ ยอดขาย , ต้นทุน , ส่วนต่างของยอดขายต่อต้นทุน หรือ กำไรสุทธิ ,ผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยง และ การแข่งขัน และ ความต้องการของตลาด รวมไปถึงปัจจัยสนับสนุนทางด้านเศรษฐกิจ
โดยกลุ่มธุรกิจดาวรุ่ง อันดับ 1 ยังเป็นของ ธุรกิจการแพทย์และความงาม ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ได้คะแนนสูงสุด 96.3 หลังจากได้กลับมาเปิดธุรกิจเต็มรูปแบบ และถือว่าเป็นไปตามการเติบโตของสังคมผู้สูงอายุ ,การดูแลเรื่องความงามมีมากขึ้น รวมถึงนโยบายส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ อันดับ 2 เป็นธุรกิจอีคอมเมิร์ซ จากพฤติกรรมผู้บริโภคที่หันไปซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น และมีต้นทุนการดำเนินการต่ำ
ส่วนอันดับ 3 เป็นธุรกิจใหม่ที่เข้ามาติดอันดับเป็นปีแรก ตามเทรนดิจิทัลได้แก่ ธุรกิจโซเชียลมีเดีย และออนไลน์เอ็นเตอร์เทนเม้นต์ ที่ประชาชน รับชมภาพยนตร์ ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์กันมากขึ้น ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ตลอด 24 ชั่วโมง , ธุรกิจด้าน Fintech การชำระเงินฝากระบบเทคโนโลยี และ ธุรกิจงานคอนเสิร์ต - มหกรรมแสดงสินค้า - งานอีเว้นท์ ตามแรงหนุนจากภาคการท่องเทียว
อันดับ 4 เป็นธุรกิจใหม่ ได้แก่ ธุรกิจการทำคอนเทนต์ ยูทูป การรีวิวสินค้า และนักรีวิวสินค้า (Influence) และธุรกิจโฆษณาและสื่อออนไลน์
อันดับ 5 ได้แก่ ธุรกิจแพลตฟอร์มกลาง หรือ ตลาดกลางทางอิเล็กทรอนิกส์
อันดับ 6 ได้แก่ ธุรกิจประกันภัย -ประกันชีวิต และธุรกิจบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ
อันดับ 7 ได้แก่ ธุรกิจท่องเที่ยวโรงแรม ทัวร์ และที่เกี่ยวเนื่อง และธุรกิจร้านค้าปลีกสมัยใหม่
อันดับ 8 ได้แก่ ธุรกิจโลจิสติกส์ ดิลิเวอรี่ และธุรกิจตู้หยอดเหรียญ เช่น น้ำ เครื่องซักผ้า อาหาร
อันดับ 9 ได้แก่ ธุรกิจ E-Sport , ธุรกิจอาหารเสริม , ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม (ไม่มีแอลกอฮอล์)
อันดับ 10 ธุรกิจยานยนต์ โดยมีธุรกิจใหม่ คือ ธุรกิจความเชื่อ , ธุรกิจบันเทิงละคร หนัง ซีรี่ย์วาย และธุรกิจเกี่ยวกับกัญชา - ใบกระท่อม
ส่วน 10 อันดับดาวร่วง อันดับ 1 คือ ธุรกิจฟอกย้อม และธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์-วารสาร ได้คะแนนเพียง 8.6 จากเต็ม 100 คะแนน ,อันดับ 2 ได้แก่ ธุรกิจรับ-ส่งสื่อสิ่งพิมพ์ตามบ้าน ,อันดับ 3 ธุรกิจคนกลาง , อันดับ 4 ร้านขายหนังสือ ,อันดับ 5 ธุรกิจเครื่องปั่นดินเผา - เซรามิก ,อันดับ 6 ได้แก่ ธุรกิจร้านถ่ายรูป และธุรกิจหัตถกรรมอันดับ 7 ธุรกิจผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูปโหล ,อันดับ 8 ธุรกิจคลิปโต ,อันดับ 9 โรงเรียนเอกชน และอันดับ 10 ธุรกิจร้านโชห่วย
นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย บอกว่า ธุรกิจในไทย เริ่มเปลี่ยนไปตามการส่งเสริม Digital Economy และ เทรน BCG ที่คนหันมาดูแลสุขภาพ รวมไปถึงสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังคงอยู่ ทำให้ปีหน้า ธุรกิจการแพทย์ยังคงโดดเด่น และปรับไปสู่ธุรกิจบริการมากขึ้น
ซึ่งในปีหน้า ภาคการท่องเที่ยว และการบริโภค จะฟื้นตัวดีขึ้นเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สำคัญ ทดแทนภาคการส่งออก ที่เริ่มชะลอตัวลงชัดเจนในช่วงครึ่งปีแรก ดังนั้นจึงสนับสนุนภาครัฐ ออกมาตรการกระตุ้นเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน
ทั้งในด้านการท่องเที่ยวการขยายเวลาเปิด-ปิดสถานบันเทิง รวมไปถึงมาตรการช้อปดีมีคืน ที่จะทำให้มีเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติมในช่วงไตรมาสแรก โดยศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจไทยในปีหน้า จะขยายตัวได้ 3.6%