svasdssvasds
เนชั่นทีวี

อาชญากรรม

ไขข้อสงสัย คุณสมบัติเหล็กเครื่องหมาย T เกี่ยวกับคุณภาพหรือไม่

23 เมษายน 2568
เกาะติดข่าวสาร >> NationTV
logoline

วิศวกรรมสถานฯ ไขข้อสงสัย คุณสมบัติของเหล็กที่มีเครื่องหมาย T เกี่ยวข้องกับมาตรฐานของเหล็กหรือไม่ และมีคุณสมบัติอย่างไร

23 เมษายน 2568 จากเหตุแผ่นดินไหวใหญ่ที่ประเทศพม่า แรงสั่นสะเทือนส่งถึงภาคเหนือและภาคกลางของประเทศไทย รวมถึงตึกสูงหลายแห่งในกรุงเทพฯได้รับความเสียหาย ขณะที่ ตึก สตง.ถล่มลงมา มีผู้ประสบเหตุกว่า 100 คน ในจำนวนนี้มีผู้เสียหาย บาดเจ็บ และสูญหายจำนวนมากนั้น

 

ขณะที่ กระทรวงอุตสาหกรรม เก็บตัวอย่างเหล็กเส้นที่ใช้ในการก่อสร้างไปตรวจสอบคุณภาพ พบว่ามีจำนวนหนึ่งไม่ได้มาตรฐาน โดยพบว่าเป็นเหล็กข้ออ้อย ที่มีรูปตัว T นั้น

 

ไขข้อสงสัย คุณสมบัติเหล็กเครื่องหมาย T เกี่ยวกับคุณภาพหรือไม่

 

ล่าสุด วันนี้ เวลา 14.00 น. ที่ ห้องประชุม ชั้น 4 อาคารวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) รศ.ดร.สมิตร ส่งพิริยะกิจ ประธานสาขาวิศวกรรมโยธา วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ นายกฤษดา จันทร์จำรัสแสง อุปนายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และนายนพดล ใจชื่อ อุปนายกวิชาการสมาคมวิศวกรที่ปรึกษาแห่งประเทศไทย ร่วมกันแถลงว่า

ตามที่มีหนังสือส่วนราชการเผยแพร่อยู่ Social Media อาจเป็นเหตุให้เกิดความสับสน และอาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมเหล็กวงกว้างได้ เพื่อเป็นการให้ข้อมูลทางวิชาการอย่างถูกต้อง และลดความสับสนของสังคมในกรณีการใช้งานเหล็กข้ออ้อย ตาม มอก. 24-2559 วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ร่วมกับสมาคมวิชาชีพ ให้ข้อมูลดังนี้

 

1. ชั้นคุณภาพของเหล็กข้ออ้อยตาม มอก. 24-2559 มี 3 ชั้นคุณภาพ คือ SD30 , SD40 และ SD50 แต่ละชั้นคุณภาพมีคุณสมบัติทางเคมี และทางกลต่างกัน ส่วนเครื่องหมาย T หรือที่เรียกว่าเหล็กรูปตัว T ไม่ได้เป็นสาระสำคัญของชั้นคุณภาพ เครื่องหมาย T ถูกพูดถึงในหัวข้อ "ฉลากและเครื่องหมาย" เพียงเพื่อระบุวิธีการผลิตเท่านั้น

 

ไขข้อสงสัย คุณสมบัติเหล็กเครื่องหมาย T เกี่ยวกับคุณภาพหรือไม่

 

เกณฑ์การยอมรับ เกณฑ์ชักตัวอย่าง และเกณฑ์การทดสอบต่าง ๆ ของเหล็กข้ออ้อย SD30 และ SD30T จะต้องผ่านเกณฑ์การทดสอบแบบเดียวกันทุกประการ เช่นเดียวกับเหล็กข้ออ้อย SD40 และ SD40T รวมถึง SD50 และ SD50T ไม่มีข้อยกเว้น

ดังนั้นการระบุในแบบและรายการประกอบแบบ เรื่องให้ใช้เหล็กข้ออ้อยชั้นคุณภาพ SD40 หรือ SD50 จึงเป็นเรื่องปกติ เพราะไม่มีชั้นคุณภาพ SD40T และ SD50T ตาม มอก. 24-2559 การยินยอมให้ใช้เหล็กข้ออ้อย SD40T หรือ SD50T ในโครงการก่อสร้างจึงไม่ใช่การ "ลดสเป็ก" แต่อย่างใด หากหน่วยงานก่อสร้างใดมีความประสงค์จะไม่ให้ใช้เหล็กข้ออ้อยที่ผลิตโดยกรรมวิธีที่มีเครื่องหมาย ควรต้องระบุในแบบและรายการ ประกอบแบบให้ชัดเจน

 

2.เหล็กที่มีรูปตัว T มีราคาถูกกว่าเหล็กปกติ เป็นที่รับรู้ในวงการก่อสร้างทุกภาคส่วนมาตั้งแต่ปี 2548 หรือ 20 ปี แล้ว ราคาวัสดุก่อสร้างจำพวกเหล็กชนิดต่าง ๆ ได้รับการรับรู้แพร่หลาย และราคาการประมูลงานสะท้อนข้อเท็จจริงนี้มานานแล้ว ในการประมูลงานภาคเอกชนและภาครัฐ เป็นเรื่องปกติที่ผู้ประสงค์จะยื่นประมูลจะสอบถามผู้ว่าจ้างก่อนว่ายินยอมให้ใช้ เหล็ก T หรือไม่ จึงจะคำนวณราคาตามข้อกำหนดนั้น ๆ อย่างไรก็ตามผู้ควบคุมงานก่อสร้าง มักจะอนุญาตให้ใช้เหล็ก T ได้เสมอ เพื่อลดค่าใช้จ่าย (ของเจ้าของงาน) แต่ยังได้คุณสมบัติเหล็กตามคุณภาพที่ต้องการ

 

ไขข้อสงสัย คุณสมบัติเหล็กเครื่องหมาย T เกี่ยวกับคุณภาพหรือไม่

 

3. เหล็กที่กำลังสูงขึ้น จะมีความแข็งมากขึ้น และมีความสามารถในการดัดโค้งน้อยลง เช่น เหล็ก SD50 จะมีโอกาสแตกร้าวขณะดัดโค้งมากกว่า SD40 และด้วย กระบวนการผลิตแบบ T ทำให้คุณสมบัติผิวของเปลือกนอกของเหล็กข้ออ้อยแข็งกว่าเหล็กด้านในแกนกลาง จึงทำให้ผิวด้านนอกเสี่ยงต่อการแตกร้าวหากถูกดัดงอมากขึ้น ซึ่ง มอก. 24-2559 กำหนดการทดสอบความสามารถในการดัดโค้งไว้ในเกณฑ์มาตรฐานของเหล็กทั้งสองชนิด ไม่แตกต่างกัน เรื่องนี้เป็นที่ทราบดี วิศวกรจึงหลีกเลี่ยงการดัดงอเหล็กข้ออ้อยที่มีกำลังสูง SD50 และ SDSOT ด้วย รัศมีน้อย ๆ ทั้งสองชนิด แล้วเลือกใช้เหล็ก S040 หรือ S04OT ที่มีความสามารถในการดัดโค้งมากกว่าแทน เช่น ในการทำเหล็กปลอก

 

1. การล้า (fatigue) ไม่ได้อยู่ในรายการทดสอบตาม มอก. 24-2559 ทุกชั้นคุณภาพ และไม่ได้อยู่ในรายการมาตรฐานทดสอบเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตสำหรับก่อสร้างทั่วโลก ทั้งนี้แรงเค้นที่เกิดขึ้นในเหล็กเสริมคอนกรีตขณะใช้งานปกติมีค่าต่ำกว่ากำลังระบุมากเช่น เหล็ก SD50T อาจจะมีความเค้นใช้งานปกติประมาณ 150-250 MPa เมื่อเทียบกับกำลังครากประมาณ 490 MPa โอกาสที่โครงสร้างปกติจะรับน้ำหนักกระทำซ้ำที่ความเค้นสูง กลับไปมาจนวิบัติจากความล้ามีน้อยมากตลอดอายุการใช้งาน ความกังวลใจในเรื่องการล้าเกิดขึ้นกับวัสดุก่อสร้างชนิดอื่น และจำเป็นต้องมีการทดสอบ เช่น ลวดอัดแรง  เป็นต้น

 

2. วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทยฯ ยังไม่มีข้อมูลเรื่องคุณภาพเหล็กเส้นเสริมคอนกรีตที่ผลิตจากเตา IF ว่า มีคุณภาพสม่ำเสมอหรือไม่ วิศวกรผู้ควบคุมงานควรชักตัวอย่าง ทดสอบตามมาตรฐาน อย่างเคร่งครัดและครบถ้วน ทุกครั้งก่อนอนุญาตให้นำไปใช้งาน ด้วยเหตุผลที่ได้กล่าวมาข้างต้น เหล็ก SD30T SD40T และ SD50T สามารถใช้ในงานอาคารสูงได้ โดยไม่ต้องการออกแบบใดๆ เพิ่มเติม แต่ยังคงต้องควบคุมคุณภาพในการก่อสร้างเช่นเดียวกับการใช้เหล็ก SD30 , SD40 และ SD50

logoline