31 มีนาคม 2568 จากเหตุแผ่นดินไหวใหญ่ที่ประเทศพม่า ส่งให้ภาคเหนือและภาคกลาง ของประเทศไทย รวมถึงกรุงเทพฯ รับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือน หลายพื้นที่ได้รับผลกระทบความเสียหายโดยเฉพาะตึกสูง อย่างเหตุตึก สตง.ถล่ม ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ย่านจตุจักร มีคนงานเสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บ และมีผู้สูญหายจำนวนมาก เมื่อบ่ายวันที่ 28 มีนาคม 2568 ที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดี มีการตั้งข้อสังเกตว่า การก่อสร้างอาคาร สตง.หลังนี้ มูลค่า 2.1 พันล้านบาท ได้มาตรฐานหรือไม่ ใช้วัสดุคุณภาพตรงตามมาตรฐานหรือไม่
ข้อมูลจากกรุงเทพธุรกิจ สรุปข้อเท็จจริงเอาไว้ว่า
1.โครงการนี้ มีการชงของบประมาณเพื่อขอก่อสร้างตึก สตง.มาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2550 หรือราว 18 ปีก่อน ต่อมามีการขอปรับเปลี่ยนงบประมาณในปี 2563 ออกเป็น 2 ส่วน แบ่งเป็นงานก่อสร้างอาคารดังกล่าว วงเงิน 2.1 พันล้านบาทเศษ ดำเนินการโดย กิจการร่วมค้า ไอทีดี-ซีอาร์อีซี (บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จํากัด (มหาชน) และบริษัทไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จํากัด
และงานผู้ให้บริการควบคุมงานก่อสร้าง วงเงิน 74.6 ล้านบาทเศษ ดำเนินการโดย กิจการร่วมค้า PKW (บริษัท พี เอ็น ซิงค์โครไนซ์ จํากัด บริษัท ว.และสหาย คอนซัลแตนตส์ จํากัด และ บริษัท เคพี คอนซัลแทนส์ แอนด์ แมเนจเม้น จํากัด)
2.พบ “เอกชนจีน” ที่มาร่วมเป็นกิจการร่วมค้า ไอทีดี-ซีอาร์อีซี ดำเนินการก่อสร้างอาคาร สตง.ดังกล่าวคือ บริษัทไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จํากัด หรือชื่อจีนคือ บริษัท จงเที่ยสือจวี่จี๋ตวน (China Railway No.10 Engineering Group – CRCC) หนึ่งในบริษัทในเครือของรัฐวิสาหกิจจีนขนาดใหญ่ โดยสื่อจีนเคยรายงานข่าวเมื่อปี 2567 ที่ผ่านมาว่า บริษัทแห่งนี้ ดำเนินงานในโครงสร้างหลักของอาคารเสร็จสมบูรณ์แล้ว
ความสำเร็จครั้งนี้ไม่ใช่เพียงความคืบหน้าในระดับกายภาพ แต่ยังถือเป็น โครงการอาคารสูงพิเศษแห่งแรกในต่างประเทศของบริษัท สะท้อนถึงความสามารถในการแข่งขันด้านวิศวกรรมจีน ที่กำลังก้าวรุกเข้าสู่ตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างจริงจัง
ทั้งนี้ บริษัทไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จํากัด พบข้อเท็จจริงว่า ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 เอ็นจิเนียริ่ง กรุ๊ป คัมปะนี (สัญชาติจีน) ถือหุ้นใหญ่สุด 49%
โดยพบว่า โสภณ มีชัย กับ มานัส ศรีอนันท์ ร่วมถือหุ้น บริษัทในเครือทุนจีน อีกหลายสิบแห่ง ขณะเดียวกันที่ตั้งของ บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จํากัด ใช้ที่อยู่เดียวกันกับบริษัทที่ โสภณ กับ มานัส ร่วมถือหุ้นหรือเป็นกรรมการอีก 9 แห่ง
ส่วน ประจวบ ศิริเขตร พบว่าเป็นกรรมการบริษัทอย่างน้อย 4 แห่ง (เท่าที่ตรวจสอบพบ) ได้แก่
1. บริษัท วีล มาร์ท (ประเทศไทย) จำกัด
2. บริษัท สันติภาพ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด
3. บริษัท สันติภาพ อิมปอร์ต-เอ็กปอร์ต จำกัด
4. บริษัท สันติภาพ การขนส่ง ไทย-จีน จำกัด (สถานะปัจจุบัน ถูกนายทะเบียนขีดชื่อว่าร้าง)
ประจวบ ศิริเขตร ถือหุ้นอย่างน้อย 8 บริษัท ได้แก่
1. บริษัท วีล มาร์ท (ประเทศไทย) จำกัด (ถือ 9.08%)
2. บริษัท สันติภาพ อิมปอร์ต-เอ็กปอร์ต จำกัด (ถือ 10%)
3. บริษัท เอสทีพี อิมปอร์ต-เอ็กปอร์ต(ประเทศไทย) จำกัด (ถือ 37.48%)
4. บริษัท เอวาน่า อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (ถือ 27.9%)
5. บริษัท สันติภาพ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (ถือ 40%)
6. บริษัท สแตร์ ลาเบล อินเตอร์ กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด (ถือ 20%)
7. บริษัท โชคนิมิต บิสซิเนส แอนด์ เซอร์วิส จำกัด (ถือ 30%)
8. บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด (ถือ 10.2%)
เปิด 4 บริษัท ที่ โสภณ มีชัย เป็นกรรมการ คือ
1. บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด
2. บริษัท ไซเบอร์ เทเลคอม จำกัด
3. บริษัท ไฮห่าน จำกัด
4. บริษัท เอที แคปปิตอล โซลูชั่น จำกัด (เสร็จชำระบัญชีแล้ว)
เปิด 5 บริษัท ที่ โสภณ มีชัย ถือครองหุ้น คือ
1. บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด ถือ 40.8%
2. บริษัท เอที แคปปิตอล โซลูชั่น จำกัด (เสร็จชำระบัญชี)
3. บริษัท ไฮห่าน จำกัด ถือ 51%
4.บริษัท ยูไนเต็ด สตาร์ กรุ๊ป จำกัด ถือ 25.5%
5. บริษัท สยาม ไบโอเมดิคอล ไซเอนซ์ จำกัด ถือ 10%
เปิด 9 บริษัท ที่ มานัส ศรีอนันท์ เป็นกรรมการ คือ
1. บริษัท วีล มาร์ท (ประเทศไทย) จำกัด
2. บริษัท สยาม ไบโอเมดิคอล ไซเอนซ์ จำกัด
3. บริษัท สันติภาพ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด
4. บริษัท สันติภาพ อิมปอร์ต-เอ็กปอร์ต จำกัด
5. บริษัท สแตร์ ลาเบล อินเตอร์ กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด
6. บริษัท เอวาน่า อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
7. บริษัท เอสทีพี อิมปอร์ต-เอ็กปอร์ต(ประเทศไทย) จำกัด
8. บริษัท โชคนิมิต บิสซิเนส แอนด์ เซอร์วิส จำกัด
9. บริษัท บี เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (เสร็จชำระบัญชี)
เปิด 12 บริษัท ที่ มานัส ศรีอนันท์ ถือครองหุ้น คือ
1. บริษัท เลนเยส อี-พาวเวอร์ จำกัด ถือ 51%
2. บริษัท สแตร์ ลาเบล อินเตอร์ กรุ๊ป (ประเทศไทย) จำกัด ถือ 31%
3. บริษัท เอวาน่า อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ถือ 52.1%
4. บริษัท โชคนิมิต บิสซิเนส แอนด์ เซอร์วิส จำกัด ถือ 40%
5. บริษัท บี เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด ถือ 1%
6. บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด
7. บริษัท สันติภาพ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด ถือ 30%
8. บริษัท ยูไนเต็ด สตาร์ กรุ๊ป จำกัด ถือ 25.5%
9. บริษัท สันติภาพ อิมปอร์ต-เอ็กปอร์ต จำกัด ถือ 48%
10. บริษัท สยาม ไบโอเมดิคอล ไซเอนซ์ จำกัด ถือ 70%
11. บริษัท วีล มาร์ท (ประเทศไทย) จำกัด ถือ 45.03%
12. บริษัท เอสทีพี อิมปอร์ต-เอ็กปอร์ต(ประเทศไทย) จำกัด ถือ 62.48%
โดยจะพบว่าทั้ง โสภณ มีชัย , มานัส ศรีอนันท์ และ ประจวบ ศิริเขตร ต่างเป็นกรรมการ หรือผู้ถือหุ้น ในบริษัทเครือจ่ายทุนจีน ที่เป็นผู้ถือหุ้นร่วมกัน หรือที่ตั้งบริษัทเดียวกันกับ บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด หนึ่งในกิจการร่วมค้า ที่ก่อสร้างอาคารใหม่ของ สตง.ซึ่งพังถล่มลงมาจำนวนหลายบริษัท
นอกจากนี้ยังเคยมีข้อมูลว่า บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด มีชื่อ พล.อ.ภัสสร อิศรางกูร ณ อยุธยา ที่ปรึกษาคณะทำงานฯ กระทรวงกลาโหม เคยเป็นที่ปรึกษาบริษัทแห่งนี้ด้วย ต่อมาเมื่อ 4 มี.ค.2566 สื่อหลายสำนักรายงานข่าวตรงกันว่า พล.อ.ภัสสร ทำการอัตนิวิบาตกรรมภายในอาคารใน ซอยพุทธบูชา 44 แยก 11 แขวงบางมด เขตทุ่งครุ กทม. ซึ่งเป็นที่ตั้งของสำนักงาน “ไชน่า เรลเวย์ฯ”
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ