12 ธันวาคม 2567 จากกรณีเกิดเหตุรัวยิง "สจ.โต้ง" นายชัยเมศร์ สิทธิสนิทพงศ์ เสียชีวิตภายในบ้านของ "โกทร" นายสุนทร วิลาวัลย์ นายกอบจ.ปราจีนบุรี ซึ่ง สจ.โต้ง เป็นลูกบุญธรรมของนายสุนทร เหตุเกิดเมื่อช่วงค่ำวันที่ 11 ธ.ค.ที่ผ่านมา ตำรวจควบคุมตัว "โกทร" พร้อมกับผู้ก่อเหตุรวม 7 คน มาสอบสวน นายวิลาวัลย์ นายก อบจ.ปราจีนบรี มาสอบปากคำ ตามข่าวที่เสนอไปก่อนหน้านี้
ล่าสุด พ.ต.อ.ประสงค์ ศิริทิพย์วานิช รอง ผบก.จว.ปราจีนบุรี เปิดเผยว่า จากการสอบปากคำได้แจ้งข้อหา นายสุนทร พร้อมพวกรวม 7 คน ดังนี้
"ร่วมกันฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา" และ "ร่วมกันมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต"
ทั้งนี้ เบื้องต้นสอบปากคำไปแล้ว 3 ปาก และพยานแวดล้อม 4 ปาก แต่ยังมีพยานอื่นๆอีกมาก โดยผู้บังคับบัญชาได้กำชับแบ่งทีมกันสอบวางประเด็น ประเด็นงานสืบได้ให้ไปเก็บกล้องวงจรปิด หาพยานที่เกี่ยวข้องมาให้สังคมรับทราบ
พ.ต.อ.ปผระสงค์ กล่าวอีกว่า ในระหว่างการสอบสวนมีทนายความได้เข้าร่วมรับฟังการสอบสวนทั้งหมด โดยเฉพาะ "นายสุนทร" มีทนายส่วนตัว ส่วนผู้ต้องหาเป็นทนายจัดหา โดยเจ้าหน้าที่ได้คัดค้านการประกันตัว เนื่องจากเกรงไปยุ่งเหยิงพยานหลักฐาน เพราะเป็นกลุ่มผู้มีอิทธิพล
ในส่วนของอาวุธปืน จากการตรวจค้นบ้านที่เกิดเหตุพบอาวุธปืนอีกจำนวนมาก จึงต้องคัดค้านการประกันตัว โดยการควบคุมตัวที่โรงพักเป็นเวลา 48 ชม. และจะนำตัวส่งศาลจังหวัดปราจีนบุรีในวันพรุ่งนี้ (13 ธ.ค.) ช่วงเช้า
สำหรับชนวนเหตุกำหนดไว้กว้างๆ 3 ประเด็น
เปิดบทลงโทษ 2 ข้อหา
จากการตรวจสอบจากประมวลกฎหมายอาญา โทษตามกฎหมายในผิดฐานฆ่าคนตาย พบว่า...
ข้อหา “ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา” องค์ประกอบสำคัญ ผู้กระทำต้องมีเจตนาที่จะทำให้ผู้ที่ถูกฆ่าถึงแก่ความตาย บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 15 ปีถึง 20 ปี
แต่หากพบว่า เข้าข่าย “ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน” จะมีองค์กระกอบถึงการใช้ จ้างวานฆ่าผู้อื่น มีการคบคิดวางแผนฆ่าผู้อื่น เตรียมอาวุธเพื่อใช้ในการฆ่า หรือจัดเตรียมยานพาหนะเพื่อใช้ไปฆ่าผู้อื่น มีบทบัญญัติอยู่ในมาตรา 289 (4) ต้องระวางโทษ “ประหารชีวิต”
ขณะที่ “ความผิดฐานมีอาวุธปืนในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต” ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ 2490 บัญญัติว่า ห้ามมิให้ผู้ใดมี ซื้อ ใช้ สั่ง หรือนำเข้าซึ่งอาวุธปืน หรือเครื่องกระสุนปืน เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนท้องที่ หากผู้ใดฝ่าฝืนต้องได้รับโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 10 ปี และปรับโทษตั้งแต่ 2,000 ถึง 20,000 บาท
ความผิดฐานพกพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490 บัญญัติว่า ห้ามมิให้มีผู้ใดพกพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้านหรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตให้มีอาวุธปืนติดตัว เว้นแต่เป็นกรณีที่ต้องมีติดตัวเมื่อมีเหตุจำเป็น และเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ หากผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท
หากผู้ใดพกพาโดยเปิดเผย เช่น มีการเหน็บไว้ที่เอากางเกง ซึ่งผู้อื่นสามารถมองเห็นได้ ต้องรับโทษหนักขึ้น คือมีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 5 ปี หรือปรับตั้งแต่ 1,000 ถึง 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
แต่หากบุคคลได้รับอนุญาตให้มีอาวุธในครอบครอง แต่พกพาอาวุธปืนโดยที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้มีการพกพาอาวุธปืน ผู้นั้นมีความผิดโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับเกิน 2,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ