6 ธันวาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 20 พ.ย.ที่ผ่านมา ที่ศาลอาญา ถนนรัชดาภิเษก "นายอภิดิศร์ หรือ เอ็ม" นักธุรกิจและเป็นหลานชายอดีต รมว.ต่างประเทศ ที่ศาลยกฟ้องคดีข่มขืนดารา ส่งผู้รับมอบอำนาจเดินทางไปยื่นฟ้อง อดีตดาราสาวชื่อย่อ ณ. ในความผิดฐานหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา พร้อมเรียกค่าเสียหาย 5 ล้านบาท
โดยคำร้องระบุพฤติการณ์สรุปว่า โจทก์เคยเป็นซีอีโอและประธานบริษัทชื่อดัง ซึ่งประกอบธุรกิจหลายอย่าง โดยเฉพาะธุรกิจนำเข้าศิลปินเกาหลีมาจัดคอนเสิร์ตในประเทศไทย รวมถึงการติดต่อธุรกิจอื่น ๆ เกี่ยวกับประเทศเกาหลีใต้ และธุรกิจนำเข้าที่จอดรถเทคโนโลยีจากประเทศเยอรมัน
จำเลยเป็นนักแสดงอิสระ ซึ่งได้แจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับโจทก์ ในฐานความผิดฐานข่มขืนกระทำชำเราและอื่น ๆ จนกระทั้งศาลนี้ ได้มีคำพิพากษา ยกฟ้องโจทกในคดีนี้ ไม่มีความผิด
ข้อ 2 เมื่อวันที่ 26 ส.ค.2565 จนถึงปัจจุบัน จำเลยนี้ได้กระทำความผิดอาญา อันเป็นความผิดหลายกรรมด้วย
2.1 เมื่อระหว่างวันที่26 ส.ค.2565 เวลากลางวัน จำเลยได้ใส่ความโจทก์ต่อ บุคคลที่สามโดยการโฆษณาด้วยการให้สัมภาษณ์ในการออกรายการโหนกระแส ที่สัมภาษณ์สอบถามจำเลยเกี่ยวกับคดีระหว่างโจทก์กับจำเลย ที่ได้ร้องทุกข์กล่าวหาโจทก์ฐานข่มขืนกระทำชำเรา ซึ่งเป็นคดีที่อยู่ในความสนใจของประชาชนทั่วไป ทราบว่าโจทก์และจำเลยในคดีนี้ มีข้อความส่วนหนึ่งประมาณว่า "เขาจะพาเราไปที่แห่งหนึ่งและส่งสถานที่ให้ เราดู...มารู้สึกตัวอีกทีประมาณตี 2หลังจากตื่นมาเขาก็ไม่ได้อยู่ที่นั้นแล้ว ...เขาคะยั้นคะยอให้เรากินโซจูตอนคุยงาน"
และหลังจากนั้นพิธีกรถามว่า หลังจากไปถึงที่บ้านถึงรู้ว่าถูกล่วงละเมิดทางเพศใช่มั้ย ซึ่งจำเลยตอบว่า "ค่ะ" โดยข้อความที่จำเลยอธิบายต่อพิธีกรในรายการ ทำให้บุคคลที่สามหรือประชาชนทั่วไปเข้าใจได้ว่า โจทก์ล่อลวงให้จำเลยไปสถานที่แห่งหนึ่ง และมอมเมาด้วยเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จนกระทั้งล่วงละเมิดทางเพศแก่จำเลย
2.2 วันที่ 29 ส.ค. เวลากลางวัน จำเลยใส่ความโจทก์ให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวจากสำนักข่าวต่าง ๆ จำนวนหลายแห่ง ที่สัมภาษณ์สอบถามจำเลยเกี่ยวกับคดีที่จำเลยเป็นเสียหายร้องทุกข์กล่าวหาโจทก์ฐานข่มขืนกระทำชำเรา มีข้อความส่วนหนึ่งว่า "เราไม่ขาดสติในการนัดเจอกันไปคุยงานนี้ยืนยัน...เรามีหลักฐานแน่นอนว่าเราไม่ได้สร้างเหตุการณ์มาแบล็กเมล์เขาทั้งนั้น" และจบท้ายด้วย ข้อความว่า "เราพยายามมาตลอดสู้ตามหลักฐานมาตลอดกับพี่สาวเราถูกบิดเบียนทุกอย่าง" อันมีความหมาย ในทำนองว่า โจทก์กล่าวหาจำเลยแบล็กเมลโจทก์ (เพื่อเรียกเอาผลประโยชน์ แลกกับการเปิดเผยความลับหรือทำให้เสียหายเดือดร้อน) และแสดงให้เห็นว่า จำเลยไม่ได้กล่าวหาโจทก์เรื่องการข่มขืน แต่เพราะหลักฐานที่จำเลยมีถูกบิดเบื้อนข้อเท็จจริงให้โจทก์ได้เปรียบ อันเป็นการสร้างภาพให้โจทก์เป็นคนร้ายในสายตาประชาชนทั่วไป
2.3วันที่ 6 ก.ย.2565 จำเลยให้สัมภาษณ์ในการออกรายการโหนกระแส ที่สัมภาษณ์สอบถามจำเลยเกี่ยวกับคดีระหว่างโจทก์กับจำเลย โดยก่อนก่อนหน้านั้นในวันที่ 5 ก.ย.2565 ศาลอาญานัดไต่สวนคำร้องขอปล่อยชั่วคราวโจทก์ในคดีข่มขืนจำเลย ระหว่างโจทก์และจำเลยในคดีนี้ ซึ่งโจทก์ได้นำเสนอคลิปวีดีโอการพูดคุยระหว่างโจทก์และจำเลยเสนอต่อศาล และจำเลยก็ทราบคลิปวีดีโอดังกล่าวดี แต่ได้นำเรื่องคลิปลิปวีดีโอดังกล่าวออกมาพูดออกกาศในในทำนองว่า "โจทก์นำคลิปแอบถ่ายไปเปิดในศาล" อันเป็นการสื่อสารประชาชนทั่วไปให้เข้าใจว่าเป็นคลิปแอบถ่ายในเชิงอนาจาร
จำเลยยังได้ให้สัมภาษณ์ในรายการต่อไปประมาณว่า "ตั้งใจจะไปคุยงานก็เห็นเขายังไม่กลับ ด้วยความที่เขาเป็นนายทุน เขาเอาอะไรให้เราดื่มก็ไม่ได้หวาดระแวงถึงพฤติกรรมของเขาทำแบบนี้กับเราพอมันเกิดเรื่องแบบนี้ ณ.ตอนนั้นหนูยังไม่รู้เลยว่าหนูโดนเขาวางยา ข่มขืนหรือกระทำชำเรา" ซึ่งเป็นการสื่อสารให้บุคบุคคลที่สามหรือประชาชนทั่วไปรับรู้ว่าโจทก์ได้ทำการข่มขืนจำเลยด้วยการวางยา
ตามคำฟ้องข้อ 2.1-2.3 ซึ่งเป็นการให้สัมภาษณ์ของจำเลย กับพิธีกรซึ่งจำเลยเล็งเห็นผลได้ว่า ข้อความที่ตนได้พูดออกไป จะต้องสร้างความเสียหายแก่โจทก์ต่อบุคคลที่สามที่สามารถเข้าถึงได้ และต่อมาผู้สื่อข่าวและนักข่าวอิสระต่าง ๆ ได้นำภาพและเสียงการให้สัมภาษณ์ในรายการโหนกระแส และสัมภาษณ์ต่อสื่อสารมวลชนของจำเลยไปโฆษณาเผยแพร่ตามสื่อต่าง ๆ ในโลกโซเชียลมีเดียซึ่งประชาชนทั่วไปเข้าถึงได้อีกหลายแห่งในแอปพลิเคชั่น
ตามเจตนาดังกล่าวของจำเลย อันเป็นการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา รายละเอียดปรากฏตามเสียงและภาพเคลื่อนไหว การกระทำดังกล่าวของจำเลยฝ่าฝืนต่อความจริงเป็นที่เสียหาย แก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของโจทก์ เป็นที่เสียหายแก่ทางทำมาหาได้หรือทางเจริญก้าวหน้าของโจทก์ โดยที่รู้อยู่แล้วว่าข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง และเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของโจทก์
ทำให้โจทก์ซึ่งประกอบธุรกิจส่วนตัว และเป็นธุรกิจที่เกี่ยวพันกับผู้คนจำนวนมากทั้งในประเทศและต่างประเทศ และต้องอาศัยความน่าเชื่อถือ ไว้ใจ หรือแม้กระทั่งความประพฤติในทางศีลธรรมจรรยา ซึ่งเป็นงานที่ต้องพบปะผู้คนเป็นจำนวนมาก อีกทั้งบุคคลทั่วไปรู้จักโจทก์ดี และทราบว่าโจทก์เป็นบุคลในแวดวงสังคมทางธุรกิจ และการเมือง การกระทำดังกล่าวของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับผลกระทบเสียหายเพราะมิใช่ การติชมโดยสุจริตหรือเพื่อปกป้องสิทธิของตนโดยชอบ และไม่มีเหตุตามกฎหมายที่จะอ้างเพื่อให้พ้นความรับผิดได้
อีกทั้งเป็นเรื่องส่วนบุคคล ไม่เป็นประโยชน์ต่อสังคมในภาพรวม เพราะศาลไม่ได้พิพากษาว่าโจทก์กระทำผิดจริง จำเลยจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเงินจำนวน 5 ล้านบาท พร้อมดอกเบี้ย โดยศาลรับคำฟ้องเป็นคดีหมายเลขดำที่ อ.3378/2567 เเละนัดไต่สวนมูลฟ้อง 3 ก.พ. 2568