4 ตุลาคม 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 1 ต.ค.2567 นายไพรัช พรสมบูรณ์ศิริ อัยการสูงสุด ได้ลงนามในคำสั่งสำนักงานอัยการสูงสุด ที่ 2263/2567 ลงวันที่ 1 ต.ค. 2567 เรื่อง แต่งตั้งโฆษกและรองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อให้งานด้านการสื่อสารองค์กร การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ การสร้างความรับรู้และความเข้าใจในบทบาท ภารกิจ และการดำเนินงานของสำนักงานอัยการสูงสุด ตลอดจนการให้ข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์ อีกทั้งเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ของสำนักงานอัยการสูงสุดในการปฏิบัติภารกิจให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นธรรม และถูกตรวจสอบได้ โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้
คณะที่ปรึกษาโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ประกอบด้วย
คณะโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ประกอบด้วย
โดยให้คณะโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุดมีอำนาจหน้าที่ ดังนี้
1. กำหนดแนวทางการสื่อสารองค์กร ประสานงาน แลกเปลี่ยนข้อมูล เพื่อการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานของสำนักงานอัยการสูงสุดในเชิงรุกและเชิงรับโดยให้สอดคล้องกับนโยบายอัยการสูงสุดแผนยุทธศาสตร์และแผน ปฏิบัติการของสำนักงานอัยการสูงสุด
2. ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ ให้ข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับนโยบาย ภารกิจ โครงการ ตลอดจนผลการปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการต่าง ๆ ของสำนักงานอัยการสูงสุด อย่างต่อเนื่องและชัดเจน
3. แถลงข่าวและชี้แจงข้อมูลต่าง ๆ ในนามสำนักงานอัยการสูงสุด กรณีเกิดความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนอันอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสำนักงานอัยการสูงสุด ตลอดจนพิจารณาให้ข้อมูลข่าวสารที่ตรงกับข้อเท็จจริงและทันต่อเหตุการณ์ในทุกกรณีตามความเหมาะสม โดยละเว้นการตอบโต้ทางการเมืองและการชี้แจงที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้ง ทั้งนี้ ให้ถือปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ และคำสั่ง เกี่ยวกับการให้ข่าว การแถลงข่าว การให้สัมภาษณ์ การเผยแพร่ภาพต่อสื่อมวลชน และการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ในส่วนที่เกี่ยวข้อง
4. รับฟังข้อมูลข่าวสารและข้อคิดเห็นจากประชาชนหรือสื่อมวลชน เพื่อนำมาพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง
5. ติดตาม รวบรวม และตรวจวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวกับสำนักงานอัยการสูงสุด โดยเฉพาะข่าวสารที่มีผลกระทบต่อสำนักงานอัยการสูงสุด
6. วิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารที่ส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์สำนักงานอัยการสูงสุด และพิจารณาหาแนวทางแก้ไขผลกระทบที่เกิดขึ้น พร้อมเสนอแนวทางแก้ไขต่ออัยการสูงสุด รวมทั้งดำเนินการแก้ไขผลกระทบตามที่อัยการสูงสุดมอบหมายโดยเร่งด่วน ทั้งนี้ ให้ติดตามผลการแก้ไขเรื่องที่ได้ดำเนินการแล้ว ผ่านการตรวจติดตามข่าวอย่างใกล้ชิด โดยจัดทำรายงานข่าวพร้อมบทวิเคราะห์ผลกระทบต่อภาพลักษณ์สำนักงานอัยการสูงสุด และรายงานอัยการสูงสุดทราบทันที
7. ประสานงานเชื่อมโยงกับสื่อมวลชน และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และเกิดประโยชน์ในการสื่อสาร การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร เพื่อสร้างการรับรู้ ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องแก่ประชาชน
8.ในการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ ให้สามารถเชิญพนักงานอัยการ หรือผู้แทนจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในสำนักงานอัยการสูงสุด มาให้ถ้อยคำ หรือชี้แจงข้อเท็จจริงพร้อมเอกสารหลักฐาน หรือให้ส่งเอกสารหลักฐาน เพื่อประกอบการพิจารณาได้ตามความจำเป็นและเหมาะสม หรือให้ส่งข้อมูลและข่าวสาร และให้หน่วยงานภายในสำนักงานอัยการสูงสุดสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานของคณะโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุดเมื่อได้รับการร้องขอ
9. ควบคุม ตรวจสอบ ตลอดจนกำกับดูแลมิให้พนักงานอัยการหรือบุคคลอื่นใดที่มิใช่คณะโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ปฏิบัติหน้าที่หรือดำเนินการใดตามข้อ 1. ถึงข้อ 8. เว้นแต่กรณีตามข้อ 12
10. การขอใช้อัตรากำลัง งบประมาณ เครื่องมือเครื่องใช้ เพื่อให้การปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ตามคำสั่งนี้สัมฤทธิ์ผล ให้พิจารณาเสนออัยการสูงสุดตามเหตุผลและความจำเป็น
11. ให้สำนักสารนิเทศและประชาสัมพันธ์ สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นหน่วยงานหลักสนับสนุนงานของคณะโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด
12. แต่งตั้งคณะทำงานหรือมอบหมายบุคคลที่เห็นสมควร เพื่อร่วมดำเนินการในการประชาสัมพันธ์ตามความเหมาะสม ทั้งนี้ โดยได้รับความเห็นชอบจากอัยการสูงสุด
13. รายงานการดำเนินการให้อัยการสูงสุดทราบ
14. ปฏิบัติหน้าที่อื่น ๆ ตามที่อัยการสูงสุดมอบหมาย