13 กันยายน 2566 ความคืบหน้ากรณี กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ สืบสวนสอบสวนในคดีของ "กำนันนก" หรือ นายประวีณ จันทร์คล้าย อดีตกำนัน ต.ตาก้อง จ.นครปฐม ผู้ต้องหาคดียิง "สารวัตรแบงค์" สารวัตรทางหลวง ประเด็นที่มีการขยายผล ตรวจสอบการประกอบธุรกิจ รับเหมาก่อสร้างในพื้นที่โดยอธิบดีดีเอสไอ มีคำสั่งให้ทำการสืบสวน ตามกฎหมาย และให้กองคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ หรือ กคร. เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
ล่าสุด นางพิชญา ธารากรสันติ โฆษกกรมสอบสวนคดีพิเศษ พร้อมด้วย ร.ต.อ.สุรวุฒิ รังไสย์ ผอ.กองคดีความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ กองคดีฮั้วประมูล ดีเอสไอ แถลงผลการตรววจสอบ เผยว่า "นายประวีณ จันทร์คล้าย หรือ กำนันนก" มีธุรกิจในเครือข่ายหลายธุรกิจ ที่เข้าเสนอและรับงาน จากหน่วยงานของรัฐหลายกระทรวง ในพื้นที่หลายจังหวัด ประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง ผลิต จำหน่ายยางแอสฟัลท์ติกคอนกรีต มีมูลค่าหลายพันล้านบาท
ซึ่งเบื้องต้นพบว่า ตั้งแต่ปี 54 - 66 "เครือข่ายกำนันนก" มีเครือข่ายธุรกิจ ที่เข้าไปรับงานจัดซื้อจัดจ้างจากหน่วยงานภาครัฐ รวม 1,544 โครงการ รวมมูลค่ากว่า 7,500 ล้านบาท
โดยจากการตรวจ มีโครงการที่ บริษัท ป.พัฒนารุ่งโรจน์ก่อสร้าง จำกัด ได้งานจากภาครัฐ ที่มีมูลค่าโครงการจำนวนเกิน 30 ล้านบาท จำนวน 18 โครงการ และ บริษัท ป.รวีกนก ก่อสร้าง จำกัด ได้งานจากภาครัฐ ที่มีมูลค่าโครงการจำนวนเกิน 30 ล้านบาท จำนวน 2 โครงการ
ในจำนวน 20 โครงการนี้ พบว่า 2 โครงการ ที่มีเหตุอันควรสงสงสัย จะมีการได้เข้าทำสัญญากับภาครัฐโดยไม่โปร่งใส หรือ ฮั้วประมูล ประกอบไปด้วย
ขณะผลการตรวจสอบ โครงการของหน่วยงานรัฐ ที่เครือข่ายธุรกิจ "กำนันนก" ที่เข้าไปรับงานจัดซื้อจัดจ้าง ตั้งแต่ปี 54 ถึงปัจจุบัน จำนวน 1,544 โครงการ มูลค่าวงเงินงบประมาณ 7,579,402,078.72 บาท เเต่ทำทำสัญญาจริง รวม 6,964,815,249.47 บาท นั้น เป็นโครงการของหลายหน่วยงาน หลายกระทรวง ประกอบด้วย
และเมื่อเจาะจงไปที่มูลค่า ของโครงการจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่ เครือข่ายกำนันนก ได้รับไปนั้น พบว่า หน่วยงานที่เครือข่าย "กำนันนก" รับงานไปมากสุด แยกเป็นรายกระทรวง
กระทรวงมหาดไทย ประกอบด้วย กรมการปกครอง และกรมการปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 1,277 โครงการ มูลค่ากว่า 3.73 พันล้านบาท หรือ เฉลี่ยโครงการละ 2.92 ล้านบาท
กระทรวงคมนาคม ประกอบด้วย กรมทางหลวง และกรมทางหลวงชนบท มีจำนวน 263 โครงการ แต่มีมูลค่ามากสุด ถึง 3.8 พันล้านบาท หรือเฉลี่ยโครงการละ 14.47 ล้านบาท
ขณะที่จากหน่วยงานอื่น ๆ อาทิ กองทัพอากาศ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวมๆ แล้วเพียง 4 โครงการ มูลค่ารวม 35.2 ล้านบาท หรือเฉลี่ยโครงการละ 8.82 ล้านบาทเท่านั้น
DSI จ่อเรียกสอบ บริษัทรับเหมาในพื้น 65 บริษัท ฮั้วประมูล
ร.ต.อ.สุรวุฒิ ระบุด้วยว่า รูปแบบการฮั้วประมูล จะเเตกเเยกสาขา ในเเต่ละจังหวัด อาจจะเเตกเป็น บ้านเล็กบ้านน้อย บ้านใหญ่ ซึ่งผู้รับเหมามีลูกมือ เป็นมือเป็นไม้ ข่มขู่คุกคาม ไปอุ้มคนประมูลออกมา ไม่ให้เข้าร่วมประมูล ซึ่งเป็นการฮั้วสมัยโบราณ
เเต่ปัจจุบัน เป็นรูปแแบบส์ (e-bidding) ทุกคนที่ซื้อซอง จะต้องคีย์เข้าไปในระบบ พอวันที่จะเสนอราคา ก็จะประมูล (e-bidding) กัน คนที่ไปซื้อจะไม่มีทางรับรู้ เเต่ปรากฎว่า "กำนันนก" มีความสามารถในการรับรู้ได้อย่างไร พอรู้ก็ไปบล็อกไว้ เนื่องจากมีผู้ซื้อจริง 32 ราย ที่ยื่นซื้อซองประมูล เเต่มีผู้ยื่นจริงเเค่ 3 ราย ซึ่งจะเรียกมาสอบ เเละกันไว้เป็นพยาน เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่รัฐ ที่สมยอมกันทำให้รัฐขาดทุน ส่วนคนที่ข่มขู่ก็จะมีความผิดมากที่สุด
ทั้งนี้ วิธีการประมูล (e-bidding) เป็นวิธีการที่มี รูปแบบประกวดราคาที่ปลอดภัยที่สุด แต่ยอมรับว่า ก็ยังมีช่องว่าง เนื่องจากมีข้อมูลของ กลุ่มบริษัทยื่นซอง รั่วไหลออกไปสู่บุคคลภายนอก เบื้องต้นสันนิษฐานว่า อาจจะเป็นบุคคลภายในที่นำข้อมูลออกไปเผยแพร่
ส่วนกรณีที่มีการตั้งข้อสังเกตว่า "กำนันนก" เข้าถึงโครงการรับเหมาก่อสร้างของภาครัฐจำนวนมากว่า อาจจะมีนักการเมืองท้องถิ่น หรือผู้มีอิทธิพลอื่น ที่อยู่เบื้องหลัง คอยให้การสนับสนุน เสนองานให้โดยเฉพาะเจาะจง ซึ่งเรื่องนี้ จะพยายามสืบสวนขยายผล ให้ครอบคลุมไปให้ลึกที่สุด เพื่อสาวถึงขบวนการใหญ่
สำหรับการสอบสวนพยาน กำหนดเรียกเข้าให้ข้อมูล ในสัปดาห์หน้าช่วงวันจันทร์ - พุธ เป็นกลุ่มบริษัทรับเหมาก่อสร้าง ที่เคยยื่นซองแข่งขันประกวดราคา เพื่อรับงานในโครงการของรัฐตั้งแต่ปี 54 จนถึงปัจจุบันซึ่งพบว่า มี 65 บริษัท และยังได้รับเบาะแสจากบางบริษัทว่า เคยถูกข่มขู่เพื่อกีดกัน ไม่ให้เข้าร่วมยื่นซอง ประมูลรับงานด้วย ซึ่งหากการสอบสวนพบว่า เป็นความจริง ก็เเข้าข่ายมีความผิดด้วย
ส่วนบริษัทรับเหมาใหญ่ ธงชัยเจริญก่อสร้าง 2566 จำกัด ซึ่งได้รับการประมูลงานโครงการใหญ่ กว่าพันล้าน ที่ทางตำรวจตรวจค้นวันนี้ ก็เป็นหนึ่งในบริษัทที่ จะเรียกมาสอบ ส่วนตัวผู้ถือหุ้น , กรรมการ ใน 2 บริษัท ยังไม่จำเป็นต้องเรียกมาสอบ ซึ่งภายหลังการสอบสวนพยานครบถ้วนแล้วพบว่า มีความผิดชัดเจน ก็จะเป็นการออกหมายเรียก ให้เข้ารับทราบข้อกล่าวหา ต่อไป
ร.ต.อ.สุรวุฒิ ย้ำว่า สำหรับโทษของเจ้าหน้าที่รัฐ ที่กระทำผิดในคดีฮั้วประมูล โทษสูงสุด คือ จำคุกตลอดชีวิต ส่วนประชาชนทั่วไป อยู่ที่พฤติกรรม อย่างกรณีข่มขู่ บริษัทอื่น เพื่อกีดกันไม่ให้ร่วมแข่งประมูล มีโทษจำสูงสุด 10 ปี
สำหรับเรื่องการฮั้วประมูล เเละ การประมูลต่ำกว่าราคากลาง เเละงานไม่ได้คุณภาพ ซึ่งจะคณะกรรมการตรวจรับที่จะตรวจสอบ ซึ่งหากปล่อยผ่าน คณะกรรมการตรวจรับก็จะมีความผิด ซึ่งมีอัตรโทษหนัก
"รูปแบบการกระทำเหล่านี้ เป็นการกระทำความผิดที่ร้ายเเรงที่สุด ทุจริตเเบบครบวงจร เป็นการกระทำความผิดโดย สันดาน "