svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

รําลึก ๖๐ ปีแห่งการถึงแก่อนิจกรรมของ อ.ศิลป์ พีระศรี ๑๔ พ.ค. ๒๕๖๕

หนึ่งบุคคลสำคัญ ที่ได้สร้างคุณูปการให้กับวงการศิลปะไทย หนึ่งในนั้น ย่อมมีชื่อของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยของไทยและปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในวาระครอบรอบ ๖๐ ปีแห่งการถึงแก่อนิจกรรม ขอนำประวัติและผลงานของท่านมาน้อมรำลึกอีกครั้ง

ร่วมรําลึก ๖๐ ปีแห่งการถึงแก่อนิจกรรมของ อ.ศิลป์ พีระศรี

 

“นาย…ถ้าฉันตาย…นายนึกถึงฉัน นายรักฉัน…นายไม่ต้องไปทำอะไร…นายทำงาน

 

ศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี ท่านมีนามเดิมว่า คอร์ราโดเฟโรชี ( Professor Corrado Feroci ) เกิดเมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๕ ใน

เขตซานโจวันนี (San Giovanni) เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี บิดาชื่อ นาย Artudo Feroci และมารดาชื่อนาง Santina Feroci มีอาชีพค้าขาย ท่านได้สมรสกับนาง  FANNI  VIVIANI มีบุตรด้วยกัน 2 คน บุตรหญิงชื่ออิซาเบลลา ปัจจุบันเป็นนักธุรกิจ  บุตรชายชื่อ  โรมาโน  เป็นสถาปนิก        

 

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นชาวฟลอเรนซ์ เมืองที่เต็มไปด้วยศิลปะ เมื่อเยาว์วัยท่านชื่นชมผลงานศิลปกรรมของไมเคิล แองเจโล ประติมากรเอกของโลกชาวฟลอเรนซ์ เมื่อโตขึ้นจึงได้เข้าศึกษาศิลปะที่ราชวิทยาลัยศิลปะแห่งนครฟลอเรนซ์  

รําลึก ๖๐ ปีแห่งการถึงแก่อนิจกรรมของ อ.ศิลป์ พีระศรี ๑๔ พ.ค. ๒๕๖๕

ปี พ.ศ. ๒๔๔๑ ได้เข้าศึกษาในระดับชั้นประถม หลักสูตร ๕ ปี หลังจากจบหลักสูตร จึงเข้าศึกษาต่อในโรงเรียนระดับมัธยมอีก ๕ ปี หลังจากนั้นจึงเข้าศึกษาทางด้านศิลปะในโรงเรียนราชวิทยาลัยศิลปะ แห่งนครฟลอเรนซ์ จบหลักสูตรวิชาช่าง ๗ ปีในขณะที่มีอายุ ๒๓ ปีและได้รับประกาศนียบัตรช่างปั้นช่างเขียน และเข้าสอบชิงตำแหน่งศาสตราจารย์ได้รับเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง  หนึ่งในผลงานในสมัยวัยหนุ่มที่ได้รับยกย่องและมีชื่อเสียงโด่งดังในฐานะของศิลปิน คือได้รับรางวัลชนะการประกวดออกแบบอนุสาวรีย์หลายครั้ง 

รําลึก ๖๐ ปีแห่งการถึงแก่อนิจกรรมของ อ.ศิลป์ พีระศรี ๑๔ พ.ค. ๒๕๖๕

ชีวิตในวัยหนุ่ม        

ในวัยหนุ่มของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นวัยที่มีพลัง ดังนั้นท่านจึงไม่พอใจในสภาพชีวิตที่เป็นอยู่ในสังคมที่เจริญแต่เพียงด้านวัตถุในประเทศอิตาลีสมัยนั้น เมื่อท่านได้ทราบข่าวว่ารัฐบาลแห่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ต้องการช่างปั้นชาวอิตาเลี่ยน เพื่อเข้ามารับราชการงานอนุสาวรีย์ในประเทศไทย ท่านจึงยื่นความจำนงพร้อมผลงานเข้าแข่งขันกับศิลปินอีกจำนวนมาก ในที่สุดรัฐบาลไทยได้เลือก Prof. C. Feroci เข้ามารับราชการในประเทศไทย  เริ่มแรกในเมืองไทย        

ในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีพระประสงค์จะหาช่างปั้นมาช่วยปฏิบัติราชการ เพื่อฝึกฝนให้คนไทยสามารถปั้นรูปได้อย่างแบบตะวันตก และสามารถมีความรู้ถึงเทคนิคต่างๆในงานมาปฏิบัติราชการกับรัฐบาลไทย ปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ท่านได้ชนะการประกวดการออกแบบเหรียญเงินตราสยามที่จัดขึ้นในยุโรป ทางรัฐบาลอิตาลีจึงเสนอนายคอร์ราโด เฟโรจี มาพร้อมทั้งคุณวุฒิและผลงาน ซึ่งรัฐบาลไทยก็ยินดีรับเข้าเป็นข้าราชการ ด้วยเหตุนี้ ท่านจึงเดินทางสู่แผ่นดินสยามเพื่อเข้ามารับราชการเป็นช่างปั้นประจำกรมศิลปากรกระทรวงวัง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

รําลึก ๖๐ ปีแห่งการถึงแก่อนิจกรรมของ อ.ศิลป์ พีระศรี ๑๔ พ.ค. ๒๕๖๕

เมื่อวันที่ ๑๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๖๖ เมื่ออายุย่างเข้า ๓๒ ปี ได้รับเงินเดือน ๆ ละ ๘oo บาทค่าเช่าบ้าน ๘o บาท และต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๖๙

ศาสตราจารย์ศิลป์พีระศรีได้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ช่างปั้นหล่อแผนกศิลปากรสถานแห่งราชบัณฑิตยสภา ได้รับเงินเดือนๆ ละ ๙oo บาทต่อมาได้ย้ายมาเป็นช่างปั้น สังกัดอยู่ในกองประณีตศิลปกรรมกรม ศิลปากรกระทรวงธรรมการ

ท่านได้วางหลักสูตรอบรมกว้างๆ และทำการสอนให้แก่ผู้ที่สนใจในวิชาประติมากรรมทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฎิบัติผู้ไดรับการอบรมรุ่นแรก ๆ ส่วนมากสำเร็จการศึกษามาจากโรงเรียนเพาะช่าง ได้แก่ สาย ประติมาปกร สุข อยู่มั่น ชิ้น ชื่อประสิทธ์ สวัสดิ์ ชื่นมะนา และแช่ม แดงชมพู ผู้ที่มาอบรม ฝึกงานกับศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมทั้งสิ้น เพราะทางราชการมีนโยบายส่งเสริมช่างปั้น ช่างหล่อ ให้มีคุณภาพและมีมาตรฐาน ซึ่งต่อมาบุคคลเหล่านี้ได้มาเป็นผู้ช่วยช่างและบางคนก็เข้ารับราชการช่วยแบ่งเบาภาระ งานและช่วยทำให้กิจการปั้นหล่อของกรมศิลปากรเจริญขึ้นอย่างรวดเร็ว เมื่อทางราชการเห็นความสำคัญของการศึกษาศิลปะตามแนวในปัจจุบัน จึงได้ขอให้ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้วางหลักสูตรการศึกษาให้มีมาตรฐานเดียวกันกับโรงเรียนศิลปะในยุโรป

 

รําลึก ๖๐ ปีแห่งการถึงแก่อนิจกรรมของ อ.ศิลป์ พีระศรี ๑๔ พ.ค. ๒๕๖๕

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้เริ่มวางหลักสูตรวิชาจิตรกรรมและประติมากรรมขึ้น ในระยะเริ่มแรกชื่อ "โรงเรียนประณีตศิลปกรรม" ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนศิลปากรแผนกช่าง" และในปีพ.ศ.๒๔๘๕ กรมศิลปากรได้แยกจากกระทรวงศึกษาธิการ ไปขึ้นอยู่กับสำนักนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลในขณะนั้นโดย ฯพณฯจอมพลป.พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี ตระหนักถึงความสำคัญของศิลปะว่า เป็นวัฒนธรรมที่สำคัญยิ่งสาขาหนึ่งของชาติ จึงได้มีคำสั่งให้อธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้นคือ พระยาอนุมานราชธน ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตรและตราพระราชบัญญัติ ยกฐานะโรงเรียนศิลปากรขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร มีคณะจิตรกรรมประติมากรรม เป็นคณะวิชาเดียวของมหาวิทยาลัย เปิดสอนเพียง ๒ สาขาวิชาคือ สาขาจิตรกรรมและสาขา ประติมากรรม โดยมีศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรีเป็นผู้อำนวยการสอนและดำรงตำแหน่งคณบดีคนแรก

 

ในช่วงสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ พ.ศ. ๒๔๘๕ ประเทศอิตาลียอมพ่ายแพ้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตร ชาวอิตาเลียนในประเทศไทยตกเป็นเชลยของประเทศเยอรมนีกับญี่ปุ่น แต่รัฐบาลไทยขอควบคุมตัวท่านศาสตราจารย์คอร์ราโด เฟโรชีไว้เอง และหลวงวิจิตรวาทการได้ทำเรื่องขอโอนสัญชาติจากอิตาเลียนมาเป็นสัญชาติไทย โดยเปลี่ยนชื่อของท่านให้มาเป็น "นายศิลป์ พีระศรี" เพื่อคุ้มครองท่านไว้ไม่ต้องไปถูกเกณฑ์เป็นเชลยศึกให้สร้างทางรถไฟสายมรณะและสะพานข้ามแม่น้ำแคว เมืองกาญจนบุรี

 

ในปีพ.ศ.๒๔๙๑ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลไทยให้นำศิลปะไทยไปแสดง ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในปีนี้ท่านได้เดินทางกลับไปประเทศอิตาลี และเดินทางกลับมาประเทศไทยอีกครั้งในต้นปีพ.ศ.๒๔๙๒ โดยกลับมาใช้ชีวิตเป็นครูสั่งสอนลูกศิษย์ลูกหาทางด้านศิลปะ ที่คณะจิตรกรรม และประติมากรรม

รําลึก ๖๐ ปีแห่งการถึงแก่อนิจกรรมของ อ.ศิลป์ พีระศรี ๑๔ พ.ค. ๒๕๖๕

ในปีพ.ศ.๒๔๙๖ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้รับหน้าที่อันมีเกียรติคือเป็นประธานกรรมการสมาคมศิลปะแห่งชาติ ซึ่งขึ้นอยู่กับสมาคมศิลปะนานาชาติ (International Association of Art) ในปีนี้ท่านได้เดินทางกลับไปประเทศอิตาลีและเดินทางกลับมาประเทศไทยอีกครั้ง ในต้นปีพ.ศ.๒๔๙๒ โดยกลับมาใช้ชีวิตเป็นครูสั่งสอนลูกศิษย์ลูกหาทางด้านศิลปะที่คณะจิตรกรรมและประติมากรรม

 

ในปีพ.ศ.๒๔๙๖ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้รับหน้าที่อันมีเกียรติคือเป็นประธานกรรมการสมาคมศิลปะแห่งชาติ ซึ่งขึ้นอยู่กับสมาคมศิลปะนานาชาติ (International Association of Art) ในปีพ.ศ.๒๔๙๗ ได้เป็นผู้แทนศิลปินไทย ไปร่วมประชุมศิลปินระหว่างชาติครั้งแรก ที่กรุงเวนิช ประเทศอิตาลี และในปี พ.ศ.๒๕o๓ การประชุมใหญ่ครั้งที่ ๓ ที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ท่านได้นำเอกสารผลงานศิลปะและบทความศิลปะชื่อศิลปะร่วมสมัยใน ประเทศไทย (Contemporary Art in Thailand) ไปเผยแพร่ในการประชุมด้วย ทำให้นานาชาติรู้จักประเทศไทยดีขึ้น และนับเป็นคนแรกที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนศิลปะระหว่างศิลปินต่างประเทศขึ้น

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลไทย ให้ออกแบบปั้นและควบคุมการหล่อพระราชนุสาวรีย์ และอนุสาวรีย์สำคัญของประเทศไทย โดยการปั้นต้นแบบสำหรับพระปฐมบรมราชานุสรณ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๗๒ - ๒๔๗๗ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี พ.ศ. ๒๔๘๔ พระราชานุสาวรีย์ของสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สวนลุมพินี และการออกแบบพระพุทธรูปปางลีลา ประธานพุทธมณฑล

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรีจะใช้อาคารที่ทำงานของท่านในตึกสูงทรงโบราณที่เป็นประวัติศาสตร์ในอดีต ในปัจจุบันนี้ คือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์อาคารหลังนี้เมื่อท่านสิ้นอายุขัยลงแล้ว ได้ถูกทอดทิ้งให้รกร้างว่างเปล่ามาจนถึง พ.ศ. ๒๕๒๗

 

 

รําลึก ๖๐ ปีแห่งการถึงแก่อนิจกรรมของ อ.ศิลป์ พีระศรี ๑๔ พ.ค. ๒๕๖๕

จากรอยจารึกในคุณงามความดี ความเสียสละ มีคุณธรรม และความรู้ ความสามารถที่ท่านได้เมตตามาตลอดชีวิตของท่านในประเทศไทย ดุจบิดาแห่งศิลปสมัยใหม่ของประเทศไทย (The Father of Modern Arts in Thailand) จึงกำเนิดโครงการ พิพิธภัณฑ์ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ขึ้น ณ อาคารประวัติศาสตร์ที่ท่านใช้ชีวิตการทำงานศิลป และสอนศิษย์พร้อมกันไป ดำเนินการโดยคณะกรรมการชุดต่าง ๆ หาทุนทรัพย์ในการซ่อมแซม และปรับปรุงอาคารจัดเป็นพิพิธภัณฑ์อนุสรณ์ให้กับท่าน

 

วันที่ ๑๕ กันยายน ๒๕๒๗ เป็นวาระวันคล้ายวันเกิดของท่านครบรอบ ๙๒ ปี ได้มีพิธีเปิดพิพิธภัณฑ์ศิลป์ พีระศรีอนุสรณ์ขึ้น โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในสมัยนั้น (ฯพณฯ ชวน หลีกภัย) เป็นประธานในการเปิดงานครั้งนี้ เพื่อการเผยแพร่งานศิลปร่วมสมัย ศิลปสมัยใหม่ของบรรดาศิษย์อาวุโสที่เป็นศิลปินชั้นเยี่ยมให้ประชาชนทั่วไป ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศได้เข้าชมศึกษาหาความรู้เรื่อยมา วันที่ ๒๗ มีนาคม ๒๕๓o กระทรวงศึกษาธิการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาให้ชื่อว่า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ศิลป์ พีระศรี อนุสรณ์ ตั้งอยู่ภายในบริเวณกรมศิลปากร

 

ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ถึงแก่กรรมด้วยโรคหัวใจและโรคเนื้องอกในลำไส้ที่โรงพยาบาลศิริราช เมื่อคืนวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕o๕ รวมสิริอายุได้ ๖๙ ปี ๗ เดือน ๒๙ วัน ท่านได้อุทิศตนให้กับราชการไทยเป็นเวลาทั้งสิ้น ๓๘ ปี ๔ เดือน นับเป็นการสูญเสียบิดาแห่งสถาบันและวงการศิลปร่วมสมัยของไทยไปอย่างสิ้นเชิง คงทิ้งไว้แต่ความทรงจำต่อความดี ความจริงใจ และความรักอันลึกซึ้งของท่านที่ไม่ยอมกลับไปฝังร่างกายของท่านที่บ้านเกิดเมืองนอน แต่ได้มาอุทิศร่างกายและจิตใจไว้ให้กับคนไทยและประเทศไทย

รําลึก ๖๐ ปีแห่งการถึงแก่อนิจกรรมของ อ.ศิลป์ พีระศรี ๑๔ พ.ค. ๒๕๖๕

 

ผลงานที่สำคัญซึ่งปรากฏเห็นในปัจจุบันมีดังนี้ :

๑. พระบรมราชานุสาวรีย์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีขนาด ๓ เท่าคนจริง ประดิษฐานที่เชิงสะพานพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ท่านเป็นช่างปั้น และเดินทางไปควบคุมการหล่อที่ประเทศอิตาลี สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒

๒. อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จังหวัดนครราชสีมา สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๗

๓. รูปปั้นหล่อประกอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๕

๔. พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่สวนลุมพินี สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔

๕. พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่วงเวียนใหญ่ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓

๖. พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดสุพรรณบุรี สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗

๗. รูปปั้นประดับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ถนนราชดำเนิน

๘. พระพุทธรูปพระประธานพุทธมณฑล ๒๕ พุทธศตวรรษ ที่จังหวัดนครปฐม พ.ศ. ๒๔๙๘ ฯลฯ

 

รําลึก ๖๐ ปีแห่งการถึงแก่อนิจกรรมของ อ.ศิลป์ พีระศรี ๑๔ พ.ค. ๒๕๖๕

รําลึก ๖๐ ปีแห่งการถึงแก่อนิจกรรมของ อ.ศิลป์ พีระศรี ๑๔ พ.ค. ๒๕๖๕

นอกจากนั้น ยังมีโครงการที่ทำยังไม่แล้วเสร็จอีกคือ พระบรมรูปพระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน อนุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จังหวัดลพบุรี เป็นต้น

 

"ถ้าคิดถึงฉันจงไปเขียนรูป ทำงานศิลปะ แล้วฉันจะได้สบายใจ"

คือถ้อยคำสุดท้ายของอาจารย์ศิลป์ ผู้เป็นที่รักยิ่งได้มอบให้บรรดาลูกศิษย์ ก่อนจะเสียชีวิตลง

 

รําลึก ๖๐ ปีแห่งการถึงแก่อนิจกรรมของ อ.ศิลป์ พีระศรี ๑๔ พ.ค. ๒๕๖๕ ความสามารถของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ไม่ได้มีแค่ผลงานทางด้านศิลปะเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ยังมีคำสอนดีๆ ที่มักจะหยิบยกมาคอยเตือนใจลูกศิษย์ของตัวเอง

โดยเฉพาะประโยคที่ว่า “ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น” เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักว่า ชีวิตของมนุษย์ช่างแสนสั้นนัก เมื่อเปรียบเทียบกับการยืนยงคงอยู่ของศิลปกรรมที่จะยืนยงคงอยู่ยาวนานนับร้อยนับพันปี หรือประโยคที่ว่า “นายไม่อ่านหนังสือ นายจะรู้อะไร” เพื่อเตือนใจลูกศิษย์ให้หมั่นศึกษาหาความรู้ โดยเฉพาะความรู้ใหม่ ๆ

รำลึกศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ( Prof.Corrado Feroci ) ๑๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๕  – ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๕

รําลึก ๖๐ ปีแห่งการถึงแก่อนิจกรรมของ อ.ศิลป์ พีระศรี ๑๔ พ.ค. ๒๕๖๕ สำหรับวันที่ ๑๕ กันยายน คือ “วันศิลป์ พีระศรี” บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยของไทยและปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

* ขอขอบคุณข้อมูลดีๆ แรงบันดาลใจในการสืบค้นข่าว *
: วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร ฉบับพิเศษ ๑๐๐ ปี ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี
: “ศิลปร่วมสมัยในประเทศไทย” โดย ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี คณะจิตรกรรมและ ประติมากรรม มหาวิทยาลัย ศิลปากร,๒๕๑๑ เขียน ยิ้มศิริ  แปลจาก Contemporany Art in Thailand.
: ผลงานที่ไม่มีใครรู้จักของศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี โดย น.ณ ปากน้ำ
: จาก สูจิบัตรการแสดงศิลปกรรมแห่งชาติครั้งที่ ๑๑ พ.ศ. ๒๕๐๓ โดยศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี
: “ประติมากรรมและจิตรกรรมสยาม ” โดย ศ.ศิลป พีระศรี พ.ศ.๒๔๘๑
: ความเคลื่อนไหวของศิลปินและศิลปะในยุคของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เขียน ดำรง วงศ์อุปราช
: สนั่น ศิลากร จากใจอาจารย์ อาจารย์ศิลปะกับลูกศิษย์ นิพนธ์ขำวิไล บรรณาธิการ ๒๕๒๗
: “ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี ” โดย เขียน ยิ้มศิริ หนังสือพิธีไหว้ครูและรับน้องใหม่ มหาวิทยาลัยศิลปากร ๒๕๑๖

ขอขอบคุณที่มา : https://www.kroobannok.com/2448

ขอกราบขอบพระคุณทุกๆ ข้อมูลจากโลกออนไลน์ โดยเฉพาะภาพประกอบข่าว ที่นำมาประกอบในครั้งนี้ ด้วยความเคารพรักต่อท่านอย่างยิ่ง 

ขอขอบคุณภาพจากทุกสื่อที่ได้เผยแพร่ไว้ มา ณ โอกาสนี้ มิได้มีเจตนาที่จะลักลอบใช้ใดๆ แต่ด้วยความศรัทธาต่อผลงานท่านเป็นประการสำคัญ ผู้เขียนจึงขออภัยมา ณ โอกาสนี้ที่มิได้ขออนุญาตอย่างถูกต้อง

ด้วยจิตคารวะ