svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เช็กเลย พลาสติก 36 ไมครอน ที่ห้ามนำเข้าอุทยานแห่งชาติมีอะไรบ้าง

เช็กเลย พลาสติก 36 ไมครอน ที่ห้ามนำเข้าอุทยานแห่งชาติมีอะไรบ้าง สายเที่ยวอุทยานควรรู้ ฝ่าฝืนนำเข้ามีความผิดตามกฎหมาย

เรียกว่าสร้างสงสัยและงงงวยให้กับบรรดาสายแคมปิ้งและผู้ที่ชื่นชอบท่องเที่ยวค้างแรมตามอุทยานแห่งชาติต่าง ๆ เป็นอย่างมาก กรณีที่ประกาศกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ลงวันที่ 5 เมษายน 2565 ห้ามนำภาชนะที่ทำด้วยโฟมและบรรจุภัณฑ์พลาสติก (ถุงพลาสติก)ชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single - use plastics) เข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 6 เม.ย. ที่ผ่านมา 

 

โดยเฉพาะข้อห้ามนำภาชนะที่ทำด้วยโฟม และบรรจุภัณฑ์พลาสติก (ถุงพลาสติก) ชนิดใช้ครั้งเดียวทิ้ง (Single – use plastics) ได้แก่ ถุงพลาสติกหูหิ้ว ความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน กล่องบรรจุอาหารพลาสติกแก้วพลาสติก (แบบบางใช้ครั้งเดียว) หลอดพลาสติก และช้อน - ส้อมพลาสติก เข้าไปในเขตอุทยานแห่งชาติ จนตามมาด้วยคำถามนักท่องเที่ยวและชาวโซเชียลที่ว่า 36 ไมครอน คือขนาดไหนกัน??  
 

 

เช็กเลย พลาสติก 36 ไมครอน ที่ห้ามนำเข้าอุทยานแห่งชาติมีอะไรบ้าง

เพื่อเป็นการทำความเข้าใจอีกรอบ โดยเฉพาะเทศกาลสงกรานต์ที่กำลังจะมาถึงในอีกไม่กี่วันนี้ที่จะมีนักท่องเที่ยวจำนวนมากเดินทางไปเที่ยวตามอุทยานแห่งชาติต่าง ๆ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นจะต้องให้ความรู้อีกครั้งเพื่อการท่องเที่ยวที่ถูกต้องตามกฎหมาย และร่วมอุนรักษ์ธรรมชาติ

 

โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมเคยให้ความรู้เกี่ยวกับถุงพลาสติกเมื่อปี 2019 โดยระบุว่า...ถุงพลาสติกที่มีความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอนจะถูกเลิกใช้ในไทยภายในปี 2565 โดยเป็นหนึ่งใน 7 พลาสติกที่อยู่ในข่ายเลิกใช้ 7 ชนิด ได้แก่ พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม (Capseal), ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่มีส่วนผสมของสารประเภทอ็อกโซ่ (oxo), ไมโครบีดจากพลาสติก (Microbead) จะเลิกใช้ปี 2562 

 

เช็กเลย พลาสติก 36 ไมครอน ที่ห้ามนำเข้าอุทยานแห่งชาติมีอะไรบ้าง
 

ส่วนถุงพลาสติกหูหิ้วขนาดความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน, กล่องโฟมบรรจุอาหาร เลิกใช้ปี 2565 และแก้วน้ำพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวกับหลอดพลาสติกจะมีการเลิกใช้ปี 2565 

 

เช็กเลย พลาสติก 36 ไมครอน ที่ห้ามนำเข้าอุทยานแห่งชาติมีอะไรบ้าง
 

ขอบคุณข้อมูลจากสปริงนิวส์