svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

สรุปที่มา “วิกฤตศรีลังกา” เกิดอะไรขึ้นก่อนศก.พังยับ ต้องตัดไฟวันละ 13 ชม.

ย้อนที่มาก่อนเกิด “วิกฤตศรีลังกา” เศรษฐกิจพัง ขาดแคลนน้ำมันดิบ ต้องตัดกระแสไฟฟ้าถึง 13 ชั่วโมง เกิดจากอะไร ?

จากเหตุจลาจลใน “ศรีลังกา” จากการขาดแคลนน้ำมันดิบทำให้ต้องตัดกระแสไฟฟ้าถึง 13 ชั่วโมงต่อวัน เรียกได้ว่าขณะนี้ประเทศดังกล่าวกำลังเผชิญกับวิกฤตโดยแท้

 

สรุปที่มา  “วิกฤตศรีลังกา” เกิดอะไรขึ้นก่อนศก.พังยับ ต้องตัดไฟวันละ 13 ชม.

 

เกิดอะไรขึ้นกับ “ศรีลังกา” ก่อนเดินมาถึงวิกฤต ?

ก่อนหน้านี้ “ศรีลังกา” เคยนับเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจเข้มแข็งอีกหนึ่งประเทศของโลก แต่ขณะนี้กับต้องเจอกับวิกฤตเศรษกิจอย่างยากจะแก้ไข เรียกได้ว่าวิกฤตที่สุดในรอบ 73 ปี นับตั้งแต่ปี 2014 ศรีลังกาเผชิญกับหนี้ต่างประเทศที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วต่อเนื่อง จนถึงปี 2019 หนี้มีสัดส่วนถึง 42.9% ของจีดีพี หรือราว 33,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยปัญหาหลัก ๆ ได้แก่ การบริหารงานของรัฐบาลใช้จ่ายแบบมือเติบสร้างหนี้ให้กับประเทศสูงเกินเพดานจนไม่สามารถที่จะชำระได้ ประกอบกับการลดภาษีทำให้รับมีเงินน้อยลง อีกทั้งสถานการณ์โควิด-19 ที่ทำให้ขาดรายได้จากภาคการท่องเที่ยว ซึ่งมีสัดส่วนจีดีพีถึง 10 % และ เป็นแหล่งของเงินตราต่างประเทศที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศ

 

สรุปที่มา  “วิกฤตศรีลังกา” เกิดอะไรขึ้นก่อนศก.พังยับ ต้องตัดไฟวันละ 13 ชม.

สถานการณ์ย่ำแย่ลงอย่างต่อนื่องทำค่าเงินรูปีลังการ่วงหลักส่งผลให้ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคสูงขึ้น ทำให้ประธานาธิบดีศรีลังกา ได้ออกมาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทางเศรษฐกิจในวันที่ 30 ส.ค. 2021

 

สรุปที่มา  “วิกฤตศรีลังกา” เกิดอะไรขึ้นก่อนศก.พังยับ ต้องตัดไฟวันละ 13 ชม.

จนล่าสุดศรีลังกาซึ่งมีประชากร 22 ล้านคน กำลังประสบปัญหาไม่มีเงินตราต่างประเทศเพียงพอ ในการนำเข้าเชื้อเพลิงทำให้ขาดแคลนเชื้อเพลิงและก๊าซหุงต้ม จนต้องมีการตัดไฟนานถึงวันละ 13 ชม. เพื่อประหยัดไฟ นอกจากนี้สภาพอากาศแห้งแล้งก็ส่งผลกระทบต่อศักยภาพการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้าพลังน้ำ การตัดไฟยิ่งซ้ำเติมความเดือนร้อนของประชาชน ที่ต้องประสบปัญหาขาดแคลนสินค้าจำเป็นและราคาสินค้าพุ่งสูง ข้อมูลจากสำนักงานสถิติระบุว่าราคาอาหารในเดือน มี.ค. เพิ่มสูงขึ้นถึง 30.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว

 

 

สรุปที่มา  “วิกฤตศรีลังกา” เกิดอะไรขึ้นก่อนศก.พังยับ ต้องตัดไฟวันละ 13 ชม.

 

ซ้ำร้ายไปกว่านั้นพลังงานไฟฟ้าจากเขื่อนของศรีลังกาก็ไม่สามารถผลิตได้เพียงพอ ทั้งปริมาณน้ำยังอยู่ในภาวะวิกฤตเนื่องจากฝนไม่ตก สิ่งที่จะแก้ไขปัญหาการขาดแคลนพลังงานได้คือน้ำฝน โดยศรีลังกาจะต้องรอจนกว่าเข้าฤดูมรสุมในเดือนพ.ค.นี้ ประชาชาชาวศรีลังกาจะต้องเผชิญกับอากาศร้อนอบอ้าวในฤดูร้อนนี้ไปอย่างที่รัฐบาลไม่สามารถทำอะไรได้

 

สถานการณ์เลวร้ายขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อผู้ประท้วงขว้างปาและจุดไฟเผารถบัส 1 ใน 2 คัน ที่ตำรวจนำมาตั้งกีดขวางถนนมุ่งหน้าสู่บ้านพักประธานาธิบดีในกรุงโคลอมโบเมื่อคืนวันพฤหัสบดี (31 มี.ค.65) โดยเป็นการประท้วงด้วยความรุนแรงครั้งแรกนับจากประชาชนต้องเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจครั้งเลวร้ายที่สุดของประเทศ ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ตำรวจฉีดน้ำและยิงแก๊สน้ำตาเพื่อสลายผู้ชุมนุม ทำให้มีผู้บาดเจ็บสาหัสที่ขาหนึ่งคน แต่เมื่อผู้ชุมนุมยังไม่ยอมสลายตัว ทำให้ตำรวจต้องประกาศเคอร์ฟิวในหลายพื้นที่ของเมืองหลวง และล่าสุดยกเลิกเคอร์ฟิวแล้วในเช้าวันศุกร์นี้ ผู้ประท้วงเหล่านี้เรียกร้องให้ประธานาธิบดีโคตาบายา ราชปักษา ลาออก โดยตะโกนขับไล่เขาและประณามการบริหารจัดการเศรษฐกิจ การขาดแคลนไฟฟ้า และการขาดแคลนสินค้าจำเป็น

สรุปที่มา  “วิกฤตศรีลังกา” เกิดอะไรขึ้นก่อนศก.พังยับ ต้องตัดไฟวันละ 13 ชม.

ขณะเดียวกันตลาดหลักทรัพย์โคลอมโบต้องลดชั่วโมงการซื้อขายเหลือเพียงวันละ 2 ชม. จากปกติ 4 ชม.ครึ่ง ตามมาตรการตัดไฟตลอดสัปดาห์นี้ แต่หุ้นร่วงลงทันทีที่เปิดตลาดวันนี้ทำให้ต้องหยุดการซื้อขายนาน 30 นาที เป็นครั้งที่ 3 ในช่วง 2 วัน วิกฤตเหล่านี้เป็นผลพวงมาจากมาตรการปรับลดภาษีในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม และผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 ประกอบกับเงินคลังของรัฐบาลอ่อนแอ  ทำให้สำรองเงินตราต่างประเทศร่อยหรอลงถึง 70% ภายในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา จนเหลืออยู่เพียง 2,310 ล้านดอลลาร์ เมื่อเดือน ก.พ. ทำให้รัฐบาลต้องขอความช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ และอีกหลายประเทศรวมถึงอินเดียและจีนซึ่งเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ของศรีลังกาอีกด้วย 

 

สรุปที่มา  “วิกฤตศรีลังกา” เกิดอะไรขึ้นก่อนศก.พังยับ ต้องตัดไฟวันละ 13 ชม.

 

นอกจากนี้ศรีลังกายังเกิดวิกฤตทางการแพทย์ โดยมีรายงานว่าโรงพยาบาลอย่างน้อย 2 แห่ง ถูกสั่งยกเลิกการผ่าตัดตามปกติเป็นเพราะโรงพยาบาลมีทรัพยากรทางการแพทย์ที่สำคัญ รวมไปถึงยาชาหรือยาสลบรวมไปถึงยาและเคมีภัณฑ์อยู่ในระดับที่ต่ำอย่างเป็นอันตรายสำหรับการทดสอบวินิจฉัย และต้องการเก็บสิ่งเหล่านี้ไว้ในเคสฉุกเฉินเท่านั้น อย่างไรก็ตามมีรายงานว่าโรงพยาบาลแห่งชาติศรีลังกา (National Hospital of Sri Lanka) ออกมาเปิดเผยว่า ทางโรงพยาบาลหยุดการทดสอบวินิจฉัยตามปกติ แต่เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลกล่าวว่า ทางโรงพยาบาลยังได้รับกระแสไฟฟ้าที่จ่ายมาให้ตามปกติ