14 กุมภาพันธ์ 2565 นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข กล่าวระหว่างการแถลงสถานการณ์โควิด-19 ประเด็นระบบประกันยังใช้ในรพ.เอกชนได้หรือไม่ ว่า ระบบประกันภาคเอกชนที่ประชาชนซื้อเอง เป็นไปตามกรมธรรม์ที่ซื้อไว้ว่าครอบคลุมป่วยในหรือไม่ ทั้งนี้หลังจากรับทราบปัญหากรณีบริษัทประกันบางแห่ง ตีความใช้ประเด็นเงื่อนไขการส่งต่อผู้ติดเชื้อจากการดูแลตนเองที่บ้าน (Home Isolation : HI) เข้าโรงพยาบาลมาเป็นข้ออ้างไม่จ่าย กรณีคนพักรักษาตัวที่บ้าน หรือฮอสปิเทล
กรมการแพทย์ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และกรมควบคุมโรค ได้มีการประชุมและดูข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว กำลังทำหนังสือยืนยันไปยัง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ภายในสัปดาห์นี้
“ยืนยันว่า ผู้ติดโควิด19 เข้ารักษา HI หรือ ฮอสปิเทล ถือเป็นผู้ป่วยในตามระบบที่ สธ. ออกแบบไว้ เพราะฉะนั้นจะมีสิทธิในกรมธรรม์ที่ได้รับการชดเชย หรือการเยียวยาตามกรมธรรม์ที่ซื้อไว้ จะอ้างไว้ไม่เข้ารักษาในรพ.ไม่ได้ เพราะ HI ฮอสปิเทล ถือเป็นสถานพยาบาลชั่วคราวตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล”
ผู้สื่อข่าวถามว่าย้ำว่า แสดงว่าผู้ที่ซื้อประกันเอกชนแล้วเข้ารักษาใน HI หรือ ฮอสปิเทล มีสิทธิได้รับการชดเชยกรณีนอนโรงพยาบาล นพ.ธเรศ กล่าวว่า เป็นไปตามกรรมธรรม์ ซึ่งหากเจ็บไข้ได้ป่วยสถานพยาบาลจะทำการรับรองว่าเจ็บไข้ได้ป่วยอะไร และจะเป็นผู้เบิกกรณีค่ารักษาพยาบาล
ส่วนค่าชดเชยจะเป็นระหว่างกรมธรรม์และผู้เอาประกัน ซึ่ง กระทรวงสาธารณสุข ได้ประชุมกัน และลงมติว่า จะทำหนังสือแจ้ง คปภ. ว่า การอยู่ HI และ ฮอสปิเทล ถือว่าเป็นการรักษาที่อยู่ในสถานพยาบาล รวมทั้งการรักษาใน CI ด้วย เนื่องจากระบบได้กำหนดให้เป็นสถานพยาบาลชั่วคราว มีระบบเหมือนสถานพยาบาล มีเครื่องมือวัดออกซิเจน มีแพทย์โทรติดตามอาการ มีอาหารส่ง ออกแบบมาให้คนไข้นอนรักษาเหมือนสถานพยาบาล
ก่อนหน้านี้ สมาคมประกันชีวิตไทย แจงข้อปฏิบัติ "เคลมประกันโควิด-19" สำหรับผู้เอาประกันภัยที่ติดเชื้อโควิด-19 ของบริษัทประกันชีวิต จะปรับการเคลมประกันโควิดใหม่ที่จะจ่ายชดเชยตามเกณฑ์ผู้ป่วยใน แต่ไม่จ่ายชดเชยสำหรับ Home Isolation ซึ่งจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของ สธ. "ข้อใดข้อหนึ่ง" โดยจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 15 ก.พ.65 ดังต่อไปนี้
ขอบคุณข้อมูล : กรุงเทพธุรกิจ