นี่คือปรากฏการณ์แค่ยอดภูเขาน้ำแข็ง บริษัทอาคเนย์ประกันภัยเป็นบริษัทของกลุ่มเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ตอนนี้มีคนเคลมประกัน "เจอ จ่าย จบ" 7 หมื่นล้านคน
สาเหตุการปิดบริษัทประกัน เมื่อครั้งการประชุมครั้งที่ 2/2565 ที่ประชุมของคณะกรรมการอาคเนย์ประกันภัยพิจารณากัน 2 วาระ
วาระแรก : เห็นชอบเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยของอาคเนย์ประกันภัย ซึ่งเป็นการใช้สิทธิขอเลิกประกอบธุรกิจ ประกันวินาศภัยโดยสมัครใจและส่งคืนใบอนุญาตประกอบธุรกิจต่อนายทะเบียน
วาระที่สอง : ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอที่ให้ อาคเนย์ประกันภัยโอนกิจการของ อาคเนย์ประกันภัย ให้แก่ บริษัท อินทรประกันภัย จำกัด (มหาชน)
คำชี้แจง อาคเนย์ประกันภัย
บริษัทยืนยัน การตัดสินใจครั้งนี้เป็นการหาทางออกที่ดีที่สุด คือการยอมเลิกกิจการเพื่อให้ทุกคนได้เงินคืน
ต้องรอลุ้นพรุ่งนี้ว่าคณะกรรมการของ คปภ. จะเห็นด้วยหรือไม่ เพราะมีสิทธิ์ที่จะบอกเลิกกิจการและคืนใบอนุญาต
บทสรุปเส้นทาง 2 รูปแบบของบริษัท อาคเนย์ประกันภัย
ตอนจบแบบที่ 1
บริษัทสามารถดูแลพนักงานได้เหมือนเดิม
คู่ค้ายังสามารถได้รับการชำระเงินคืนครบถ้วน
ไม่มีภาระต่อหน่วยงานกำกับภาครัฐและกองทุนประกันวินาศภัย
ทุกฝ่ายได้รับผลประโยชน์
ตอนจบแบบที่ 2
เกิดผลกระทบเป็นวงกว้างภาพรวมของลูกค้าประกันภัย
บริษัทฯ มีแนวโน้มจะเกิดกรณีถูก คปภ. เพิกถอนใบอนุญาต
สุดท้ายอาคเนย์ต้องเลิกกิจการ สิ่งที่จะเกิดขึ้น ?
บริษัทฯ ไม่สามารถดูแลลูกค้าทุกประเภทกรมธรรม์ได้
บริษัทฯ ไม่สามารถรับผิดชอบคู่ค้าได้ (อู่, โรงพยาบาล และอื่นๆ)
ต้องเลิกจ้างพนักงานแบบไม่เป็นธรรม
คปภ. ต้องดูแลลูกค้าทุกกรมธรรม์ของอาคเนย์
กระทบเงินกองทุนประกันวินาศภัยในภาพรวมทั้งประเทศ
ผลประโยชน์ทุกฝ่ายสูญเสียสุดท้ายก็ต้องเลิกกิจการอยู่ดี
กรรมการบริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน)
1. นายสนิท วรปัญญา
2. นายโชติพัฒน์ พีชานนท์
3. นายฐาปน สิริวัฒนภักดี
4. นางอาทินันท์ พีชานนท์
5. นายอภิชัย บุญธีรวร
6. พลตำรวจเอกเจตน์ มงคลหัตถี
7. นายผดุงเดช อินทรลักษณ์
8. นายโยธิน พิบูลย์เกษตรกิจ
9. นางกิตติยา โตธนะเกษม
10. นายฐากร ปิยะพันธ์
ข้อมูลทางการเงิน (ณ วันที่ 30 กันยายน 2564)(หน่วย ล้านบาท)
สินทรัพย์รวม 19,200
เงินกองทุน พรบ.ประกันภัย 2,101
เงินกองทุนขั้นต่ำที่ต้องดำรงไว้ตาม พรบ.ประกันภัย 953
เบี้ยประกันภัยรับรวม ม.ค. - ก.ย. 2564 8,670
จ่ายค่าสินไหมทดแทน ม.ค. - ก.ย. 2564 3,016
สินทรัพย์ที่ต้องจัดสรรเป็นสำรองตาม พรบ.ประกันภัย 7,513
การเลิกกิจการของอาคเนย์ประกันภัยสะเทือนไปทั้งปฐพี ไม่เพียงเฉพาะธุรกิจประกันแต่ลามไปถึงธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวพัน
10 อันดับผู้ถือหุ้นบริษัท อาคเนย์ประกันภัย จำกัด (มหาชน)
1. บริษัท เครือไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) 97.33 %
2. นาย พยัพ ศรีกาญจนา 0.77 %
3. หม่อมเจ้า ปีใหม่ ยุคล 0.66 %
4. หม่อมเจ้า หญิง ยุคล 0.66 %
5. นาย ประกิต วิเชียรเจริญ 0.20 %
6. นาย ชูพันธ์ เหลียวรักวงศ์ 0.12 %
7. นาง กาญจนา ภัทรกิจธรรม 0.05 %
8. นาย สมนึก ใช้สมบุญ 0.05 %
9. นาย โด้ง สุตาภิรัตน์ 0.05 %
10. นาง วิชชุลดา เทย์เลอร์ 0.05 %
บริษัท เครือไทย โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน)
จึงเป็นเรื่องใหญ่ที่สะเทือนไปทั้งปฐพี ขนาดบริษัทของเจ้าสัวยังไปไม่ไหว แล้วเจ้าอื่นจะไหวหรือไม่
"แม้อาคเนย์ประกันภัย ได้ยื่นคำขอเลิกประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยผ่านสำนักงาน คปภ.แล้ว แต่คณะกรรมการ คปภ. ยังไม่ได้อนุญาต ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก โดยยืนยันว่าตอนนี้อาคเนย์ประกันภัย ยังไม่สามารถปิดหรือหยุดประกอบกิจการได้จนกว่าจะได้รับอนุญาตให้เลิกกิจการ" จากคณะกรรมการ คปภ.
ต้นตอปัญหามาจากบริษัทอาคเนย์ประกันภัยขายกรมธรรม์"เจอ จ่าย จบ" โควิด คนที่พิจารณาความเสี่ยงว่าสามารถขายได้หรือไม่คือ คปภ. เมื่อคนไปขอเคลมประกันเยอะ บริษัทก็มีปัญหา ในความเป็นจริงแล้วบริษัทสามารถยกเลิกเงื่อนไขสิทธิ์ในกรมธรรม์นั้นได้
คำสั่งนายทะเบียนที่ 38 / 2564
ให้ยกเลิกเงื่อนไขการใช้สิทธิบอกเลิกกรมธรรม์ประกันภัยโดยบธิษัทสำหรับกรมธรรม์ประกันภัย COVID-19 ที่บริษัทได้รับความเห็นชอบจากนายทะเบียน และกรมธรรม์ประกันภัย COVID-19 ที่บริษัทได้ออกให้แก่ผู้เอาประกันภัยก่อนวันที่ 16 กรกฎาคม 2564 และยังคงมีผลใช้บังคับ เว้นแต่ปรากฎหลักฐานชัดเจนต่อบริษัทว่าผู้เอาประกันภัยได้กระทำการทุจริตหรือฉ้อฉลประกันภัยเพื่อให้ตนเองหรือผู้อื่นได้รับประโยชน์จากการประกันภัย ซึ่งหมายความว่ากรมธรรม์ประกันภัยโควิดที่ยังไม่หมดอายุจะได้รับความคุ้มครอง
เพราะเงื่อนไขนี้เงื่อนไขเดียวทำให้บริษัทอาคเนย์ประกันภัยฟ้องเลขาธิการ คปภ. และเป็นคดีความอยู่ที่ศาล แต่ตอนนี้ปรากฏการณ์เจ้าสัวปิดบริษัทประกันกำลังทำให้ธุรกิจประกันทั้งหมดสั่นสะเทือน
ที่มา เนชั่นอินไซต์ โอ-บากบั่น บุญเลิศ , วี-วีระศักดิ์ พงศ์อักษรร