svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

ใช้คลื่น FM สะกดรอยดาวเทียมนับพันกันชน

ออสเตรเลียหันมาพัฒนาการใช้คลื่นวิทยุ FM เพื่อสะกดรอยดาวเทียมนับพันดวงที่โคจรอยู่เหนือออสเตรเลียด้วยเทคโนโลยีเรดาร์สำรวจอวกาศที่พลิกตำราเดิมๆเพราะใช้พลังงานแสงอาทิตย์เป็นหลักถือเป็นครั้งแรกของโลก และสามารถสะกดรอยชิ้นส่วนในอวกาศที่อยู่ไกลถึง 1 หมื่นกิโลเมตร

ระบบใหม่นี้ไม่ต้องมีจานดาวเทียมหรือกล้องโทรทัศน์ หน้าตาของหอสังเกตการณ์อวกาศแห่งนี้จึงไม่เหมือนที่ใดในโลก
ดร.เจมส์ ปาล์มเมอร์ ผู้บริหารของ Silentium Defense Oculus Observatory กล่าวว่าขณะนี้เรากำลังเห็นการสัญจรในอวกาศที่หนาแน่นเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ  สิ่งที่ทางหอสังเกตุการณ์กำลังทำกับเซ็นเซอร์แบบนี้ก็เพื่อให้เข้าใจว่ากำลังเกิดอะไรขึ้นในอวกาศ และให้เราสามารถบริหารจัดการได้พูดอีกอย่างหนึ่งก็คือมันเหมือนกล้องจราจรที่จับภาพวัตถุที่อยู่ห่างออกไปถึง 1 หมื่นกิโลเมตรและป้องกันการชนกันในอวกาศได้

ศาสตราจารย์เมริสซา เดอ ซวาร์ท ผู้เชี่ยวชาญด้านกฏหมายอวกาศแห่งมหาวิทยาลัยฟลินเดอร์ส กล่าวว่าอันตรายของการชนกันในอวกาศนั้นถือว่าร้ายแรงซึ่งจะมีผลกระทบตามมาด้วยอย่างเช่นการชนกันในอวกาศเมื่อปี 2009 ที่ยังส่งผลถึงปัจจุบันเพราะยังมีชิ้นส่วนล่องลอยอยู่ในอวกาศหรือโคจรอยู่รอบโลกอีกนับพันชิ้น

ใช้คลื่น FM สะกดรอยดาวเทียมนับพันกันชน

 

ใช้คลื่น FM สะกดรอยดาวเทียมนับพันกันชน

 

เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2009 เมื่อดาวเทียมสื่อสาร 2 ดวง ดวงหนึ่งคือ "อิริเดียม 33" ของสหรัฐและอีกดวงหนึ่งคือ "คอสมอส 2251 "ซึ่งเป็นดาวเทียมปลดระวางแล้วของกองทัพรัสเซียชนกันขณะเคลื่อนด้วยความเร็วประมาณ 42,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ในระดับความสูง 789 กิโลเมตรหรือคาบสมุทรไซบีเรีย  ถือเป็นครั้งแรกที่มีการชนกันในความเร็วสูงมาก และหลังจากก็เกิดเหตุการณ์ดาวเทียมชนกับชิ้นส่วนที่ล่องลอยอยู่ในอวกาศอีกหลายครั้ง

หอสังเกตการณ์แห่งนี้จะช่วยแจ้งหน่วยงานระดับสูงสุดของรัฐบาลเช่นเดียวกับคนที่อยู่ในอุตสาหกรรมอวกาศโดยไม่ต้องกังวลว่าไฟฟ้าจะดับเนื่องจากใช้พลังงานจากดวงอาทิตย์นั่นเอง

หอสังเกตการณ์โอคูลัส (Oculus observatory) อยู่ห่างจากเมืองเอดิเลดของออสเตรเลียประมาณ 120 กิโลเมตร ถือเป็นจุดที่เหมาะที่สุดทั้งในยามสว่างและยามมืดเหนือท้องฟ้าของออสเตรเลีย มีสิ่งอำนวยความสะดวกพร้อมสรรพรวมถึงบุคลากรที่เชี่ยวชาญ

ใช้คลื่น FM สะกดรอยดาวเทียมนับพันกันชน