svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"ตรีนุช" ชี้ ปิดโรงเรียน ไม่ใช่มาตรการหลักสู้โอมิครอน

น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.กระทรวงศึกษาธิการ กล่าวภายหลังงานเสวนา “โอมิครอนร้ายจริงหรือ? ถึงต้องปิดโรงเรียน” ชี้ตอนนี้สถานการณ์ไม่เหมือนช่วงแรกที่มีการระบาดหนัก ทำให้ต้องปิดเรียนแบบ 100 เปอร์เซ็น โดยปัจจุบัน เราเรียนรู้ที่จะอยู่กับโควิด-19

10 มกราคม 2565 น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.กระทรวงศึกษาธิการ ได้กล่าวเปิดเสวนา “โอมิครอนร้ายจริงหรือ? ถึงต้องปิดโรงเรียน” จัดโดยกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อรวบรวมความคิดเห็นประเมินสถานการณ์โดยหน่วยงานหลัก ผู้เชี่ยวชาญต่างๆ ถ่ายทอดสดผ่าน obec channel ว่า เกือบ 2 ปี ที่ต้องผจญโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ซึ่งเป็นความท้าทายคนทั้งโลก การศึกษาถือว่าอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงที่ผันผวน

 

อย่างไรก็ตาม จากก่อนหน้านี้ที่ต้องปิดโรงเรียน 100 เปอร์เซ็นต์เต็ม ด้วยเป็นโรคใหม่ แต่ตอนนี้ภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนไป จะมีโอกาสเข้าถึงการศึกษาอย่างไร ทำอย่างไรให้เด็กเช้าถึงการศึกษาได้ วัคซีนครูจึงเป็นสิ่งแรกที่ดำเนินการตั้งแต่ เม.ย.ปีที่ผ่านมา และ ต.ค.เป็นต้นมา นายกฯ มีความเป็นห่วง ให้เร่งฉีดไฟเซอร์ในกลุ่ม 12-18 ปี กว่า 5 ล้านคน พบ 90 กว่าเปอร์เซ็นต์ประสงค์จะฉีด ซึ่งปัจจุบันฉีดได้กว่า 94 เปอร์เซ็นต์แล้ว ส่วนครูเข็มแรกฉีดได้แล้ว 99% ส่วนเข็มที่สองคิดเป็น 78%

 

ทั้งนี้ ศธ.ได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุขมาตลอด เบื้องต้นเด็ก-ครูมีวัคซีนแล้ว แต่ถึงแม้จะมีวัคซีนแล้ว แต่สำคัญสุดโควิดติดต่อง่าย มาตรการต่างๆ จึงจำเป็นและสำคัญมาก

 

\"ตรีนุช\" ชี้ ปิดโรงเรียน ไม่ใช่มาตรการหลักสู้โอมิครอน

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า ปัจจุบันต้องมีคำตอบว่า จากที่โรงเรียนเปิดไปแล้วกว่า 18,000 แห่ง แต่ ม.ค.65 มีเชื้อมาใหม่มีความกังวล แพร่ง่าย จึงได้ให้ผู้ทรงคุณวฒิจากกระทรวงสาธารณสุข ทำความเข้าใจกับผู้ปกครอง ผู้บริหาร ได้เข้าใจถึงสถานการณ์ ปรับเปลี่ยนจัดการเรียนสอนได้ ภายใต้สถานการณ์ที่ยังระบาด จากก่อนหน้ามีปิดล็อกดาวน์ทั่วประเทศ ทำให้เด็กเสียกระบวนการเรียนรู้ พื้นที่ห่างไกลเข้าไม่ถึง จึงได้จัดปรับการเรียนสการสอนหลายรูปแบบให้เข้าถึง

 

อย่างไรก็ตาม พบว่าการเรียนรู้ที่ดีที่สุดคือ การได้กลับมาเรียนทีโรงเรียน ได้ลดเครียด ณ วันนี้จึงมีมาตรการว่าการปิดโรงเรียนไม่ใช่มาตรการหลัก จึงได้ ให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดแต่ละพื้นที่ประเมินเป็นรายตำบล อำเภอ บางที่จังหวัดแพร่ระบาด ที่อื่นในพื้นที่อาจไม่ระบาด ยังเปิดได้ ให้มีการประเมิน ขณะรร.ขนาดใหญ่พบมีการเปิดสลับวันกันมาเรียน ลดแออัด ซึ่งศธ.ให้ผู้ตรวจฯลงพื้นที่ เข้มงวด

 

\"ตรีนุช\" ชี้ ปิดโรงเรียน ไม่ใช่มาตรการหลักสู้โอมิครอน

พร้อมมีมาตรการแผนเชิญเหตุ หากการแพร่ระบาดเกิดขึ้นทำอย่างไรให้รวดเร็ว เพื่อไม่ให้เด็กขาดโอกาส ทำอย่างไรที่จะจัดการเรียนรู้ภายใต้ความปลอดภัย ทั้งนี้ ต้องขอบคุณกระทรวงสาธารณสุข ผู้ทรงคุณวุฒิต่างๆ ที่ให้ความรู้แนวทางว่าการเปิดการเรียนภายใต้สถานการณ์โอไมครอน ส่วนการจัดสรรวัคซีนสำหรับเด็ก 5-11 ปี ศธ.ได้เร่งสำรวจ ให้ฉีดวัคซีน โดยกำลังทำข้อมูลให้เด็กเข้าถึงวัคซีนได้เร็วที่สุด เพื่อได้กลับเข้ามาสู่การเรียนการสอนโดยไม่ขาดตอน