“ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์” (Phuket Sandbox) โครงการนำร่องก่อนการเปิดประเทศ ถือเป็นความหวังที่ประเทศไทยจะเดินหน้า “เปิดประเทศ” รับนักท่องเที่ยวต่างชาติอีกครั้ง ต่อลมหายใจให้กับเศรษฐกิจไทย โดยนำร่องที่ “ภูเก็ต” วันที่ 1 ก.ค. 64 เป็นวันเเรก ส่วนจังหวัดอื่น ๆ จะทยอยเปิดรับนักท่องเที่ยวเมื่อพร้อม ภายใน 120 วัน
ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ กำหนดเงื่อนไขไว้ดังนี้
นอกจากนี้ หากเดินทางเข้าประเทศด้วยบัตรโดยสารเที่ยวเดียว หรือมีบัตรโดยสารที่ไม่ระบุวันเดินทางกลับ จะต้องแสดงเอกสารยืนยันการชำระค่าที่พักไม่น้อยกว่า 14 คืน ในกรณีที่ต้องการพำนักใน จ.ภูเก็ต ไม่ถึง 14 วัน จะต้องมีบัตรโดยสารเที่ยวบินขาออก เมื่อครบกำหนดพำนักจะต้องเดินทางออกจากประเทศไทย
เดินหน้าเปิดประเทศใน 120 วัน
เมื่อวันที่ 1 ก.ค. 64 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ภูเก็ต ประเดิมเปิดประตูบานแรกรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ พร้อมประกาศเป็นวาระแห่งชาติ มั่นใจวางระบบเข้มงวดควบคุมการระบาดเชื้อโควิด-19 ภายใต้การท่องเที่ยววิถีใหม่ ก่อนจะขยายไปยังพื้นที่ศักยภาพอื่น ๆ จนทั่วประเทศตามเป้าหมาย 120 วัน
วันแรกของ ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ มี 5 เที่ยวบินจากต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาจังหวัดภูเก็ต โดยเที่ยวบินปฐมฤกษ์ สายการบินเอทิฮัด เส้นทาง “อาบูดาบี-ภูเก็ต” นำผู้โดยสาร 25 คน สู่ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ระบุว่า การจองห้องพักตั้งแต่ 1-15 ก.ค. จำนวน 13,116 คืน เฉลี่ยการเข้าพักอยู่ที่ 11.9 คืน ประมาณการณ์นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ภายใต้โครงการ ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ จำนวน 100,000 คน ในไตรมาส 3 (เดือนก.ค. - ก.ย. 64) คาดว่าจะสร้างรายได้อยู่ที่ 8,900 ล้านบาท
ขณะที่นักท่องเที่ยวชาวไทยคาดว่าจะเดินทางมาภูเก็ตจากการเปิดภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ในช่วงเดียวกันประมาณ 548,600 คน สร้างรายได้ประมาณ 5,510 ล้านบาท
“สมุยพลัส” เปิด 3 เกาะ เชื่อมโยง “ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์”
รัฐบาลเดินหน้าต่อยอด “ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์” ด้วยโครงการ “สมุยพลัส แซนด์บ็อกซ์” (Samui Plus Sandbox) หรือ “สมุย ซีล รูทส์” (Samui Sealed Routes) เริ่มวันที่ 15 ก.ค. 64 โดย เกาะสมุย, เกาะพะงัน และเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นพื้นที่ที่เปิดให้นักเดินทางจากต่างประเทศที่ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบโดสแล้วเดินทางเข้า โดยต้องพักบนเกาะอย่างน้อย 7 คืนหากต้องการเดินทางไปยังจังหวัดอื่น
สำหรับ เงื่อนไขและกฎเกณฑ์ของ “สมุยพลัสแซนด์บ็อกซ์” มีดังนี้
วันที่มาถึงประเทศไทย
วันที่ 1-7 ที่เดินทางมาถึงประเทศไทย
วันที่ 6-7 ที่เดินทางมาถึงประเทศไทย
วันที่ 8 ที่เดินทางมาถึงประเทศไทย นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ตามเงื่อนไข
สำหรับ การเปิด “สมุยพลัสแซนด์บ็อกซ์” ในวันแรกมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางเข้ามา 9 คน ทั้งหมดเป็นสื่อมวลชนจากต่างประเทศ ซึ่งสาเหตุที่ผู้โดยสารยังน้อย ถูกมองว่ามีข้อจำกัดเยอะ ก่อนที่แนวโน้มการเดินทางเข้าโครงการดีขึ้นในเดือนสิงหาคม 64
7+7 ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ 3 จังหวัดรับอานิสงส์
มติที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 หรือ ศบค. เมื่อ 16 ส.ค. 64 ขยายพื้นที่ ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ให้นักท่องเที่ยวต่างชาติเดินทางท่องเที่ยวเชื่อมโยงระหว่าง จ.ภูเก็ต สร้างจุดขายให้ ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ พร้อมเป็นแรงขับเคลื่อนการเปิดการท่องเที่ยวใน 3 จังหวัด โดยพื้นที่นำร่องอื่น (7+7) ประกอบด้วย
เงื่อนไขของโครงการ 7+7 ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ นักท่องเที่ยวต้องจองโรงแรมล่วงหน้า ตั้งแต่การยื่นขอ CEO (Certificate of Entry) เข้ามาประเทศ อยู่ภูเก็ต 7 วัน และพื้นที่นำร่องได้อีก 7 วัน โดยต้องเลือกพื้นที่นำร่องในจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง ไม่สามารถเที่ยวข้ามจังหวัดได้ เมื่ออยู่ครบ 14 วันก็เดินทางไปเที่ยวไหนในไทยก็ได้
ส่วนกรณีที่อยู่พื้นที่นำร่องไม่ถึง 7 วัน สามารถเดินทางเข้ามาได้ ใน 2 รูปแบบ คือ
3 เดือนพื้นที่แซนด์บ็อกซ์ เงินสะพัด 2.3 พันล้านบ.
หลังเปิดพื้นที่ แซนด์บ็อกซ์ 3 โครงการ คือ ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์, สมุยพลัสแซนด์บ็อกซ์ และ 7+7ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ ยอดนักท่องเที่ยวสะสมภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ 3 เดือน (1 ก.ค.-30 ก.ย.64) รวมทั้งสิ้น 38,699 คน พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 จากการคัดกรอง คิดเป็น 0.3% ของนักท่องเที่ยวทั้งหมด
ขณะที่จำนวนการจองที่พัก SHA+ สำหรับการเข้าพักระหว่างเดือน กรกฎาคม 2564-กุมภาพันธ์ 2565 อยู่ที่ 716,898 คืน
ส่วน โครงการสมุยพลัส และโครงการส่วนขยายของ 7+7ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์ มีจำนวนนักท่องเที่ยวสะสม ทั้งสิ้น 907 คน และ 399 คน ตามลำดับ
เมื่อพิจารณามูลค่าทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นกับการดำเนินโครงการทั้งหมด สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า 2,330 ล้านบาท โดยแยกเป็น
"โอมิครอน" ระบาดหนัก พับแผนเข้าประเทศ แบบไม่ต้องกักตัว
ประเทศไทย “เปิดประเทศ” 1 พ.ย. 64 ต้อนรับนักท่องเที่ยวประเทศความเสี่ยงต่ำ สามารถเดินทางเข้าประเทศไทยโดยไม่กักตัว 46 ประเทศและพื้นที่ โดยเปิดรับนักท่องเที่ยวแบบ Test & Go ด้วยการใช้รูปแบบ “Thailand Pass” แทนระบบ COE (Certificate of Entry) ลดเงื่อนไขการกักตัว เพื่อลดขั้นตอนด้านเอกสาร อำนวยความสะดวกในการเดินทาง
Thailand Pass ลงทะเบียนออนไลน์ก่อนเดินทางเข้าไทย และรอการอนุมัติเป็นเวลา 1-3 วัน ซึ่งขึ้นอยู่กับการพิจารณาเอกสารรับรองการฉีดวัคซีน สามารถเดินทางท่องเที่ยวได้ทันทีหลังจากการรอผลตรวจหาเชื้อโควิด-19 แบบ RT-PCR ในโรงแรมที่กำหนดไม่ต่ำกว่า 1 คืน โดยต้องอยู่ในประเทศที่ได้รับอนุญาตไม่ต่ำกว่า 21 วัน
แต่ภายหลังจากการ “เปิดประเทศ” เกิดการระบาดของ โควิดสายพันธุ์ B.1.1.529 (Omicron) หรือ “โอมิครอน” ที่มีการแพร่เชื้อได้รวดเร็ว และพบมีจำนวนผู้ติดเชื้อโควิดที่เดินทางเข้าไทยจากระบบ Test & Go เดือนพฤศจิกายน 83 ราย และธันวาคม 227 ราย ทำให้ต้องมีการปรับมาตรการป้องกันให้เข้มขึ้นยิ่งขึ้น
มติที่ประชุม ศบค.เฉพาะกิจ เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 64 มีมติปรับมาตรการเข้าประเทศ ตั้งแต่วันที่ 21 ธ.ค. 64 - 4 ม.ค. 2565 ดังนี้..
เห็นได้ชัดว่า มาตรการ “แซนด์บ็อกซ์” ทั้ง 3 โครงการ ก่อนหน้าการเปิดประเทศ สามารถควบคุมและสกัดการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ได้เป็นอย่างดี การปรับเปลี่ยนจาก Test & Go กลับมาใช้เงื่อนไขที่เข้มข้นขึ้นของ “แซนด์บ็อกซ์” น่าจะเป็นทางเลือกที่เหมาะสม ในการฟื้นเศรษกิจไทยอย่างมั่นคง ป้องกันผลกระทบการแพร่ระบาดของ โควิด-19 ที่เคยเกิดในอดีต!!