24 พฤศจิกายน 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ซึ่งเป็นเฟซบุ๊กส่วนตัวของ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความ โควิด-19 ยังต้องอยู่กับเราอีกนาน
หมอยง ได้อธิบายเพิ่มเติมในโพสต์ดังกล่าวว่า เดิมเมื่อมีการระบาดใหม่ๆ เรามีความพยายามที่จะกวาดล้างให้ได้เหมือนกับโรค SARS ที่ระบาดในปี 2003 แต่แล้วก็ไม่สามารถที่จะกำจัดได้ โรคได้ระบาดไปทั่วโลก pandemic
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง >> "หมอยง" เผย สาเหตุที่บริษัทผู้ผลิตวัคซีนไม่ขายให้เอกชนโดยตรง
ต่อมาได้มีการคิดถึงภูมิคุ้มกันหมู่เพื่อจะยุติการระบาดของโรค แนวคิดการเร่งสร้างภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนจึงเป็นทางออก ให้ประชากรส่วนใหญ่มีภูมิต้านทาน เพื่อปกป้องประชากรส่วนน้อยที่ไม่มีภูมิต้านทาน โดยคาดการณ์ตามอํานาจการกระจายโรค อยู่ที่ 2-3 ก็จะใช้ภูมิต้านทานหมู่ประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ ก็น่าจะยุติบรรเทาลงได้ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมเป็นสายพันธุ์เดลต้า การแพร่กระจายของโรคได้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการระบาดรอบใหม่เกิดขึ้น
ปัจจุบันเรารู้แล้วว่า วัคซีนป้องกันความรุนแรงของโรค ลดการป่วยตาย ลดการนอนโรงพยาบาลให้ระบบสาธารณสุขคงอยู่ได้ ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ ความหวังภูมิคุ้มกันหมู่ จึงไม่สามารถที่จะให้โรคสงบลงได้
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง >> "หมอยง" อธิบายชัด เหตุใดถึงไม่ใช้ "วัคซีนพ่นจมูก" ในไทย
จากบทเรียนของไข้หวัดใหญ่ วัคซีนก็ไม่สามารถที่จะป้องกันการติดเชื้อได้ สามารถป้องกันกลุ่มเสี่ยงลดการป่วยตาย และการระบาดเป็นฤดูกาล สายพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลง จึงต้องมีการเฝ้าระวังสายพันธุ์ คัดเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสม นำมาพัฒนาวัคซีนประจำปี ไม่ว่าจะเป็น ซีกโลกเหนือหรือซีกโลกใต้ องค์การอนามัยโลกจะเป็นคนกำหนด
Covid 19 vaccine เมื่อเริ่มต้นพัฒนา เห็นหนทางสดใสมาก เพราะมีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพมากกว่าร้อยละ 90 ในการลดการป่วยแบบมีอาการ ซึ่งสูงกว่าไข้หวัดใหญ่มาก ไข้หวัดใหญ่มีประสิทธิภาพเพียง 50% และบางปีอาจจะน้อยกว่าด้วยซ้ำ แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง >> "หมอยง" เผย สาเหตุที่บริษัทผู้ผลิตวัคซีนไม่ขายให้เอกชนโดยตรง
ประสิทธิภาพในการป้องกันดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วง 2-3 เดือนแรกเท่านั้น เมื่อนานขึ้นภูมิต้านทานลดลง ไวรัสเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ ทำให้ประสิทธิภาพลดลงอย่างมาก เพียงแค่ 6 เดือนเท่านั้น ก็เห็นได้ชัดว่าการป้องกันโรคลดลง จึงมีความพยายามที่จะให้มีการกระตุ้น ให้ภูมิต้านทานขึ้นสูงและอยู่นาน
ในปัจจุบันทราบแล้วว่าภูมิต้านทานที่สร้างขึ้นจากวัคซีนส่วนใหญ่ จะเป็นเพียงส่วนต่อหนามแหลม ของตัวไวรัส และภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากวัคซีนสู้ภูมิต้านทานที่เกิดจากการติดเชื้อไม่ได้ ถ้ามีการติดเชื้อ แล้วกระตุ้นด้วยวัคซีน ประสิทธิภาพในการป้องกันจะสูงกว่าภูมิต้านทานจากวัคซีนอย่างเดียว
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง >> "หมอยง" สรุปให้ 20 ข้อควรรู้ เกี่ยวกับวัคซีนโควิด
ตรรกะนี้น่าสนใจ ถ้าจำลองให้เกิดการติดเชื้อแบบไม่มีอาการ หรือการใช้วัคซีนให้คล้ายกับการติดเชื้อมากที่สุด แล้วกระตุ้นด้วยวัคซีนที่มีอยู่ ก็จะได้ประโยชน์สูงสุด ฝรั่งเศสเอง (Valneva) กำลังพัฒนาวัคซีนเชื้อตาย ที่ให้มีประสิทธิภาพสูง โดยการใส่สารช่วยกระตุ้นภูมิต้านทาน ถึง 2 ชนิด คือ Alum เช่นเดียวกับวัคซีนของจีน และเพิ่ม CpG เข้าไปอีก 1 ตัว เพื่อจะจำลองให้คล้ายกับการติดเชื้อมากที่สุด ผลการศึกษา ทำให้หลายประเทศโดยเฉพาะในยุโรป ตั้งความหวังไว้มาก มีการจองวัคซีนของฝรั่งเศสไว้เป็นจำนวนมาก
จากข้อมูลทั้งหมดแต่เห็นว่า ถ้าต้องการลดการป่วยตาย ทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงจะต้องได้รับวัคซีนทั้งหมด จะหวังรอภูมิคุ้มกันหมู่ไม่ได้ ประเทศไทยจะต้องฉีดวัคซีนให้มากที่สุด เป้าหมายกระทรวงสาธารณสุข ภายในวันที่ 5 ธันวาคมนี้ จะต้องฉีดวัคซีนให้ครบ 100 ล้านโดส