จากความเชื่อว่า พระพรหมเป็นผู้สร้าง ผู้ลิขิตความเป็นไปของทุกสรรพสิ่งในโลก หากใครที่อธิษฐานและบูชาพระพรหมด้วยจิตใจที่บริสุทธิ์ เชื่อว่าจะได้รับพร ให้สมหวังในสิ่งที่มุ่งหวังไว้ และเนื่องจากพระพรหมมี 4 พักตร์ จึงต้องบูชาพระพรหมให้ครบทั้ง 4 พักตร์ 4 ทิศ การไหว้ให้ครบทุกพักตร์จะเป็นการได้รับพรครบทุกประการ การสวดบูชาพระพรหม จำเป็นต้องสวดบูชาพระพิฆเนศก่อนทุกครั้ง ซึ่งเป็นกฎการไหว้เทพของศาสนาพราหมณ์ทุกนิกาย
การสักการะบูชาพระพรหม เนื่องจากท่านมี 4 พักตร์ ดังนั้นการจะบูชาท่านต้องบูชาให้ครบทั้ง 4 ทิศ คือด้านการงาน ด้านการเงิน ด้านความรัก และด้านภาพรวม จึงจะได้รับพรครบทุกประการ
แจงวิธีไหว้ขอพรท้าวมหาพรหม
เริ่มจากการไหว้พระพรหมจากพักตร์แรก แล้วเวียนขวามือของเรา หรือ พระหัตถ์ซ้ายของพระพรหม จนถึงพักต์สุดท้าย แต่ละพักตร์จะแตกต่างกันดังนี้
วันนี้มีข้อแนะนำดีๆ มาฝากกัน
ในการขอพร ให้ขอพรเฉพาะเจาะจงตามเรื่องนั้นๆในแต่ละพักตร์ แต่การไหว้ขอพรที่ถูกต้อง คือ ไหว้ให้ถูกพักตร์ และ ควรไหว้ให้ครบทุกพักตร์ แต่สำหรับใครที่ต้องการถวายของไหว้แก่พระพรหม มีดังนี้ 1.กำยานและธูป ใช้ได้ทุกกลิ่น 2.ผลไม้แนะนำเป็นกล้วย มะพร้าว สาลี่ ชมพู่ 3.ดอกไม้กลิ่นหอมอ่อน ๆ เช่น ดอกมะลิ ดอกบัว ทั้งนี้ ของต้องห้ามถวาย คือ เนื้อสัตว์ทุกชนิด
คาถาบูชาพระพรหม
โอมปะระเมสะนะมัสการัม องการะนิสสะวะ รัง
พรหมเรสสะยัม ภูปัสสะวะวิษณุ ไวยะทานะโมโทติลูกปัม
ทะระมา ยิกยานัง ยะไวยะลา คะมุลัม
สะทา นันตะระ วิมุสะตินัน
นะมัตเต นะมัตเตร จะ อะการัง ตโถวาจะ
เอตามาตาระยัต ตะมัน ตะรามา
กัตถะนารัมลา จะสะระวะ ปะติตัม
สัมโภพะกลโล ทิวะทิยัม มะตัมยะ
..
นายบุญเพิ่ม อินทนปสาธน์ นายกสมาคมการค้าส่งเสริมการจัดมหกรรมและเทศกาลนานาชาติไทย (TIEFA) กล่าวว่า วันที่ 9 พ.ย.นี้ จะเป็นครบรอบวันก่อตั้ง “พระพรหมเอราวัณ” ที่ศาลท้าวมหาพรหม โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ บริเวณหัวมุมสี่แยกราชประสงค์ ซึ่งเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางยอดนิยมของนักท่องเที่ยวและนักธุรกิจทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวจีน ฮ่องกง ไต้หวัน และสิงคโปร์ โดยทางมูลนิธิทุนท่านท้าวมหาพรหมโรงแรมเอราวัณได้แจ้งเวลาสักการะขอพรที่ขลังที่สุดของวันดังกล่าวว่าตรงกับเวลา 06.00-08.00 น.
นอกจากนี้ ทางสมาคมฯ ได้ร่วมกับ สมาคมผู้ประกอบวิสาหกิจในย่านราชประสงค์ (RSTA) และสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (ทีเส็บ) จัดงาน “เทศกาลราชประสงค์ 8 องค์เทพ” นำเทคโนโลยี Virtual Reality (VR) ที่สามารถสักการะองค์เทพทั้ง 8 องค์ในย่านราชประสงค์ได้เสมือนจริงทุกมุมแบบ 360 องศา ตลอด 24 ชั่วโมง ตอบโจทย์นักท่องเที่ยวและผู้ศรัทธาที่ยังเดินทางมาไม่ได้ ผ่าน www.bkkdowntown.com และสามารถถ่ายภาพเป็นที่ระลึกได้ เสมือนได้มาอยู่ในพื้นที่จริง
...
ศาลท่านท้าวมหาพรหม โรงแรมเอราวัณ เป็นศาลศาสนาฮินดูตั้งอยู่หน้าโรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ บริเวณสี่แยกราชประสงค์ ถนนราชดำริ แขวงลุมพินี เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นที่เคารพนับถือจากทั้งชาวไทยและต่างประเทศ โดยมีการจัดคณะทัวร์จากต่างประเทศเพื่อเข้ามาสักการะท้าวมหาพรหมโดยเฉพาะ เมื่อวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ เกิดเหตุชายคนหนึ่งใช้ค้อนทุบทำลายศาลดังกล่าวและถูกทุบตีจนเสียชีวิตโดยผู้เห็นเหตุการณ์
(หลวงสุวิชานแพทย์)
เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๔ พลตำรวจเอกเผ่า ศรียานนท์ กำหนดให้มีการก่อสร้างโรงแรมเอราวัณ ขึ้นบริเวณสี่แยกราชประสงค์ เพื่อรองรับแขกต่างประเทศ ว่ากันว่าในช่วงแรกของการก่อสร้างเกิดอุบัติเหตุขึ้นมากมาย เมื่อการก่อสร้างใกล้แล้วเสร็จ ปลายปี พ.ศ. ๒๔๙๙ ทาง บริษัท สหโรงแรมไทยและการท่องเที่ยว จำกัด ผู้บริหารโรงแรมได้ติดต่อ พลเรือตรีหลวงสุวิชานแพทย์ ร.น. นายแพทย์ใหญ่ กองทัพเรือ ผู้ทรงคุณวุฒิในเรื่องการนั่งทางใน เข้าดำเนินการหาฤกษ์วันเปิดโรงแรม
พลเรือตรีหลวงสุวิชานแพทย์ได้ท้วงติงว่า ในการก่อสร้างโรงแรมไม่ได้มีการทำพิธีบอกกล่าวสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในบริเวณนั้นก่อน ฤกษ์ในการวางศิลาฤกษ์ของโรงแรมก็ไม่ถูกต้อง อีกทั้งชื่อของโรงแรม "เอราวัณ" นั้น เป็นชื่อของช้างทรงของพระอินทร์ ถือเป็นชื่อที่ศักดิ์สิทธิ์ จำเป็นต้องมีการบวงสรวงที่เหมาะสม วิธีการแก้ไขจะต้องขอพรจากพระพรหมเพื่อช่วยให้อุปสรรคหมดไป และจะต้องสร้างศาลพระพรหมขึ้นทันทีหลังจากการก่อสร้างโรงแรมแล้วเสร็จ และสร้างศาลพระภูมิขึ้นไว้ในโรงแรม
จึงได้มีการตั้งศาลพระพรหม ออกแบบตัวศาลโดยนายระวี ชมเสรี และ ม.ล.ปุ่ม มาลากุล องค์ท้าวมหาพรหมปั้นด้วยปูนพลาสเตอร์ปิดทอง ออกแบบและปั้นโดยนายจิตร พิมพ์โกวิท ช่างกองหัตถศิลป์ กรมศิลปากร และอัญเชิญพระพรหมมาประดิษฐานที่หน้าโรงแรมเอราวัณเมื่อวันที่ ๙ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๙ ตามแผนงานครั้งแรก องค์ท้าวมหาพรหมจะเป็นโลหะหล่อสีทอง แต่เนื่องจากระยะเวลาจำกัดด้วยฤกษ์การเปิดโรงแรม จึงได้เปลี่ยนวัสดุเป็นปูนปั้นปิดทองแทน ศาลท่านท้าวมหาพรหม โรงแรมเอราวัณ ถือเป็นศาลพระพรหมศาลแรกที่มีขนาดใหญ่ ในเวลาต่อมาเมื่อมีการสร้างศาลพระพรหมไว้บูชาในอาคารหรือสถานที่ขนาดใหญ่ จะยึดแบบการสร้างจากศาลท้าวมหาพรหมที่โรงแรมเอราวัณ เนื่องจากความเชื่อว่าจะช่วยปัดเป่าความขัดข้อง อุปสรรค และส่งเสริมโชคและความสำเร็จ
ปัจจุบัน ศาลท่านท้าวมหาพรหม โรงแรมเอราวัณ อยู่ในความดูแลของ "มูลนิธิทุนท่านท้าวมหาพรหม" ด้วยเหตุที่ท่านท้าวมหาพรหมถูกชายที่ไม่สมประกอบทุบในวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๙ ซึ่งทำให้ตัวองค์แตก ดังนั้นจึงมีกำหนดการที่จะบูรณะพระองค์ขึ้นมาใหม่ พร้อมกับสร้างองค์ใหม่ด้วย แล้วเสร็จในปลายเดือนพฤษภาคม ปีเดียวกัน
แท้ที่จริงแล้ว องค์พระพรหมองค์นี้มีนามว่า “ท้าวมหาพรหมเกศโร” หรือ “ท่านพ่อเกศโร” ซึ่งก็คือ “สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว” น้องชายแท้ๆ ของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๔ ที่มีดวงพระชาตาแรงกล้ายิ่งนัก ทั้งเก่งเรื่องคาถาอาคมตลอดจนวิทยาการแบบตะวันตก ที่มานั้นสืบเนื่องจากตอนประกอบพิธีเชิญดวงพระวิญญาณ ผู้เชิญในยุคนั้นคือคุณหลวงสุวิชาญท่านมีความสามารถในการติดต่อโลกทิพย์มีหูทิพย์ตาทิพย์เป็นที่เลื่องลือยิ่งนัก ท่านได้ติดต่ออาราธนาบารมีแห่งสมเด็จพระปิ่นเกล้าหรือท่านพ่อเกศโรมหาพรหม ให้แผ่บารมีสถิตย์ดับอาถรรพ์นำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่สถานที่แห่งนี้พร้อมทั้งผู้สักการะบูชา
สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเลื่องลือในวิทยาคมมาตั้งแต่เป็น “เจ้าฟ้าจุฑามณี” ร่ำลือกันต่างๆนาๆว่า ล่องหนหายตัวบ้าง เดินบนน้ำบ้างและอีกสารพัด ผู้ชำนาญในวิทยาคมย่อมแก่กล้าในด้านสมถะภาวนา เรื่องสมาธิฌานนั้นย่อมไม่ใช่เรื่องเหนือความสามารถ คุณหลวงสุวิชาญผู้มีหูทิพย์ตาทิพย์ในยุคนั้น ได้ติดต่อกับดวงพระวิญญาณของสมเด็จพระปิ่นเกล้า จึงทราบว่าพระองค์ขึ้นไปอุบัติเป็น “ท้าวมหาพรหมเกศโร” มีเดชศักดายิ่งนัก เมื่อคราวโรงแรมเอราวัณประสบอาถรรพ์จึงสร้างพระพรหมแล้วเชิญบารมีท่านพ่อเกศโรมาดับอาถรรพ์ (เชื่อว่าพื้นที่ ที่สร้างโรงแรมเป็น พื้นที่ต้องคำสาป ถือเป็นจุดกำเนิดของแยกมหาเทพ ซึ่งมีการสร้างเทพองค์อื่นๆตามมาในกาลต่อมา)
ในยุคนั้นคุณหลวงสุวิชาญยังได้มาสร้างพระบวรนุเสาวรีย์สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวที่หน้าโรงละครแห่งชาติในปัจจุบันด้วยแล้วเชิญพระบารมีแห่งท่านพ่อเกศโรมหาพรหมลงสถิตย์เป็นมิ่งขวัญสิริมงคล
พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า เจ้าฟ้าจุฑามณี เป็นที่รู้จักกันในพระนามว่า ทูลกระหม่อมฟ้าน้อย เป็นพระราชบุตรลำดับที่ ๕๐ หรือ พระราชกุมารพระองค์ที่ ๒๗ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และเป็นพระราชโอรสลำดับที่ ๓ ที่ประสูติแต่สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
พระองค์พระราชสมภพเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๑๐ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีมะโรง ตรงกับวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๑ ณ พระราชวังเดิม คลองบางกอกใหญ่ อันเป็นที่ประทับของสมเด็จพระราชบิดา ซึ่งในครั้งนั้นเรียกว่า พระบวรราชวังใหม่ อันเนื่องมาจากในขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยดำรงพระอิสริยยศที่กรมพระราชวังบวรสถานมงคล โดยมีคุณหญิงนก (ไม่ทราบสกุล) เป็นพระพี่เลี้ยง พระองค์มีพระเชษฐาร่วมพระราชมารดา รวมทั้งสิ้น ๓ พระองค์ ได้แก่ สมเด็จเจ้าฟ้าชาย (สิ้นพระชนม์เมื่อประสูติ) สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฏ (ภายหลังได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) และสมเด็จเจ้าฟ้าจุฑามณี
หลังจากพระราชพิธีบรมราชาภิเษกแล้ว ๑๐ ปี พระองค์ก็เริ่มทรงพระประชวรบ่อยครั้ง หาสมุฏฐานของพระโรคไม่ได้ เสด็จสวรรคตเมื่อวันอาทิตย์ เดือน ๒ แรม ๖ ค่ำ เวลาเช้าย่ำรุ่ง ตรงกับ วันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๐๘ พระชนมพรรษา ๕๘ พรรษา ทรงอยู่ในบวรราชสมบัติทั้งสิ้น ๑๕ ปี
ขอขอบคุณที่มาข้อมูลจาก: หนังสือบารมีพระพรหม