svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

สธ.เฝ้าระวัง ลิ่มเลือดอุดตัน-เกร็ดเลือดต่ำ หลังฉีดวัคซีน แม้พบในไทยน้อย

11 กันยายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

อธิบดีกรมควบคุมโรค เผยขณะนี้เฝ้าระวังผู้ที่มีอาการภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับเกล็ดเลือดต่ำ และกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หลังการฉีดวัคซีน หลังพบผู้ป่วยที่มีอาการข้างเคียงเหล่านี้ในประเทศไทย แม้จะมีจำนวนไม่มาก แนะผู้ที่มีอาการหลังฉีดวัคซีนควรรีบพบแพทย์

11 กันยายน 2564 นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค เปิดเผยว่า การฉีดวัคซีน เป็นมาตรการที่สำคัญที่สามารถควบคุมสถานการณ์การระบาดของ โควิด-19 ได้ ในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา มีการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นจำนวน 758,503 โดส ทำให้ยอดฉีดสะสม 39,631,862 โดส

 

การฉีดวัคซีนได้เน้นเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัย โดยซิโนแวคมีการวัดประสิทธิผลลดการป่วยหนักหรือเสียชีวิตได้ถึง 90.5% สำหรับสายพันธุ์ G และเมื่อเชื้อมีการกลายพันธุ์ประสิทธิผลจึงลดลง เป็นธรรมชาติของเชื้อที่กลายพันธุ์

 

ส่วนการทำให้วัคซีนมีประสิทธิภาพมากขึ้นคือการเปลี่ยนสูตร เป็นการฉีดไขว้  เช่น ซิโนแวคเข็มแรก และแอสตร้าเซนเนก้าเข็มสอง ข้อดีคือภูมิคุ้มกันสูงขึ้นพอๆกับการฉีด แอสตร้าเซเนก้ากับแอสตร้าเซเนก้า และสามารถต่อสู้กับสายพันธุ์เดลตาได้ดียิ่งขึ้น

 

สธ.เฝ้าระวัง ลิ่มเลือดอุดตัน-เกร็ดเลือดต่ำ หลังฉีดวัคซีน แม้พบในไทยน้อย

นอกจากนี้ อธิบดีกรมควบคุมโรค ยังเปิดเผยอีกว่า ระยะหลังที่มีการฉีดวัคซีนไปแล้วกว่า 40 ล้านโดส และปลายเดือนกันยายนนี้จะสามารถฉีดวัคซีนได้จำนวน 45 ล้านโดส สิ่งที่ตามมาคือผลข้างเคียงจากการได้รับวัคซีน ขณะนี้มีวัคซีนที่ฉีดในประเทศไทยอยู่ 4 ชนิด คือ ซิโนแวค, แอสตร้าเซนเนก้า, ซิโนฟาร์ม และไฟเซอร์ 

 

ทั้งนี้วัคซีนที่ฉีดมากสุดคือ แอสตร้าเซนเนก้า รองมาเป็นซิโนแวค ซิโนฟาร์ม และสุดท้ายไฟเซอร์ ผลข้างเคียงมีการรายงานทุกชนิด โดยพบอาการรุนแรงจากการฉีดซิโนแวค 24 ราย แต่ได้รักษาหายแล้วทุกราย โดย แอสตร้าเซเนก้า มีอาการแพ้รุนแรง 6 ราย และขณะนี้ได้หายเป็นปกติแล้ว 

 

สธ.เฝ้าระวัง ลิ่มเลือดอุดตัน-เกร็ดเลือดต่ำ หลังฉีดวัคซีน แม้พบในไทยน้อย

ส่วนกรณีอาการของ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ร่วมกับ เกล็ดเลือดต่ำ หลังได้รับแอสตร้าเซเนก้า ในแถบเอเชียค่อนข้างพบน้อย พบเพียง 5 ราย ส่วนซิโนฟาร์มที่พบอุบัติการณ์ 4.46 ต่อแสนโดส แต่ยังต้องดูในรายละเอียดเพิ่มเติม

 

ส่วนไฟเซอร์ ทางอเมริกาหรือยุโรปพบกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหลังฉีดวัคซีน ส่วนในประเทศไทยพบเพียง 1 ราย มีอาการไม่รุนแรงและขณะนี้หายเป็นปกติ

 

สธ.เฝ้าระวัง ลิ่มเลือดอุดตัน-เกร็ดเลือดต่ำ หลังฉีดวัคซีน แม้พบในไทยน้อย

อย่างไรก็ตามขอยกตัวอย่างรายที่เสียชีวิตจากการได้รับวัคซีน ซึ่งตามหลักการแล้วผู้ที่ได้รับวัคซีนจะมีการติดตามอาการ 1 เดือน หรือ 4 สัปดาห์ หากเกิดมีอาการผิดปกติหรือเสียชีวิตจะต้องมีการพิสูจน์ว่า เสียชีวิตจากการฉีดวัคซีนหรือไม่?

 

จากการรวบรวมข้อมูลจากการฉีดวัคซีนไปแล้ว 40 ล้านคน ผู้เสียชีวิตจากการฉีดวัคซีน 628 ราย คณะผู้เชี่ยวชาญฯได้รับพิจารณาแล้ว 416 ราย พบว่า ส่วนใหญ่ไม่เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีน เป็นเหตุการณ์ร่วมจากภาวะโรคอื่น 249 ราย ส่วน 32 รายยังไม่สามารถระบุได้ ส่วนที่ สรุปได้ว่า มีส่วนเกี่ยวข้องกับวัคซีนมี 1 ราย เป็นภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับเกล็ดเลือดต่ำ

สธ.เฝ้าระวัง ลิ่มเลือดอุดตัน-เกร็ดเลือดต่ำ หลังฉีดวัคซีน แม้พบในไทยน้อย

ส่วนอาการ ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ร่วมกับ เกล็ดเลือดต่ำ หรือ Vaccine-induced Immune Thrombotic Thrombocytopenia (VITT) เป็นกลุ่มโรคใหม่ที่นิยามขึ้นมา เกิดได้จากการฉีดวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า จะพบมากในต่างประเทศ โรคนี้เป็นโรคที่สามารถรักษาหายได้

 

คณะผู้เชี่ยวชาญฯบอกว่า โรคนี้เกิดได้แต่น้อยมาก หลังฉีดวัคซีนแล้วถ้ามีอาการปวดศรีษะ แขนขาอ่อนแรง ให้รีบไปพบแพทย์ วัคซีนยังถือว่ามีความปลอดภัยมากกว่าถ้าเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีน

 

ขณะที่ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หลังการฉีดวัคซีน โดยเฉพาะวัคซีน mRNA ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย รวมถึงเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 และความชุกของกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบอยู่ที่ 10ราย ต่อแสนราย ในประเทศไทยพบ 2 คนต่อแสนคน

 

อุบัติการณ์จะพบในวัคซีนไฟเซอร์และโมเดอน่า ส่วนวัคซีนอื่นๆพบได้แต่ไม่บ่อย ประเทศไทยฉีดไป 8 แสนกว่าคน พบเพียง 1 คน เป็นเพศชาย อาการไม่รุนแรง รักษาหายเป็นปกติ คำแนะนำ ฉีดวัคซีนไปแล้ว 4-30วัน และมีอาการเจ็บหน้าอกให้ไปพบแพทย์เพื่อแจ้งอาการต่อไป

 

logoline