svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

9กันยายนครบรอบ1ปีแนวร่วมธรรมศาสตร์ฯประกาศชุมนุม

09 กันยายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

วันที่ 9 กันยายน แนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม ได้แถลงรายละเอียดหน้าตึกโดม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ นัดชุมนุมใหญ่ในวันที่ 19 กันยายน 2563 วันครบรอบ 14 ปี ของการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 

วันที่ 9 กันยายน 2564 เหตุการณ์สำคัญทางการเมือง เมื่อ 1 ปีที่ผ่านมา คือ 9 กันยายน 2563 นายพริษฐ์ ชีวารักษ์ หรือเพนกวิ้น น.ส.ปนัสยา สิทธิจิรวัฒนกุล หรือรุ้ง สองแกนนำสหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย (สนท.) และ นายภาณุพงศ์ จาดนอก หรือไมค์ พร้อมแนวร่วมธรรมศาสตร์และการชุมนุม แถลงแนวทางการชุมนุมใหญ่ 19 กันยายนนี้ ในชื่อ “19 กันยา ทวงอำนาจคืนราษฎร” ซึ่งจะจัดตั้งแต่เวลา 14.00 น.เป็นต้นไป

 

จะมีการเดินขบวนไปยื่นข้อเรียกร้องแก่พลเอกประยุทธ์ที่ทำเนียบรัฐบาลในวันรุ่งขึ้น โดยคาดว่าจะใช้พื้นที่ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์หรือท้องสนามหลวงเป็นที่ชุมนุม

19 กันยายน 2563 เป็นวันครบรอบ 14 ปี ของการรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 

 

รัฐประหารในประเทศไทย 2549 เกิดในคืนวันที่ 19 กันยายน 2549 โดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ซึ่งมีพลเอก สนธิ บุญยรัตกลินเป็นหัวหน้าคณะ โค่นรักษาการนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร นับเป็นรัฐประหารในรอบ 15 ปี 

 

รัฐประหารครั้งนี้เกิดขึ้นก่อนการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปในเดือนต่อมา หลังจากการเลือกตั้งทั่วไปที่มีกำหนดจัดในเดือนเมษายนถูกสั่งให้เป็นโมฆะ นับเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในวิกฤตการณ์ทางการเมืองที่ดำเนินมานับแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2548 คณะรัฐประหารยกเลิกการเลือกตั้งซึ่งกำหนดจัดในเดือนตุลาคม ยกเลิกรัฐธรรมนูญ สั่งยุบรัฐสภา สั่งห้ามการประท้วงและกิจกรรมทางการเมือง ยับยั้งและตรวจพิจารณาสื่อ ประกาศใช้กฎอัยการศึก และจับกุมสมาชิกคณะรัฐมนตรีหลายคน

พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน แถลงสาเหตุเมื่อวันที่ 21 กันยายน และให้คำมั่นว่าจะฟื้นฟูรัฐบาลระบอบประชาธิปไตยภายในหนึ่งปี อย่างไรก็ตาม คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขประกาศว่า หลังจากการเลือกตั้งและการตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยแล้ว คณะปฏิรูปการปกครองจะเปลี่ยนไปอยู่ในรูปแบบของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ ซึ่งยังไม่มีการอธิบายบทบาทที่มีต่อการเมืองไทยในอนาคต

 

หลังรัฐประหาร คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขได้จัดตั้งรัฐบาลชั่วคราว พระบาทสมเด็จพระชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมานถบพิตร มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้แต่งตั้งพลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์เป็นนายกรัฐมนตรี ในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ต่อมาวันที่ 26 มกราคม พ.ศ.2550 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ประกาศเลิกใช้กฎอัยการศึกใน 41 จังหวัด แต่ยังคงไว้ 35 จังหวัด

 

รัฐประหารดังกล่าวไม่มีการเสียเลือดเนื้อและไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บ ปฏิกิริยาตอบรับจากนานาชาติมีตั้งแต่การวิพากษ์วิจารณ์ในหลายประเทศ เช่น ออสเตรเลีย การแสดงความความเป็นกลาง เช่น สาธารณรัฐประชาชนจีน ไปจนการแสดงความผิดหวังอย่างสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือว่าประเทศไทยเป็นพันธมิตรนอกนาโต และว่า รัฐประหาร "ไม่มีเหตุผลยอมรับได้"

logoline