svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ภูมิภาค

เช็ก! อ่างเก็บน้ำ รับฝนตกหนัก ป้องกันโคราชน้ำท่วม

05 กันยายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กอนช. เร่งรับมือฝนตกหนัก ปลายเดือน ก.ย. - ต.ค. เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำ ที่ไหนบ้าง เสี่ยงเกินรับมือ ป้องกันโคราชน้ำท่วมซ้ำ

5 กันยายน 2564  นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) มอบหมายให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติลงพื้นที่ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานตาม 10 มาตรการรับมือฤดูฝน ปี 2564 ในพื้นที่ลุ่มน้ำมูล จ.นครราชสีมา เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดน้ำท่วมซ้ำเหมือนปีที่ผ่านมา

 

จากการติดตามสถานการณ์น้ำในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ จังหวัดนครราชสีมานับตั้งแต่วันที่ วันที่ 4 ก.ย. 2564 พบว่า

 

1.อ่างเก็บน้ำลำตะคองมีปริมาณน้ำ 213 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 68

 

2.อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิงมีปริมาณน้ำ 100 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 64

 

3.อ่างเก็บน้ำมูลบนมีปริมาณน้ำ 99 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 70

 

4.อ่างเก็บน้ำลำแซะมีปริมาณน้ำ 164 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 60

เช็ก! อ่างเก็บน้ำ รับฝนตกหนัก ป้องกันโคราชน้ำท่วม  

การคาดการณ์เดือน ก.ย.-พ.ย. 2564 จะมีอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำเกินเกณฑ์ควบคุม จำนวน 3 แห่ง ได้แก่

 

1.เขื่อนลำพระเพลิง

2.เขื่อนลำตะคอง

3.เขื่อนมูลบน จ.นครราชสีมา

 

พบว่ามีปริมาณน้ำค่อนข้างสูง และต้องระบายน้ำออก เนื่องจากระยะนี้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีแนวโน้มฝนตกหนักในช่วงปลายเดือน ก.ย. ต่อเนื่อง ต.ค.ที่หน่วยงานในพื้นที่ต้องให้ความสำคัญ ติดตาม และวางแผนการบริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำต่างๆ อย่างใกล้ชิด เครื่องจักรเครื่องมือต้องพร้อมใช้งาน รวมถึงการแจ้งเตือนสถานการณ์น้ำ เพื่อสร้างการรับรู้เชิงพื้นที่ ตั้งแต่ระดับท้องถิ่น อำเภอ จังหวัด โดยเฉพาะการบูรณาการการบริหารจัดการภัยพิบัติที่ช่วยลดความเสียหายที่เกิดจากน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

แนวทางรับมือสถานการณ์น้ำ จ.นครราชสีมา ต้องทำอย่างไร

 

1.ปรับปรุงเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำ ในเขื่อนเพื่อป้องกันน้ำท่วมท้ายเขื่อน

 

2.ระบายน้ำเก็บยังแก้มลิง /ลำน้ำธรรมชาติ

 

สำหรับแนวทางการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ จ.นครราชสีมา พบว่า ทางจังหวัดได้มีแผนรับมือรองรับสถานการณ์ โดยตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์กรณีอุทกภัย ซึ่ง กอนช.จะมีการเชื่อมโยงข้อมูลการคาดการณ์แนวโน้มปริมาณฝน น้ำในแหล่งน้ำ ผ่านศูนย์ข้อมูลทรัพยากรน้ำจังหวัดนครราชสีมา เพื่อเป็นชุดข้อมูลให้หน่วยงานในพื้นที่ใช้ในการตัดสินใจในการวางแผนจัดการมวลน้ำก่อนเกิดผลกระทบ และขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตาม 10 มาตรการอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะเขื่อนที่มีแนวโน้มปริมาณน้ำเกินเกณฑ์ควบคุม

 

“ขอให้ปรับปรุงเกณฑ์การบริหารจัดการน้ำในเขื่อน เพื่อรองรับฤดูฝนนี้ เพื่อป้องกันผลกระทบน้ำท่วมพื้นที่ท้ายเขื่อน วางแผนนำน้ำไปเก็บกักไว้ในแก้มลิง และลำน้ำธรรมชาติครอบคลุมพื้นที่ 3,000 ไร่ ประกอบกับเสริมศักยภาพของเขื่อนให้สามารถรองรับน้ำในช่วงฤดูฝนนี้ได้ เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ในช่วงต้นฤดูแล้ง ปี 2564/65 ได้ต่อไป”

 

เช็ก! อ่างเก็บน้ำ รับฝนตกหนัก ป้องกันโคราชน้ำท่วม

 

นอกจากนี้ได้ ให้กรมชลประทานบริหารจัดการน้ำในเขื่อนสำคัญในพื้นที่ลุ่มน้ำมูล 2 แห่ง ได้แก่ เขื่อนลำพระเพลิงและเขื่อนลำตะคอง ซึ่งปัจจุบันมีปริมาณน้ำประมาณ 60% ของความจุ และมีแนวโน้มปริมาณน้ำไหลอ่างฯ มากขึ้นต่อเนื่อง

 

ดังนั้น ต้องมีการประเมินฝนรวมถึงพายุที่อาจจะเกิดขึ้นด้วยเช่นกัน หากจะมีการพร่องน้ำเพื่อรองรับปริมาณฝนที่อาจจะตกลงมาเพิ่มเติมจะต้องแจ้งให้ทางจังหวัดรับทราบล่วงหน้า และมีแผนการระบายน้ำที่กำหนดช่วงเวลาชัดเจนเพื่อป้องกันผลกระทบพื้นที่ท้ายน้ำ

 

เช็ก! อ่างเก็บน้ำ รับฝนตกหนัก ป้องกันโคราชน้ำท่วม

เช็ก! อ่างเก็บน้ำ รับฝนตกหนัก ป้องกันโคราชน้ำท่วม

logoline