svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

จ่ายหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำ 5% ต่อลมหายใจลูกหนี้ ช่วงโควิด

20 สิงหาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

โควิด-19 สร้างบาดแผลเศรษฐกิจ กระทบต่อรายได้ และการจ้างงานทั้งประเทศ หายไปกว่า 1.9 ล้านล้านบาท ธปท. จึงคงอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำ สำหรับบัตรเครดิตที่ร้อยละ 5 ถึงสิ้นปี 2565 พร้อมขยายเพดานวงเงินกู้ สำหรับผู้มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท เป็น 2 เท่าของรายได้

20 สิงหาคม 2564 นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยถึง สถานการณ์การกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยรุนแรงขึ้น การฟื้นตัวจะช้าออกไปและไม่เท่าเทียมกันในแต่ละภาคเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคบริการและการท่องเที่ยวที่ได้รับผลกระทบหนัก รายได้และการจ้างงานที่ลดลงส่งผลซ้ำเติมฐานะการเงินที่เปราะบางของธุรกิจและครัวเรือน

 

เพื่อให้มาตรการทางการเงินช่วยบรรเทาผลกระทบได้มากขึ้นในระหว่างที่ต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหาด้านสาธารณสุข ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน (กนส.) จึงมีมติอนุมัติมาตรการเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้เพิ่มเติม

 

จ่ายหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำ 5% ต่อลมหายใจลูกหนี้ ช่วงโควิด

 

รักษาสภาพคล่องและเติมเงินใหม่ให้กับลูกหนี้ SMEs และรายย่อย เพื่อให้สามารถหล่อเลี้ยงธุรกิจและเพียงพอต่อการดำรงชีวิต อนุมัติสินเชื่อฟื้นฟูไปแล้ว 92,316 ล้านบาท และคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมายร่วมระหว่าง ธปท. กับสถาบันการเงินที่ 1 แสนล้านบาทได้ก่อนเดือน ตุลาคม 2564 โดยสินเชื่อกระจายตัวได้ดีและครอบคลุมลูกหนี้จำนวน 30,194 ราย

 

จ่ายหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำ 5% ต่อลมหายใจลูกหนี้ ช่วงโควิด

 

ในส่วนของบัตรเครดิต สินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับ และสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล เพิ่มสภาพคล่องให้กับลูกหนี้ที่มีความสามารถในการชำระหนี้เป็นการชั่วคราว โดยคงอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำ สำหรับบัตรเครดิตที่ 5 % จนถึงสิ้นปี 2565 จากเดิม มีกำหนดทยอยปรับขึ้นอัตราผ่อนชำระขั้นต่ำเป็นร้อยละ 8 และร้อยละ 10 พร้อมทั้งขยายเพดานวงเงินกู้ สำหรับผู้มีรายได้ไม่เกิน 30,000 บาท จากเดิม 1.5 เท่า เป็น 2 เท่าของรายได้ โดยไม่จำกัดผู้ให้สินเชื่อ

 

เช่นเดียวกับสินเชื่อส่วนบุคคลดิจิทัล ที่มักพบบนแพลตฟอร์มจำหน่ายสินค้าออนไลน์ ซึ่งให้วงเงินสินเชื่อ โดยพิจารณาจากยอดซื้อ-ขายนั้น สามารถขยายเพดานวงเงินกู้ จากเดิม รายละไม่เกิน 20,000 บาท เป็น 40,000 บาท รวมทั้ง ขยายระยะเวลาชำระหนี้ จากเดิม 6 เดือน เป็น 12 เดือน

 

การผ่อนปรนเกณฑ์ดังกล่าว จะช่วยเพิ่มการเข้าถึงสินเชื่อในระบบและลดความจำเป็นของลูกหนี้ที่อาจถูกผลักไปใช้สินเชื่อนอกระบบในระยะต่อไป

การแก้ไขหนี้เดิมให้เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบันและช่วยเหลือลูกหนี้ได้จริง

สำหรับลูกหนี้รายย่อย และ SMEs ที่เข้าสู่กระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้แล้ว ได้จนถึง 31 มีนาคม 2565 เพื่อเอื้อให้สถาบันการเงินและลูกหนี้มีเวลาเพียงพอในการพิจารณาปรับปรุงโครงสร้างหนี้ได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิผลในระยะยาว

 

นอกจากนี้ ธปท.ยังเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี พิจารณาขยายระยะเวลาปรับลดวงเงิน ที่สถาบันการเงิน ต้องนำส่งเงินเข้า กองทุน FIDF เหลือร้อยละ 0.23 จากร้อยละ 0.46 ต่อปี ที่จะสิ้นสุดสิ้นปี 2564 นี้ ออกไปจนถึงสิ้นปี 2565 เพื่อให้สถาบันการเงินสามารถส่งผ่านต้นทุนที่ลดลงไปในการบรรเทาผลกระทบต่อภาคธุรกิจและประชาชนได้อย่างต่อเนื่องภายใต้สถานการณ์ COVID-19 ที่ยังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อเศรษฐกิจในวงกว้าง

 

จ่ายหนี้บัตรเครดิตขั้นต่ำ 5% ต่อลมหายใจลูกหนี้ ช่วงโควิด

 

พร้อมเสนอออก พ.ร.ก.สินเชื่อฟื้นฟู ระยะ 2 ซึ่งคาดว่ากระทรวงการคลังน่าจะเสนอคณะรัฐมนตรี ต้นเดือนหน้า หลังประเมินว่าวงเงินสินเชื่อฟื้นฟู หรือ ซอฟต์โลน 100,000 ล้านบาท อาจหมดเร็วกว่าที่คาดไว้ จากปัจจุบัน อนุมัติไปแล้วกว่า 92,000 ล้านบาท

 

การขับเคลื่อนให้มาตรการสามารถช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบได้จริง และรวดเร็วทันสถานการณ์เป็นหัวใจสำคัญ

ที่ผ่านมา ธปท. ได้หารือกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างต่อเนื่อง ทั้งเร่งผลักดันให้สถาบันการเงินมีแนวทางดูแลลูกหนี้ที่ชัดเจนและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อระบบเศรษฐกิจการเงินของประเทศในภาพรวม

 

ข้อมูลจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย

logoline