svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เจาะประเด็นร้อน

เทียบคดีเขากระโดง คดีอัลไพน์ มีสิทธิ์ถึงคุก

ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย อ้างมติ ป.ป.ช. และคำพิพากษาศาลฎีกา ขอให้กรมที่ดิน เพิกถอนโฉนดที่ดินเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ ที่ออกโดยมิชอบ ทับที่การรถไฟ หากกรมที่ดิน จะไม่ดำเนินการตามคำขอ กรณีเช่นนี้มีคดีสนามกอล์ฟอัลไพน์ เป็นบรรทัดฐาน

30 กรกฎาคม 2564 ตามที่ปรากฏว่า เมื่อวันที่ 23 มิ.ย.64 นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ รฟท. มีหนังสือที่ รฟ 1/1911/2564 ลงวันที่ 23 มิ.ย.2564 ให้กรมที่ดิน พิจารณาดำเนินการเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ที่ออกทับที่ดินของการรถไฟฯ ในพื้นที่บริเวณเขากระโดง อ.เมืองบุรีรัมย์ จ.บุรีรัมย์ เนื้อที่ประมาณ 5,083 ไร่ 

การรถไฟฯ ยังขอให้อธิบดีกรมที่ดิน แจ้งผลการพิจารณาให้ รฟท.ทราบภายใน 90 วัน แต่หากพ้นกำหนดระยะเวลาดังกล่าว รฟท.จะใช้สิทธิดำเนินคดีกับผู้บุกรุกทางศาลต่อไป

โดยรฟท. มีพื้นที่ 3 จุด คือ จุดแรก ที่ดินทางแยกเขากระโดง กม.000 ถึง กม.8+000 เนื้อที่ประมาณ 5,000 ไร่ เป็นทรัพย์สินของ รฟท. ตามพ.ร.ฎ.การกำหนดเขตสร้างทางรถไฟหลวงต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี พ.ศ.2462 และพ.ร.ฎ.ว่าด้วยการจัดซื้อที่ดินแลอสังหาริมทรัพย์อย่างอื่นเพื่อสร้างทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ พ.ศ.2464

สอง โฉนดที่ดินเลขที่ 3466 มีนายช. เป็นผู้ขอออก และโฉนดเลขที่ 8564 นาง ก ถือกรรมสิทธิ์ ตั้งอยู่ตำบลอิสาณ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ ที่ออกทับที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทย เนื้อที่รวม 44 ไร่เศษ  

ที่ดินทั้ง 2 แปลงนี้ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ มีหนังสือที่ ปช.๐๐๑๘/๑๐๘๕ แจ้งมติป.ป.ช. ถึงผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เรื่องให้ดำเนินการกับผู้บุกรุกที่ดินของรัฐ ตามผลการไต่สวนเรื่องกล่าวหาเลขที่ดำที่ 51910034 เรื่องกล่าวหา เลขที่แดงที่ 14959054  

และสาม ที่ดินในแผนที่แสดงแนวเขตที่ดินของกรมรถไฟแผ่นดิน สายนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ตอนแยกที่ย่อยศิลา ต.เขากระโดง จ.บุรีรัมย์ กิโลเมตรที่ 375-650 ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพ.ร.ฎ.กำหนดเขตร์สร้างทางรถไฟต่อจากนครราชสีมาถึงอุบลราชธานี ลงวันที่ 8 พ.ย.2462 ตามคำพิพากษาศาลฎีกา ที่พิพากษาในคดีหมายเลขแดง 842-876/2560 และคดีหมายเลขแดงที่ 8027/2563 โดยที่ดินทั้ง 2 คดี ซึ่งมีเนื้อที่รวม 194 ไร่ เป็นของการรถไฟฯ

เทียบคดีเขากระโดง คดีอัลไพน์ มีสิทธิ์ถึงคุก เทียบคดีเขากระโดง คดีอัลไพน์ มีสิทธิ์ถึงคุก
 

เทียบคดีเขากระโดง คดีอัลไพน์ มีสิทธิ์ถึงคุก

เทียบคดีเขากระโดง คดีอัลไพน์ มีสิทธิ์ถึงคุก

คำพิพากษาศาลฎีกา ให้ผู้ว่าการรถไฟ ดําเนินการบังคับคดีและเรียกค่าเสียหายกับผู้บุกรุก ที่ดินของการรถไฟ ตามคำพพิพากษาศาลฎีกา ฐานทําให้การรถไฟซึ่งเป็นหน่วยงานรัฐได้รับความเสียหายอย่างยิ่ง

สำหรับกรณีที่ดินการรถไฟเขากระโดง นั้น มีคดีตัวอย่างการไม่ปฏิบัติตามข้อกฎหมายหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่ คือ คดีที่ป.ป.ช. ยื่นฟ้องนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ อดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทยและอดีตรมว.มหาดไทย ต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติชอบกลาง 

คดีศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ มีคำพิพากษายืนให้จำคุกเป็นเวลา 2 ปี ส่วนหนึ่งของคำพิพากษา ระบุว่า

"จำเลย พิจารณาอุทธรณ์ และมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของอธิบดีกรมที่ดิน ซึ่งให้ยกเลิกโฉนดที่ดินที่จดทะเบียนในนาม 'สนามกอล์ฟอัลไพน์' อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ซึ่งเป็นธรณีสงฆ์จากการที่นางเนื่อม ชำนาญชาติศักดา ที่ถึงแก่ความตายแล้วได้ทำพินัยกรรมยกที่ดิน 2 แปลงดังกล่าว ให้แก่วัดธรรมิการามวรวิหาร จำเลยออกคำสั่งโดยมิชอบ โดยจงใจละเลยข้อเท็จจริงต่างๆ 

และยังจงใจตีความกฎหมายให้ผิดเพี้ยนไปจากความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ก.พ.2482 ที่ระบุให้กระทรวงถือปฏิบัติตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา ดังนั้นคำสั่งของนายยงยุทธ จึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยไม่ชอบ ถือเป็นการแสวงหาประโยชน์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแก่ผู้อื่น และก่อให้เกิดความเสียหายแก่วัดธรรมิการามวรวิหาร ทั้งยังทำลายศรัทธาของผู้ที่เลื่อมใสในพระพุทธศาสนา จึงมีความผิดตามฟ้องให้จำคุก 2 ปีโดยไม่รอการลงโทษ 

คดีนี้ศาลฎีกา มีคำสั่ง ไม่อนุญาตให้ฎีกา นายยงยุทธ จึงต้องติดคุก 2 ปีตามคำพิพากษา แม้ต่อมาจะได้รับการลดหย่อนโทษและสวมกำลังEM คุมประพฤติ
 

เทียบคดีเขากระโดง คดีอัลไพน์ มีสิทธิ์ถึงคุก

คดีสนามกอล์ฟอัลไพน์ เป็นกรณีไม่ปฏิบัติตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกฤษฎา และเหตุไม่ปฏิบัติตามความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา ถือว่าทำหน้าที่โดยทุจริต

สาเหตุที่มติคณะรัฐมนตรี ปี 2482 กำหนดว่าคณะกรรมการกฤษฎีกา ในฐานะที่ปรึกษาด้านกฎหมายของรัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ เมื่อคณะรัฐมนตรีจะพิจารณาสิ่งใด และส่งเรื่องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาวินิจฉัย ให้ถือว่าคณะรัฐมนตรีต้องปฏิบัติตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วย
 
เนื่องจากคณะรัฐมนตรี ไม่ต้องการให้การทำงาน หรือการออกคำสั่งใด ๆ ของรัฐบาล เป็นความเห็นที่ไม่มีอะไรรองรับ หรือไม่มีบรรทัดฐาน ขณะที่คณะกรรมการกฤษฎีกา เชื่อได้ว่าเป็นผู้ทรงความรู้ และเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย เชื่อว่าความเห็นต่าง ๆ น่าจะถูกต้อง มิได้เป็นความเห็นลอย ๆ แต่มีผลบังคับผูกพันกับทุกหน่วยงานของรัฐ หากไม่ปฏิบัติตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้ว ถือว่าขัดต่อมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว จึงอาจผิดวินัย และมีผลในการบริหารราชการแผ่นดินได้

ดังนั้น กรณีที่ดินการรถไฟเขากระโดง จ.บุรีรัมย์ กรณีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หรือมท.1 และอธิบดีกรมที่ดิน ไม่สั่งเพิกถอนโฉนด ซึ่งมีทั้งมติป.ป.ช. และมีคำพิพากษาศาลฎีกา สำทับอีก จึงเข้าข่ายฝ่าฝืนคำสั่งป.ป.ช ที่สั่งไห้ขับไล่ผู้บุกรุก รื้อถอนสิ่งก่อสร้าง และเพิกถอนเอกสารสิทธิโฉนดที่ดินฯ และคำพิพากษาศาลฎีกา ที่พิพากษาที่ดินทั้งหมด 5,083 ไร่ 80 ตารางวา เป็นที่รถไฟฯ ตามมาตรา 61 กรณีคำพิพากษาถึงที่สุด กรมที่ดิน ต้องเพิกถอนทันที่ที่ได้รับสำเนาคำพิพากษา โดยไม่ต้องตั้งคณะกรรมการฯ ใดๆ อีก

ด้วยประการฉะนี้ อาจจะมีผู้หยิบยกเรื่องนี้เข้าสู่กระบวนการศาล หรือหากพ้น 90 วันตามหนังสือผู้ว่าการการรถไฟ ลงวันที่ 23 มิ.ย.64 มท.1 และกรมที่ดิน ยังไม่เพิกถอนโฉนด ทั้ง 2 แปลง อาจจะลงเอยแบบเดียวกับคดีอัลไพน์ ก็เป็นได้