(23 กันยายน 2563) น.ส.ศิริภา อินทวิเชียร ผู้ช่วยเลขานุการประธานสภาผู้เเทนราษฎร ได้ออกมาให้ความเห็นต่อการเข้ายื่นเสนอร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนของกลุ่มโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือ iLaw ต่อนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา เมื่อวันที่ 22 ก.ย. ว่า กระบวนการในการส่งมอบนั้นเป็นไปไปด้วยความเรียบร้อย และเป็นเรื่องที่น่ายินดี สำหรับภาคประชาชนในการรวมชื่อ เพื่อขับเคลื่อนการแก้ไขบทบัญญัติทางกฎหมายตามช่องทางที่ได้ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ 2560
ทั้งนี้ แต่กระบวนการในการตรวจสอบเอกสาร อาจต้องใช้เวลาเพื่อความถูกต้องครบถ้วน เหมาะสมในการยื่นเสนอเข้าไปเป็นญัตติเพื่อให้ฝ่ายนิติบัญญัติกระทำการพิจารณาอย่างลึกซึ้ง ดังนั้น ความต้องการของกลุ่ม iLaw และคณะ ที่ต้องการให้บรรจุร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เข้าไปร่วมญัตติในการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับของพรรคร่วมรัฐบาล 1 ฉบับ และพรรคร่วมฝ่ายค้าน 5 ฉบับ ในวันที่ 23-24 ก.ย.นี้ หรือภายในระยะเวลากว่า 10 ชั่วโมง นับจากช่วงเวลาที่ยื่นร่าง จึงเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ไม่ง่ายนัก
อย่างไรก็ตาม เพราะหลักสำหรับกระบวนการทำงานของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งทำหน้าที่ในการพิจารณากลั่นกรองกฎหมายอันสำคัญมากมายนั้น จำเป็นต้องตั้งอยู่ในกรอบของระบบที่โปร่งใส เป็นระเบียบ และละเอียดถี่ถ้วน เพื่อให้ทุกกระบวนการของฝ่ายนิติบัญญัติ เต็มไปด้วยความบริสุทธิ์ และมีประสิทธิภาพ ปราศจากข้อครหาใดๆ ในการจะทำให้ความศักดิ์สิทธิ์ของหน่วยงานที่มีหน้าที่ในการพิจารณากฎหมายต้องถูกบั่นทอน
นอกจากนี้ ที่สำคัญเชื่อว่าด้วยความที่ประธานรัฐสภาของนายชวน หลีกภัย เคยให้สัมภาษณ์เอาไว้เกี่ยวกับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญของกลุ่ม iLaw ว่า "ส่วนตัวอยากให้พิจารณาพร้อมกันคราวเดียวในวันที่ 23-24 ก.ย.นี้ แต่ประเมินแล้วไม่สามารถทำได้ เพราะยื่นเรื่องมาล่าช้าเกินไป เนื่องจากสภาฯ ต้องมีกระบวนการตรวจสอบอย่างละเอียดเพื่อไม่ให้มีความผิดพลาด"
ขณะเดียวกัน ด้วยกลไกโดยปกติทั่วไปของสภาฯ แม้จะไม่ได้เข้าร่วมพิจารณาในวันที่ 23-24 ก.ย.นี้ แต่น่าจะได้รับการบรรจุญัตติเพื่อเข้าไปสู่การพิจารณาทันทีเท่าที่ระบบทำได้ และจะเป็นการพิจารณาจากสมาชิกรัฐสภาในมาตรฐานเดียวกันกับวันที่ 23-24 ก.ย. อย่างแน่นอน
น.ส.ศิริภากล่าวด้วยว่าส่วนตัวมองว่าประธานรัฐสภาพยายามขับเคลื่อนกลไกนิติบัญญัติ ให้กลายเป็นทางออกหนึ่งของความขัดแย้งในบ้านเมือง ณ ตอนนี้ และการแก้ไขรัฐธรรมนูญ น่าจะเป็นจุดสร้างความละมุนละไมทางการเมืองต่อกัน สำหรับทุกฝ่าย ซึ่งความตั้งใจตรงนี้ ที่จะเป็นคำยืนยันอย่างดีว่า ทุกๆ ข้อเสนอในการพาบ้านเมืองออกจากปัญหา
ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการประชุมสองสภาฯ ตามมาตรา 165 หรือการตั้งคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญรับฟังความคิดเห็นของนักเรียน นิสิต นักศึกษา เยาวชน และประชาชน หรือการอภิปรายโดยไม่ลงมติของฝ่ายค้าน รวมไปถึงการเปิดสภาฯ พิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งหมดนี้ ประธานรัฐสภาก็ได้ใช้อำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติ ดำเนินการอย่างเหมาะสมตามกระบวนการ และข้อบังคับที่ควรปฏิบัติมาโดยตลอด เพื่อพาทุกคนไปสู่ทางออกของปัญหา
นอกจากนี้ ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า สมาชิกรัฐสภาต่างก็ให้ความมั่นใจ ในการอำนวยความยุติธรรม และความสะดวก ในการปฏิบัติหน้าที่ทางนิติบัญญัติที่ผ่านมา ซึ่งนายชวน ก็ได้วางมาตรฐานอันเข้มข้นเอาไว้ ตรงนี้เองที่ทางกลุ่ม iLaw และคณะ ต้องทำความเข้าใจว่า ทิศทางในกระบวนการนิติบัญญัตินั้น ไม่ควรที่จะหย่อนหยาน แม้จะเป็นไปเพื่อประโยชน์อันใด เพราะไม่เช่นนั้น กฎหมายที่ตรงไปตรงมาย่อมยากจะเกิดขึ้นได้ ในกระบวนการอันไม่สมบูรณ์ตามแบบที่ควรจะต้องเป็น