จากกรณีที่ นายธนาคม จงจิระ อธิบดีกรมการปกครอง ได้ออกหนังสือด่วนที่สุด ลงวันที่ 13 เมษายน ที่ผ่านมา เป็นโทรสารในราชการกรมการปกครอง ด่วนที่สุดจาก อธิบดีกรมการปกครอง ถึง ปลัดจังหวัด ทุกจังหวัด ระบุว่า ตามที่กรมการปกครอง มีหนังสือกรมการปกครอง ด่วนที่สุด ที่ มท 0305.3/ว 9241 ลงวันที่ 6 เมษายน 2563 เรื่อง ซักซ้อมแนวทางการสํารวจข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบจากมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหา โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)เนื่องจากการสํารวจและบันทึกข้อมูลดังกล่าวมีความสําคัญในการวางแนวทางการให้ความช่วยเหลือ ประชาชน กรมการปกครอง จึงขอให้ปลัดจังหวัดเน้นย้ำนายอําเภอให้ความสําคัญกับการบันทึกข้อมูล ผู้ได้รับผลกระทบจากมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) โดยให้นายอําเภอ กําชับปลัดอําเภอที่ได้รับมอบหมายซักซ้อมแนวทางการบันทึกข้อมูลฯ และให้คําแนะนําแก่ผู้ที่มีหน้าที่สํารวจ และบันทึกข้อมูลฯ ตามแนวทางที่กําหนดด้วย
กลไกของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย มีการกำหนดแนวทางการรายงานผู้ได้รับผลกระทบจากมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งใช้ผู้ดําเนินการสำรวจ คือ ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน ประธานกรรมการชุนชน คณะกรรมการชุมชน ปลัดอําเภอ ปลัดเทศบาล ทำหน้าสํารวจข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบในพื้นที่ และให้รายงานข้อมูลผ่านเว็บไซต์ thaiqm.dopa.go.th
คําอธิบายแบบสํารวจ ผู้ได้รับผลกระทบ หมายถึงบุคคล 2 กลุ่ม ได้แก่ 1.ผู้ที่ได้รับผลกระทบที่เดินทางจากกรุงเทพมหานคร ปริมณฑลและพื้นที่เสี่ยงต่าง ๆ กลับเข้าหมู่บ้าน/ชุมชน ที่ได้มีการบันทึกข้อมูลในระบบ Thai QM แล้ว 2.ผู้ที่อยู่ในหมู่บ้าน/ชุมชนเดิมอยู่แล้ว และได้รับผลกระทบ ทําให้ไม่สามารถประกอบอาชีพได้
ซึ่งมีการออกแบบฟอร์มให้ประชาชนต้องกรอกข้อมูลส่วนตัว ซึ่งกระจายสอบถามทุกจังหวัดในขณะนี้ โดยให้เลือกสิทธิที่ได้รับจากรัฐ (เลือกได้เพียงข้อเดียว) เลือกผลกระทบที่ได้รับ (เลือกได้เพียงข้อเดียว) และผลกระทบอื่น ๆ และระบุข้อมูลการลงทะเบียนขอรับความช่วยเหลือจากรัฐบาล ใน www.เราไม่ทิ้งกัน.com (เลือกได้เพียงข้อเดียว) เมื่อกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้ว ให้ผู้ได้รับผลกระทบ/ให้ข้อมูล ลงชื่อ เขียนชื่อตัว ชื่อสกุล และวัน เดือน ปี ที่สํารวจให้เรียบร้อย
โดยในข้อ 2 แบบสอบถามจะถามถึงสิทธิจากรัฐ คือ ท่านเป็นผู้ประกันตนตามมาตราอะไร 33,39,40 มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐหรือไม่ และไม่มีสิทธิ์ข้างต้นทั้งสองเลย
ข้อ 3 ของแบบสอบถามจะถามว่า ได้รับผลกระทบจากอะไร
1) ถูกเลิกจ้าง ทั้งแบบเป็นผู้มีสิทธิ์ประกันสังคมมาตรา 33 หรือ เป็นพนักงาน/รายวัน/ลูกจ้าง ที่ไม่มีสิทธิประกันสังคมมาตรา 33 2) ถูกนายจ้างลดวันทำงาน ลดเวลาทำงาน 3) รายได้ลดลง ขายของได้น้อยลง ลูกค้าลดลง หลังจากจังหวัดประกาศมาตรการ 4) ธุรกิจส่วนตัวถูกปิด เช่น ร้านอาหาร ร้านที่อยู่ในห้างฯ พร้อมกับต้องระบุ รายได้ต่อวัน และรายได้ต่อเดือน เดิมที่เคยรับ
ข้อ 4 เมื่อได้รับผลกระทบจากข้อ 3 แล้ว จะถามอีกว่า ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ตามปกติ หรือ การขนส่งสินค้า/ผลผลิตทางการเกษตรไม่สะดวก ใช่หรือไม่
ข้อ 5 จะถามว่า ได้ลงทะเบียนขอรับเงินเยียวยา 5,000 บาท จาก www.เราไม่ทิ้งกัน.com หรือไม่
และข้อ 6 จะมีแนวทางให้เรียงลำดับความสำคัญความช่วยเหลือที่ต้องการ โดยมีตัวเลือกทั้งหมด 15 ตัวเลือก 1.เงินสนับสนุนการยังชีพระยะสั้น 2.การส่งเสริมการฝึกอาชีพ 3.การลดหย่อนภาษีต่างๆ 4.พันธุ์พืช 5.อุปกรณ์ค้าขาย 6.เครื่องอุปโภคบริโภค-ถุงยังชีพ 7.เงินกู้ ดอกเบี้ยต่พ 8.ลดค่าสาธารณูปโภคต่างๆ 9.พันธุ์สัตว์ 10 อุปกรณ์การเกษตร 11.การจ้างงานระยะสั้น 12. การพักชำระหนี้ต่างๆ ผ่อนบ้าน ผ่อนรถ บัตรเครดิต 13.มาตรการด้านการเงินส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม 14.พันธุ์สัตว์น้ำ และ 15.อื่นๆ
จากนั้นผู้ดําเนินการสํารวจ ได้แก่ กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน คณะกรรมการหมู่บ้าน หรือ ประธานกรรมการชุมชน กรรมการชุมชน ลงชื่อและตําแหน่งให้เรียบร้อย โดยมีปลัดอําเภอ / ปลัดเทศบาล ลงชื่อผู้ตรวจสอบข้อมูลตัดแบ่งแบบสํารวจฯ ส่วนที่ 1 และ 2 สําหรับส่วนที่ 1 ผู้สํารวจเก็บไว้เป็นหลักฐาน และส่วนที่ 2 ให้นําส่งอําเภอ ซึ่งข้อมูลในส่วนที่ 1 และส่วนที่ 2 ต้องเป็นข้อมูลที่ตรงกัน