สำนักงาน ป.ป.ท. จึงอาศัยอำนาจคำสั่ง คสช.ที่ 69/2557 ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2557 เรื่องมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริตประพฤติมิชอบซึ่งในปัจจุบันนี้คำสั่งนี้ได้ถูกยกเลิกเรียบร้อยแล้วเจ้าหน้าที่ได้สอบถ้อยคำคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการในจังหวัดกาฬสินธุ์ / นครพนม / ชลบุรี และสอบถ้อยคำเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการจ้างงานคนพิการของสำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดชลบุรี กาฬสินธุ์ / สำนักงานจัดหางานจังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดนครพนม และจังหวัดชลบุรี รวมถึงเจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการและกรมจัดหางานผลการตรวจสอบพบว่าการจ้างงานผู้ดูแลคนพิการในจังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นกรณีจ้างเหมาช่วงงานหรือบริการตามมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมฯ ของบริษัทแห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรี
โดยบริษัทได้ทำสัญญาจ้างคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการ เพื่อให้ดูแลคนพิการ ณ สถานที่ชมรมผู้ปกครองคนพิการทางสติปัญญาจังหวัดกำหนดช ระหว่างปี พ.ศ.2560 ถึง 2561 ปีละ 43 ราย โดยดำเนินการใน 4 จังหวัด คือจังหวัดกาฬสินธุ์ จังหวัดนครพนม / จังหวัดตรังและจังหวัดสระแก้ว โดยจ่ายเงินค่าจ้างบริษัทโอนเข้าบัญชีธนาคารของผู้รับจ้างโดยตรง การตรวจสอบพบพิรุธหลายข้อข้อแรกคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการที่ทำสัญญาจ้างในจังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดนครพนมที่ตรวจสอบทุกรายไม่ได้รับเงินครบตามสัญญาได้รับเพียงรายละ 4,000 ถึง 7,000 บาทต่อเดือน
โดยอ้างว่าเงินที่ถูกหักถูกนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในสถานที่จัดกิจกรรมเช่นค่าน้ำค่าไฟค่าเช่าอุปกรณ์เครื่องใช้อุปกรณ์กายภาพบำบัดเป็นต้นและพบมีผู้ดูแลคนพิการในจังหวัดกาฬสินธุ์ 1 รายไม่เคยทำงานตามสัญญาจ้าง เนื่องจากเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายสินเชื่อธนาคารแห่งหนึ่งในพื้นที่ข้อต่อมาระหว่างปีพศ. 2560 ถึง 2561 เจ้าหน้าที่สำนักงานจัดหางานจังหวัดกาฬสินธุ์และสำนักงานจัดหางานจังหวัดนครพนม ทำการตรวจสอบเพื่อแจ้งผลการตรวจสอบให้สำนักงานจัดหางานจังหวัดชลบุรีพิจารณาเห็นชอบให้บริษัทสามารถดำเนินการตามมาตรา 45 ได้แต่พบว่าขณะตรวจสอบเจ้าหน้าที่พบว่ามีคนพิการหรือผู้ดูแลคนพิการที่ไม่สามารถทำงานตาม สัญญาจ้างได้คือมีตำแหน่งงานประจำแต่เจ้าหน้าที่ของสำนักจัดหางานจังหวัดกาฬสินธุ์และจังหวัดนครพนมกลับละเว้นไม่แจ้งข้อเท็จจริงหรือเสนอความเห็นไม่ควรเห็นชอบให้บริษัทดำเนินการตามมาตรา 35 และพบว่าการตรวจสอบของสำนักงานจัดหางานจังหวัดกาฬสินธุ์ในปีพ.ศ. 2561
เจ้าหน้าที่มีได้ตรวจสอบผู้ดูแลคนพิการที่เป็นคู่สัญญาครบถ้วนทุกรายทำให้บริษัทได้รับอนุญาตให้ดำเนินการตามมาตรา 35 โดยไม่ต้องส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการซึ่งต้องส่งเงินรายละ 109,500 บาทข้อพิรุธต่อมาคือในปี 2561 สำนักงานจัดหางานจังหวัดชลบุรีได้ออกหนังสือพิจารณาเห็นชอบให้บริษัทดำเนินการตามมาตรา 35 ล่วงหน้าทั้งที่สำนักงานจัดหางานทั้ง 4 จังหวัดยังตรวจสอบไม่แล้วเสร็จและพิรุธข้อสุดท้ายคือพฤติการณ์ที่กล่าวมาทั้งหมด จึงมีมูลน่าเชื่อว่ามีการกระทำทุจริตในภาครัฐโดยจัดทำเอกสารเท็จและปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายหรือทุจริต
แต่เนื่องจากการมีผลบังคับใช้ของพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 สำนักงาน ป.ป.ท. จึงจัดส่งเรื่องไปยังคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ปปช. เพื่อพิจารณาดำเนินการตามหน้าที่ด้วยเหตุนี้ ป.ป.ท. จึงไม่มีอำนาจในการสืบสวนไต่สวนต่อทำให้ยังไม่สามารถตั้งเรื่องเพื่อไต่สวนเจ้าหน้าที่คนใดได้เมื่อมาดูพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2550 เพิ่มเติม กลับพบว่ากฎหมายนี้บังคับให้นายจ้างหรือจะสถานประกอบการทั่วประเทศ รวมถึงหน่วยงานของรัฐ ที่มีลูกจ้างหรือผู้ปฏิบัติ 100 คนต้องรับคนพิการ 1 คน เพื่อทำงาน แต่หากไม่ประสงค์จะจ้างคนพิการก็ต้องส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการหรือมีการดูแลคนพิการหรือจ้างผู้ดูแลคนพิการ หลัก ๆ มีกฎหมาย 3 มาตรามาตราแรก คือมาตรา 33 หากนายจ้างประสงค์จะจ้างงานคนพิการก็เข้ากฎหมายข้อนี้คือจ้างงานคนพิการทุกประเภทอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี
โดยจ้างเต็มเวลาเป็นลูกจ้างประจำจ่ายค่าตอบแทนเป็นรายเดือนหรือรายวันตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำและมีระยะเวลาการจ้างไม่น้อยกว่า 1 ปีคือตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมถึงธันวาคมในแต่ละปีมาตราต่อมาคือมาตรา 34 กรณีนี้ ผู้ประกอบการไม่ประสงค์จะจ้างงานคนพิการก็ต้องส่งเงินเข้ากองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการวันละ 308 บาทหรือปีละ 112,420 บาท ข้อกำหนด 2 มาตรานี้สามารถตรวจสอบได้โดยง่าย เนื่องจากกำหนดรายได้ที่ตายตัวและชัดเจน แต่เมื่อมาเป็นข้อกฎหมายตามมาตรา 35 คือไม่ประสงค์จะจ้างงานคนพิการ แต่ต้องจัดกิจกรรมให้กับคนพิการทั้งหมด 7 ประเภทคือ 1.ให้สัมปทาน 2.การจัดสถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการให้กับคนพิการ 3.การจัดจ้างเหมาช่วงงานหรือจ้างเหมาบริการ 4.การฝึกงาน 5. การจัดให้มีอุปกรณ์หรือมีสิ่งอำนวยความสะดวก 6.การจัดให้มีล่ามภาษามือและ 7.การให้ความช่วยเหลืออื่นใดซึ่งกฎหมายข้อนี้ระบุให้ผู้ประกอบการหรือนายจ้างสามารถจัดกิจกรรมให้กับคนพิการได้ ตามมูลค่ารายปีที่กฎหมายกำหนด