svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

พระสงฆ์ต่างชาติ เข้ารับพระราชทานพัดยศ

พระสงฆ์ต่างชาติ เข้ารับพระราชทานพัดยศ
29 กรกฎาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> NationTV
logoline

เนื่องในโอกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา วันที่ 28 กรกฎาคม 2562 พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณฯ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้นิมนต์เข้ารับพระราชทานสถาปนา เลื่อน และแต่งตั้งสมณศักดิ์ ณ พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย ในพระบรมมหาราชวัง วันที่ 28 กรกฎาคม 2562 ซึ่งมีพระเถระทั้งหมด 74 รูป

ดังนี้๑. พระพรหมวชิรญาณ วัดยานนาวา/สาทร/กรุงเททฯ เป็น สมเด็จพระมหาธีราจารย์
๒. พระสาสนโสภณ วัดโสมนัส/ป้อมปราบฯ/กรุงเทพฯ เป็น สมเด็จพระมหามุนีวงศ์
๓. พระพรหมมุนึ วัตราชบพิธฯ/พระนคร/กรุงเทพฯ เป็น สมเด็จพระมหาวีรวงศ์
๔. พระพรหมมังคลาจารย์ วัดไตรมิตรฯ/สัมพันธวงศ์/กรุงเทพฯ เป็น สมเด็จพระมหารัชมงคลมุนี
๕. พระธรรมโสภณ วัดสุทธจินดา/เมืองนครราชสีมา เป็น พระสาสนโสภณ
๖. พระธรรมเสนานุวัตร วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ/เมืองพิษณุโลก เป็น พระพุทธิวงศมุนึ
๗. พระธรรมรัตนดิลก วัดสุทัศนเทพวราราม/พระนคร/กรุงเทพฯ เป็น พระวิสุทธาธิบดี
๘. พระธรรมเจติยาจารย์ วัดพระศรีมหาธาตุ/บางเขน/กรุงเทพฯ เป็น พระพรหมมุนี
๙. พระธรรมมงคลญาณ วัดธรรมมงคลเถาบุญนนทวิหาร/พระโขนง/กรุงเทพฯ เป็น พระพรหมมงคลญาณ
๑๐. พระเทพประสิทธิโสภณ วัดเทพศิรินทราวาส/ป้อมปราบฯ/กรุงเทพฯ เป็น พระธรรมโสภณ
๑๑. พระเทพสุธี วัดศรีสุริยวงศาราม/ราชบุรี เป็น พระธรรมวุฒาจารย์
๑๒. พระเทพเมธี วัดอรุณราชวราราม/บางกอกใหญ่/กรุงเทพฯ เป็น พระธรรมรัตนดิลก
๑๓. พระเทพวิสุทธิญาณ วัดอนาลโยทิพยาราม/เมืองพะเยา เป็น พระธรรมวิสุทธิญาณ
๑๔. พระเทพรัตนสุธี วัดเขียนเขต/ธัญบุรี/ปทุมธานี เป็น พระธรรมรัตนาภรณ์
๑๕. พระเทพวีราภรณ์ วัดพระเชตุพนฯ/พระนคร/กรุงเทพฯ เป็น พระธรรมรัตนากร
๑๖. พระราชประสิทธิวิมล วัดระฆังโฆสิตาราม กท. เป็น พระเทพประสิทธิคุณ
๑๗. พระราชญาณปรีชา วัดราชาธิวาส/บางกอกน้อย/กรุงเทพฯ เป็น พระเทพวิสุทธิญาณ
๑๘. พระราชรัตนกวี วัดมหาธาตุ/เมืองยโสธร เป็น พระเทพวงศาจารย์
๑๙. พระราชเจติยาจารย์ วัดเจดีย์หลวง/เมืองเชียงใหม่ เป็น พระเทพวุฒาจารย์
๒๐. พระราชปริยัติโสภณ วัดหนองกุง/น้ำพอง/ขอนแก่น เป็น พระเทพวิสุทธิคุณ
๒๑. พระราชคุณาภรณ์ วัดภูมินทร์/เมืองน่าน เป็น พระเทพนันทาจารย์
๒๒. พระราชสิทธิมุนี วัดมหาธาตุฯ/พระนคร/กรุงเทพฯ เป็น พระเทพวิสุทธิมุนี
๒๓. พระราชรัตนสุธี วัดชนะสงคราม/พระนคร/กรุงเทพฯ เป็น พระเทพรัตนสุธี
๒๔. พระราชธรรมสุธี วัดเกตการาม/บางคนที/สมุทรสงคราม เป็น พระเทพสุเมธี
๒๕. พระราชวิสุทธิเมธี วัดไชยชุมพลชนะสงคราม/เมืองกาญจนบุรี เป็น พระเทพปริยัติโสภณ
๒๖. พระราชโสภณ วัดราษฎร์บำรุง/บางแค/กรุงเทพฯ เป็น พระเทพญาณโสภณ
๒๗. พระราชศิริธรรมเมธี วัดคูหาสวรรค์/เมืองพัทลุง เป็น พระเทพปริยัติคุณ
๒๘. พระราชวรมุนี วัดสังเวชวิศยาราม/พระนคร/กรุงเทพฯ เป็น พระเทพเวที
-----
๒๙. พระราชศาสนกิจโสภณ วัดเสมียนนารี/จตุจักร/กรุงเทพฯ เป็น พระเทพวรสิทธาkจารย์
๓๐. พระราชปริยัติเมธี วัดสุวรรณภูมิ/เมืองสุพรรณบุรี เป็น พระเทพปริยัติกวี
๓๑. พระราชสีมาภรณ์ วัดบึง/เมืองนครราชสีมา เป็น พระเทพสีมาภรณ์
๓๒. พระราชวรเมธี วัดประยุรวงศาวาส/ธนบุรี/กรุงเทพฯ เป็น พระเทพปวรเมธี
๓๓. พระราชสุเมธาจารย์ วัดอมราวดี/กรุงลอนดอน/สหราชอาณาจักร เป็น พระเทพญาณวิเทศ
๓๔. พระศรีสุธรรมโมลี วัดโมลีโลกยาราม/บางกอกใหญ่/กรุงเทพฯ เป็น พระราชปริยัติบดี
๒๕. พระพิศาลสารคุณ วัดศรีจันทร์/เมืองขอนแก่น เป็น พระราชวุฒาจารย์
๓๖. พระวินัยโกศล วัดศรีอุบลรัตนาราม/เมืองอุบลราชธานี เป็น พระราชธรรมสุธี
๓๗. พระศรีวิสุทธิคุณ วัดศาลาลอย/เมืองสุรินทร์ เป็น พระราชวิมลโมลี
๓๘. พระศรีปริยัติโมลี วัดราชนัดดาราม/พระนคร/กรุงเทพฯ เป็น พระราชศิริธรรมเมธี
๓๙. พระโสภณคณาภรณ์ วัดบวรนิเวศ/พระนคร/กรุงเทพฯ เป็น พระราชญาณปรีชา
๔๐. พระศรีรัตนมุนี วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ/เมืองพิษณุโลก เป็น พระราชรัตนสุธี
๔๑. พระสุทธิสารเมธี วัดโพธิสมภรณ์/เมืองอุดรธานี เป็น พระราชสารโกศล
๔๒. พระวิบูลธรรมภาณ วัดสัมมาธัญญาวาส/คลองสามวา/กรุงเทพฯ เป็น พระราชธรรมกวี
๔๓. พระสิริธรรมราชมุนี วัดมะนาวหวาน/ช้างกลาง/นครศรีธรรมราช เป็น พระราชสิริธรรมมงคล
๔๔. พระศรีธรรมประสาธน์ วัดพระมหาธาตุ/เมืองนครศรีธรรมราช เป็น พระราชวิสุทธิกวี
๔๕. พระศรีมุนีวงศ์ วัดธาตุทอง/วัฒนา/กรุงเทพฯ เป็น พระราชบัณฑิต
๔๖. พระพิศาลปริยัตยาภรณ์ วัดหาดใหญ่สิตาราม/หาดใหญ่/สงขลา เป็น พระราชปริยัติธาดา
๔๗. พระศากยปุตติยวงศ์ วัดอรุณราชวราราม/บางกอกใหญ่/กรุงเทพฯ เป็น พระราชมหาเจติยาภิบาล
๔๘. พระปัญญารัตนาภรณ์ วัดชัยมงคล/บางละมุง/ชลบุรี เป็น พระราชสารโสภณ
๔๙. พระโพธิญาณวิเทศ วัดป่าอภัยคีรี/รัฐแคลิฟอร์เนีย/สหรัฐอเมริกา เป็น พระราชโพธิวิเทศ วิ.
๕๐. พระวิเทศพุทธิคุณ วัดอมราวดี/กรุงลอนดอน/สหราชอาณาจักร เป็น พระราชพุทธิวรคุณ วิ.
๕๑. พระฌอน ซิเวอร์ตัน สถานพำนักสงฆ์บ้านไร่ทอสี/ปากช่อง/นครราชสีมา เป็น พระราชพัชรมานิต วิ.
๕๒. พระครูปลัดสัมพิพัฒนเมธาจารย์(อภิญญา) วัดราชบพิธ/พระนคร/กรุงเทพฯ เป็น พระมหาคณิศร สย.
๕๓. พระครูธรรมาธิการ(สุรินทร์) ธ. วัดราชบพิธ/พระนคร/กรุงเทพฯ เป็น พระจุลคณิศร สย.
๕๔. พระมหาโดม ป.ธ.9 ธ. วัดศรีเทพประดิษฐาราม/เมืองนครพนม เป็น พระศรีวิสุทธินายก สป.
๕๕. พระครูกิตติวีรวัฒน์ (วงศ์ศักดิ์) ธ. วัดป่าสุเมฆนันทาราม/พรเจริญ/บึงกาฬ เป็น พระวิบูลธรรมภาณ สย.
๕๖. พระครูกันตธรรมานุวัฒน์(สุขเลิศ) ธ. วัดบ้านเหล่า/เวียงเชียงรุ้ง/เชียงราย เป็น พระสิริวัฒโนดม สย. วิ.
๕๗. พระมหาจันทร์ ป.ธ.8 วัดขันเงิน/หลังสวน/ชุมพร เป็น พระสิริปริยัติวงศ์ สป.
๕๘. พระครูศรีกิตติคุณ(สุทธิพล ป.ธ.7) ธ วัดจรณาราม/เขาชัยสน/พัทลุง เป็น พระศรีธรรมประสาธน์ สป.
๕๙. พระครูศรีประจันตคณารักษ์ (สมทรง ป.ธ.3) วัดดอนบุปผาราม/ศรีประจันต์/สุพรรณบุรี เป็น พระศรีประจันตคณาภิบาล สป.
๖๐. พระครูธรรมวินยาลังการ(ธัญญวัฒน์) ธ. วัดเสนหา/เมืองนครปฐม เป็น พระวินัยโกศล สย.
-----
๖๑. พระครูอนุกูลวิมลกิจ (ทองย้อย) วัดเขาวัง/เมืองราชบุรี เป็น พระภาวนาวิหารกิจ สย.วิ.
๖๒. พระมหาวุฒิชัย ป.ธ.๙ วัดพระสิงห์/เมืองเชียงราย เป็น พระเมธีวชิโรดม สป.
๖๓. พระมหาไชยวัฒน์ ป.ธ.๗ ธ. วัดบวรนิเวศ/พระนคร/กรุงเทพฯ เป็น พระโสภณคณาภรณ์ สป.
๖๔. พระมหาถวิล ป.ร.๗ ธ. วัตบรมนิวาส/ปทุมวัน/กรุงเทพฯ เป็น พระศรีวรคุณ สป.
๖๕. พระครูปลัดสัมพิพัฒนปัญญาจารย์ (ชนพัฒน์ ป.ธ.๖) วัดปากน้ำ/ภาษีเจริญ/กรุงเทพฯ เป็น พระอมรเมธี สป.
๖๖. พระครูปลัดสุวัฒนเมธาคุณ (ชัยยันต์ ป.ธ.๕) ธ. วัดบุรณศิริมาตยาราม/พระนคร/กรุงเหพฯ เป็น พระสุทธิสารเมธี สป.
๖๗. พระครูพิสิฏฐ์กิจจาภิรม (วรนัยน์ ป.ธ.๓) วัดใหญ่อินทาราม/เมืองชลบุรี เป็น พระชัยสิทธิสุนทร สป.
๖๘. พระครูสิริภาวนาภิรม (ชอบ ป.ธ.๕) วัดพิชโสภาราม/เขมราฐ/อุบลราชธานี เป็น พระภาวนาสุตาภิรัต สป.วิ.
๖๙. หระครูมงคลสุตาภรณ์ (อำนวย ป.ธ.๔) วัดชัยชนะสงคราม/หาดใหญ่/สงขลา เป็น พระภาวนาสตาจารย์ สป.วิ.
๗๐. พระครูปภัสสรวรพินิจ (ไพโรจน์) วัดห้วยมงคล/หัวหิน/ประจวบคีรีขันธ์ เป็น พระพิศาลสิทธิคุณ สย.
๗๑. พระครูเมตตาวิหารคุณ (หองคำ) วัดบึงบาประภาสะวัด/หนองเสือ/ปทุมธานึ เป็น พระเมตตาวิหารึ สย.
๗๒. พระครูวิจิตรชยานุรักษ์ (พร้า) วัตโคกดอกไม้/สรรคบุรี/ชัยนาท เป็น พระมงคลวิจิตร สย.
๗๓. พระครูปลัด ปารมี วัดพระธาตุผาช่อนแก้ว/เขาค้อ/เพชรบูรณ์ เป็น พระภาวนาวชิรปราการ สย.วิ.
๗๔. พระอธิการพบโชค วัดห้วยปลากั้ง/เมืองเชีบงราย เป็น พระไพศาลประชาทร สย.วิ.

โดยมี พระชาวต่างชาติ 4 รูป ที่ได้เลื่อนสมณศักดิ์ คือ-พระราชสุเมธาจารย์ วัดอมราวดี/กรุงลอนดอน/สหราชอาณาจักร เป็น พระเทพญาณวิเทศ
-พระโพธิญาณวิเทศ วัดป่าอภัยคีรี/รัฐแคลิฟอร์เนีย/สหรัฐอเมริกา เป็น พระราชโพธิวิเทศ วิ.
-พระวิเทศพุทธิคุณ วัดอมราวดี/กรุงลอนดอน/สหราชอาณาจักร เป็น พระราชพุทธิวรคุณ วิ.
-พระฌอน ซิเวอร์ตัน สถานพำนักสงฆ์บ้านไร่ทอสี/ปากช่อง/นครราชสีมา เป็น พระราชพัชรมานิต วิ.-----ล่าสุด ได้เข้ารับพระราชทานพัดยศแล้ว (ขอบคุณภาพจาก :Apple Shutintorn Daoruang)

พระสงฆ์ต่างชาติ เข้ารับพระราชทานพัดยศ

.

พระสงฆ์ต่างชาติ เข้ารับพระราชทานพัดยศ

.

พระสงฆ์ต่างชาติ เข้ารับพระราชทานพัดยศ

.

พระสงฆ์ต่างชาติ เข้ารับพระราชทานพัดยศ

สำหรับประวัตรของพระราชพัชรมานิต วิ.
พระราชพัชรมานิต (ฌอน ชิเวอร์ตัน ชยสาโร) มีนามเดิมว่า ฌอน ชิเวอร์ตัน ฉายา ชยสาโรภิกขุ แต่สำหรับตัวท่านเองออกจะคุ้นหูกับคำว่า "พระฝรั่ง" มากกว่าพระอาจารย์ชยสาโรภิกขุ แห่งสถานพำนักสงฆ์บ้านไร่ทอสี จังหวัดนครราชสีมา เป็นผู้มีศรัทธาในพลังแห่งพุทธศาสนา จนได้ชื่อว่าเป็นพระฝรั่งที่ถ่ายทอดความลึกซึ้งทางธรรมฉบับภาษาไทยได้สละสลวย และเป็นที่ประทับใจต่อพุทธศาสนิกชนทั่วโลก
แม้ว่าท่านจะได้ปฏิบัติมาบ้างเมื่ออยู่กับพระอาจารย์สุเมโธมาแล้วก็ตาม แต่หลวงพ่อชาก็ยังไม่บวชให้ ท่านรับการฝึกฝนเคี่ยวเข็ญด้วยอุบายต่าง ๆ จากหลวงพ่อชา ท่านเล่าให้ฟังว่า เมื่อหลวงพ่อชาถามว่า อยากบวชไหม หากบอกว่า อยาก ท่านก็จะตอบว่า ยังไม่ให้บวช จนกว่าจะตอบว่า " แล้วแต่หลวงพ่อ " ท่านจึงได้บวช เมื่อ พ.ศ. 2523 โดยอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่วัดหนองป่าพง โดยมีพระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท) เป็นพระอุปัชฌาย์ก่อนเดินทางมาประเทศไทย ท่านได้ตั้งใจว่าจะอยู่ที่วัดหนองป่าพง ให้ครบ 5 ปี โดยไม่มีเงื่อนไขเพื่อศึกษาปฏิบัติธรรม เมื่อมาพบหลวงพ่อชา ก็เกิดความเลื่อมใสศรัทธาในปฏิปทาและความเป็นครูที่มีทั้งเมตตา และปัญญาในการสอนอย่างลึกซึ้ง จึงสามารถทนต่อความยากลำบากในการปรับตัวให้เข้ากับการใช้ชีวิตแบบพระวัดป่า ที่เข้มงวดในวินัย และการฝึกปฏิบัติตามรอยพระพุทธเจ้า และการอยู่ร่วมกับคณะสงฆ์ชาวไทยจนเกิดความก้าวหน้าและเบิกบานในธรรม แนวการสอนของหลวงพ่อชาเน้นการปฏิบัติการรักษาศีล และข้อวัตรปฏิบัติ ความอดทน ความเพียร การใคร่ครวญหลักธรรม และน้อมมาสู่ใจให้เฝ้าสังเกตจนรู้ทันอารมณ์ของตนเอง และสามารถใช้สติปัญญาในการสร้างประโยชน์ตน และประโยชน์ผู้อื่นพร้อมกันไป ทำให้ท่านผูกพันกับหลวงพ่อชามากเหตุที่เลือกยึดหลักเถรวาท เพราะท่านมีความตั้งใจ ต้องการจะทุ่มเทกาย ถวายชีวิตให้กับพระพุทธศาสนา เพื่อบรรลุมรรคผลนิพพานและที่ชอบฝ่ายเถรวาท เพราะถูกจริต ตรงไปตรงมา ไม่มีพิธีรีตองมากมายเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่เข้ามาเกี่ยวกับกาย กับใจ กับทุกข์ การที่จะอยู่กับป่ากับ ธรรมชาติ อย่างที่สาวกพระพุทธเจ้าเคยปฏิบัติในสมัยพุทธกาลแม้ว่าท่านจะเป็นชาวต่างชาติแต่เรื่องภาษาไม่ใช่อุปสรรค เพราะท่านเชื่อว่าภาษาพื้นฐาน คือบาลีสันสกฤต ซึ่งทั้งคนไทยและต่างชาติก็ต้องเริ่มมาเรียนรู้เหมือนกัน ภาษามีความยากพอกัน แต่คนไทยอาจจะง่ายกว่าที่ศัพท์ไทยมีบาลีสันสกฤต ท่านจึงต้องพยายามและขยันมากหน่อย แต่ก็ไม่นาน โดยท่านใช้วิธีการท่องตัวอักษรจนกระทั่งอ่านได้ จากนั้นก็อยู่คนเดียว ค่อย ๆ อ่าน ดูศัพท์ในดิกชันนารี อีกทั้งอยู่กับครูบาอาจารย์ ไม่ได้เรียนทฤษฎีอะไรมากมาย ก็ปฏิบัติไปด้วย มีการพิสูจน์ไปด้วย ได้ปรึกษาหารือกับครูบาอาจารย์ ได้อ่านได้ฟัง พูดคุยกับพระด้วยกัน ทั้งหมดเป็นชีวิตของท่าน ท่านเองก็ต้องคลุกคลีกับสิ่งนี้อยู่แล้วจึงไม่ยากเท่าไรปัจจุบันพระอาจารย์ชยสาโรพำนักอยู่ ณ สถานพำนักสงฆ์บ้านไร่ทอสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมาข้อมูล : วิกิพีเดีย

logoline
News Hub