พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ภาพจากwww.facebook.com/phrae.tv
ว่ากันทั่วไปว่า เหตุการณ์นี้ได้ส่งผลกระทบต่อชาวบ้าน ประชาชน คนธรรมดา และชนชั้นเจ้านายฝายเหนือ เป็นเหตุการณ์ที่มีความรุนแรง มีผู้คนล้มตายและบาดเจ็บมากมาย ทั้งฝ่ายผู้ก่อการจลาจลและผู้ปราบปราม เป็นเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งของล้านนา (http://www.hugchiangkham.com)
ย้อนไปในปี 2440 หรือ 5 ปีก่อนหน้านั้น รัชกาลที่ 5 ได้เปลี่ยนการปกครองจากเจ้าผู้ครองนครเป็นเทศาภิบาล ยุบเลิกฐานะเมืองประเทศราช แล้วรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลาง พร้อมทั้งโปรดเกล้าฯ ให้ พระยาไชยบูรณ์ (ทองอยู่ สุวรรณบาตร) เป็นข้าหลวงปกครองเมืองแพร่เป็นคนแรก
เจ้าเมืองแพร่องค์เดิมคือ พระยาพิริยวิไชย จึงสูญเสียอำนาจไปเพราะอำนาจสิทธิ์ขาดตกเป็นของข้าหลวงซึ่งเป็นข้าราชการที่ส่งมาจากส่วนกลาง อีกทั้งยังถูกตัดผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ สร้างความไม่พอใจแก่เจ้าเมืองและเจ้านายบุตรหลานทั้งหลายรวมไปถึงชาวเมืองแพร่เป็นอย่างมาก
เจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์ เจ้าพิริยะเทพวงศ์ฯ สืบเชื้อสายมาจากต้นตระกูลคือเจ้าเทพวงศ์ฯ
เจ้าชายจากเมืองเชียงตุง กับเจ้าสุชาดา ซึ่งเป็นธิดาของพญามังไชยผู้ครองเมืองแพร่ (ภาพจากwww.facebook.com/phrae.tv)
โดยเฉพาะเมืองแพร่นั้น เมื่อครั้งปฏิรูปการปกครองในปี 2442 พระยาศรีสหเทพ (เส็ง วิรยศิริ) ได้จัดการอย่างรุนแรงและบีบบังคับยิ่งกว่าเมืองอื่นๆ
อย่างไรก็ดี ยังมีข้อมูลจาก www.hugchiangkham.com ระบุถึงสาเหตุของการก่อการจลาจลโดยอ้างการศึกษาและอธิบายไว้หลายสาเหตุ สรุปได้ คือ
1.จากการถูกคุกคามจากประเทศมหาอำนาจ ที่กำลังขยายอำนาจมาจากทางฝั่งประเทศพม่า และประเทศลาว จึงทำให้ทางสยาม ต้องเร่งปรับเปลี่ยนนโยบายการปกครองในหัวเมืองฝ่ายเหนือ
2.จากความเปลี่ยนแปลงในข้อหนึ่งที่ทำให้เจ้านายฝ่ายเหนือได้รับผลกระทบโดยตรง เพราะถูกลดบทบาท และถูกลิดรอนอำนาจที่มีอยู่เดิม ทำให้เจ้านายฝ่ายเหนือ เกิดความไม่พอใจ จึงมีความคิดต่อต้านรูปแบบการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวขึ้น
3.จากความเดือดร้อนของประชาชน ที่ได้รับผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง การเก็บภาษีรัชชูปการ การกำหนดเขตแดน
ดังนั้น เมื่อถึงวันที่ 24 กรกฎาคม 2445 ชาว "เงี้ยว" (หรือชาวไทใหญ่ ชาติพันธุ์หนึ่งที่อาศัยอยู่ในมณฑลพายัพมาช้านาน) ในเมืองแพร่นำโดย พะกาหม่อง และ สลาโปไชย พร้อมกำลังราว 40-50 นาย ได้ก่อความวุ่นวายขึ้น โดยบุกยึดสถานที่ราชการและปล้นเงินคลังของจังหวัด ตลอดจนปล่อยนักโทษในเรือนจำ
พะกาหม่องพะกาหม่อง หัวหน้าเงี้ยวที่ก่อจลาจลเมืองแพร่ (ภาพจากwww.facebook.com/phrae.tv)
ต่อมากำลังเพิ่มเป็นราว 300 นาย เพราะชาวเมืองแพร่เข้ามาสนับสนุน สามารถยึดเมืองแพร่ได้ในวันที่ 25 กรกฎาคม จากนั้นก็ไปเชิญเจ้าเมืองแพร่องค์เดิมให้ปกครองบ้านเมืองต่อ และออกตามล่าข้าราชการคนนอกที่เข้ามาปกครองเมืองแพร่ สามารถจับตัวพระยาไชยบูรณ์ได้ในวันที่ 27 กรกฎาคม และบังคับให้คืนเมืองแพร่ แต่พระยาไชยบูรณ์ปฏิเสธจึงถูกสำเร็จโทษพร้อมกับข้าราชการอีกหลายคน
ความทราบถึงรัชกาลที่ 5 จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้พระยาสุรศักดิ์มนตรีนำทัพหลวงและกองทัพจากเมืองใกล้เคียงทำการปราบปรามพวกเงี้ยวได้อย่างราบคาบ โดยตั้งค่ายทัพที่บริเวณ "บ้านเด่นทัพชัย" (ต่อมาเปลี่ยนเป็น "ตำบลเด่นชัย" ใน "อำเภอเด่นชัย" ปัจจุบัน)
ค่ายทหารเมืองพิชัยอุตรดิตถ์ สถานที่พักกองทัพของ จอมพลเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) แม่ทัพใหญ่แห่งกองทัพสยาม
คราวไปปราบพวกกบฎเงี้ยวก่อการจลาจลที่นครเมืองแพร่ (ภาพจากwww.facebook.com/phrae.tv)
หลังจากเริ่มสอบสวนเอาความในวันที่ 20 สิงหาคม 2445 พบว่าเจ้านายฝ่ายเหนือบางคนมีส่วนสนับสนุนให้กองโจรเงี้ยวก่อการกบฎขึ้น แต่ครั้นจะจับกุมตัวสั่งประหารชีวิต ท่านก็เกรงว่าจะกระทบกระเทือนต่อความสัมพันธ์กับหัวเมืองทางเหนือ ซึ่งถือเป็นเครือญาติผู้สืบสายราชวงศ์เจ้าเจ็ดตนด้วยกัน จึงปล่อยข่าวลือว่าจะจับกุมตัวเจ้าเมืองแพร่ พระยาพิริยวิไชยจึงหลบหนีออกไป
หลังหลบหนีไปได้ 15 วัน เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีจึงออกคำสั่งถอดเจ้าเมืองแพร่ออกจากตำแหน่งทันที ด้วยถือว่าเป็นการละทิ้งหน้าที่ราชการ พร้อมกับสั่งอายัดทรัพย์เพื่อชดใช้หนี้หลวงที่เจ้าเมืองแพร่ค้างกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ
กองทัพสยามพัก ณ พงอ้อ วางแผนเข้าโจมตีกองโจรเงี้ยวที่บริเวณเขาพลึงในวันรุ่งขึ้น (ภาพจากwww.facebook.com/phrae.tv)
สำหรับคดีความผิดฐานร่วมก่อการกบฎก็เป็นอันต้องระงับโดยปริยาย ไม่มีการรื้อฟื้นขึ้นอีก เจ้าพิริยเทพวงศ์เจ้าเมืองแพร่องค์สุดท้ายต้องลี้ภัยไปใช้ชีวิตในบั้นปลายที่เมืองหลวงพระบาง จนถึงแก่พิราลัย
อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อมูลจากหลายแหล่งได้ระบุเพิ่มเติมว่า เหตุการณ์กบฎเงี้ยวปล้นเมืองแพร่ ในปีพ.ศ. 2445 เจ้าเมืองแพร่ถูกกล่าวหาว่าคบกับพวกเงี้ยว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้ถอดจากยศตำแหน่ง ริบเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทั้งหมดคืน ท่านจึงไปใช้ชีวิตบั้นปลายที่เมืองหลวงพระบาง ประเทศลาว และได้พำนักอยู่ที่นั่นจนกระทั่งพิราลัยในปี พ.ศ. 2455
คุ้มเจ้าหลวงพิริยะเทพวงศ์ เจ้าเมืองแพร่ ก่อน พ.ส.2440(ภาพจากwww.facebook.com/phrae.tv)
แม้จนสุดท้ายแล้วพระพุทธเจ้าหลวงถึงจะทรงพิโรธการเรียกร้องความไม่เป็นธรรมของเจ้าหลวงเมืองแพร่อย่างไรพระองค์ก็ทรงออกมาปกป้องว่า เจ้าหลวงพิริยะเทพวงษ์นั้น แม้จะกลับมาชิงบ้านเมืองคืนจริง ก็ไม่ใช่ความคิดของเจ้าหลวงแต่เป็นนโยบายของฝรั่งเศส พระองค์ทรงให้เจ้านายทายาทเจ้าหลวงอยู่อย่างสงบสุขด้วยเจ้านายราชวงศ์จักรีที่ทรงวางใจคือสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ มือขวาของพระองค์นั่นเอง ส่วนเจ้านายที่ถูกคาดโทษพระองค์ก็ให้ทำหน้าที่ปราบโจรผู้ร้ายชดใช้ (วิกิพีเดีย)
เครคิต
วิกิพีเดีย
สารคดี.คอม กรกฎาคม 26, 2013