เหมืองทองคำ อ.วังสะพุง จ.เลย ถูกสั่งปิดชั่วคราวตามมติ ครม.ตั้งแต่วันที่ 10 พ.ค.ปีที่แล้ว 1 ในเหตุผลสำคัญที่ถูกสั่งปิดอาจเพราะชาวบ้านใน 6 ชุมชนใกล้เหมืองทองคำ เกิดป่วยจากการได้รับสารปนเปื้อน เพราะมีข้อมูลทางการแพทย์ยืนยันว่าชาวบ้านได้รับสารปนเปื้อน ทั้งสารหนู สารไซยาไนด์ แคดเมียม
แต่ถึงแม้เหมืองจะถูกสั่งปิดไปแล้ว แต่ก็ยังมีชาวบ้านได้รับสารอันตรายอยู่ พวกเขาปักใจเชื่อว่า "ถังเก็บกากแร่รั่ว" ขณะที่ข้อมูลวิชาการของเหมืองก็ยืนยันว่าปัญหาไม่ได้เกิดจากกิจการเหมืองเมื่อเกิดข้อถกเถียงขึ้นนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยนเรศวรจึงลงพื้นที่สำรวจ หาคำตอบว่า "สารเหล่านี้เกิดขึ้นจากธรรมชาติหรือเหมืองทองคำ" ซึ่งมีนักวิจัยชี้ชัดว่า "สารหนูเกิดจากธรรมชาติแน่นอน" แต่ได้ตั้งข้อสันนิฐานว่า "หากบ่อกักเก็บกากแร่รั่วจริง ก็มีความเป็นไปได้ที่สารหนูจะไหลออกจากบ่อปนเปื้อนแหล่งน้ำผิวดินและใต้ดิน รวมถึงพื้นที่เกษตรกรรม เพราะในห่างแร่มีสารหนู สารไซยาไนด์"
และจากการสำรวจค่าของสารหนูจากปลายน้ำไปต้นน้ำ พบว่ายิ่งเข้าใกล้เหมืองยิ่งพบค่าสารหนูเพิ่ม เช่น ปลายน้ำพบแค่ 7-10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ขณะที่ใกล้เหมืองพบถึง 2,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมคำตอบของงานวิจัยยังไม่ระบุว่าเหมืองคือต้นเหตุของการแพร่กระจายสารอันตราย แต่สิ่งที่ชาวบ้านต้องการให้ชัดเจนคือ ใครจะเป็นเจ้าภาพดำเนินการแก้ไขการปนเปื้อน ขั้นตอนการฟื้นฟูจะทำอย่างไร และที่สำคัญคือจะเริ่มเมื่อไหร่