svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

หุ่นยนต์แทนแรงงานมนุษย์...มันคือความจริง!!!

กระบวนการอัตโนมัติ (Automation) จะช่วยในการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตได้ดีขึ้นอย่างก้าวกระโดดเทคโนโลยีหุ่นยนต์ที่ก้าวหน้าอย่างรวดเร็วจะช่วยเร่งให้เกิดการใช้งานแทนแรงงานมนุษย์ เพราะเทคโนโลยีเครื่องจักรยุคใหม่สามารถทำงานด้านการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีประสิทธิภาพมากกว่ามนุษย์ แล้วในวันนี้

ซึ่งส่งผลให้ผลผลิตมีคุณภาพดีขึ้นและเกิดของเสียน้อยลง และเครื่องจักรก็ไม่จำเป็นต้องมีการประกันสุขภาพ สวัสดิการสังคม เวลาพักผ่อน ลาคลอด หรือนอนหลับ
สหพันธ์หุ่นยนต์นานาชาติ (International Federation of Robotics; IFR) เปิดเผยว่าอุตสาหกรรมยานยนต์ได้ตระหนักถึงเรื่องนี้และยอดขายหุ่นยนต์เพิ่มขึ้นอย่างมาก
โดยได้เพิ่มขึ้นถึง 29% ในปี 2014 ซึ่ง IFR รายงานว่า หุ่นยนต์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมที่ขายได้มากกว่า 229,000 ตัวในปี 2014 พบว่ามีการขายให้กับโรงงานผู้ผลิตในประเทศจีนมากกว่า 57,000 ตัว ในประเทศญี่ปุ่น 29,300 ตัว บริษัทในสหรัฐอเมริกา 26,200 ตัว ในเกาหลีใต้ 24,700 ตัว และในเยอรมันอีกกว่า 20,000 ตัว 
เมื่อเปรียบเทียบยอดขายหุ่นยนต์ในอินเดียที่มีจำนวนเพียง 2,100 ตัว เท่านั้น 
ส่วนในปี 2015 หุ่นยนต์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมขายได้มากกว่า 248,000 ตัว ซึ่งสูงขึ้น 12% จากปี 2014 และตัวเลขที่กำลังรอผลที่จะออกมาของปี 2016 คาดว่าจะเป็นตัวเลขก้าวกระโดดอย่างแน่นอน
กระบวนการทำงานอัตโนมัติอาจไม่ค่อยมีผลทางเศรษฐกิจเท่าที่ควรในประเทศที่มีการผลิตค่อนข้างน้อยหรือมีแรงงานราคาถูกจำนวนมาก ซึ่งการพิจารณาเรื่องพื้นฐานทางเศรษฐกิจระหว่างต้นทุนแรงงานและต้นทุนของระบบอัตโนมัติถือเป็นข้อพิจารณาเบื้องต้น 
นอกจากนี้ กฎหมายแรงงาน ข้อพิจารณาด้านวัฒนธรรม ความพร้อมของทุน และอายุและระดับทักษะของแรงงานในท้องถิ่น ก็ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญในการพิจารณาด้วย
อย่างเช่น เศรษฐกิจของอินเดีย มีประชากร 1,300 ล้านคน จึงสามารถผลิตสินค้าจำนวนมากๆได้ในราคาถูก ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ในอินเดียก็มีแนวโน้มที่จะมีการผลิตหุ่นยนต์เอง เพื่อนำมาใช้ทุ่นแรงในทุกด้านและอาจจะมากกว่าการใช้เครื่องจักรในโรงงานทั่วไป
ขีดความสามารถทางเทคนิคของเครื่องจักรที่ต้องเผชิญหน้ากับการใช้แรงงานคน อย่างเช่น การตัดเย็บและสิ่งทอที่ต้องใช้มือมนุษย์ ซึ่งไม่เพียงแต่ประเทศจีนและอินเดียเท่านั้นที่เป็นผู้ส่งออกสิ่งทอที่สำคัญ แต่สำหรับประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ อย่างเช่น บังคลาเทศ อินโดนีเซีย ปากีสถาน ไทย และตุรกี ก็เป็นผู้ส่งออกสิ่งทอที่สำคัญเช่นกัน 
แต่ด้วยค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ จึงทำให้เราอาจจะเห็นการนำหุ่นยนต์มาใช้มากขึ้น อย่างเช่นในอุตสาหกรรมสิ่งทอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้าย ที่ซึ่งวัตถุดิบถูกส่งไปยังประเทศต่างๆ เช่น ปากีสถาน ที่เปลี่ยนวัตถุดิบเป็นสิ่งทอและส่งกลับไปยังสหรัฐอเมริกา
ขั้นตอนต่อไปของวิวัฒนาการหุ่นยนต์ หรือ อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) จะมีผลต่อบางประเทศ และบางอุตสาหกรรม โดยงานบางอย่างสามารถทำโดยอัตโนมัติได้ 
นอกจากนี้งานที่แตกต่างกันต้องใช้ฟังก์ชันของหุ่นยนต์ที่แตกต่างกัน ซึ่งบางงานอาจต้องใช้ระบบหุ่นยนต์ที่มีราคาแพงมาก จึงต้องพิจารณาความคุ้มทุน 
แต่อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีหุ่นยนต์มีแนวโน้มที่จะมีต้นทุนถูกลงมากอย่างรวดเร็ว และจะถูกนำมาใช้อย่างมากในอนาคตอันใกล้
การศึกษาของ IFR สำหรับอุตสาหกรรมการส่งออกแรงงานการผลิตที่ใหญ่ที่สุดในโลกใน 25 ประเทศ เพื่อดูว่าประเทศใดในโลกที่มีการผลิตด้วยระบบอัตโนมัติมากที่สุด และล้าหลังมากที่สุด 
ซึ่งผลปรากฎว่า เกือบครึ่งหนึ่งของประเทศทั้งหมด ได้แก่ บราซิล จีน สาธารณรัฐเช็ก อินเดีย อินโดนีเซีย เม็กซิโก โปแลนด์ รัสเซีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน และไทย ที่ถือว่าเป็นตลาดเกิดใหม่ 
ซึ่งประเทศเหล่านี้ก้าวไปข้างหน้าด้วยการนำหุ่นยนต์มาใช้มากกว่าที่คาดไว้ เนื่องจากประเทศต่างๆเหล่านี้ มีต้นทุนด้านแรงงานที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ไต้หวัน และไทย
 โดยโรงงานผู้ผลิตในเกาหลีใต้และไทย มีการใช้กระบวนการอัตโนมัติอย่างรวดเร็ว ส่วนในอินโดนีเซียและไต้หวันจะค่อนข้างช้ากว่า 
การใช้ระบบอัตโนมัติอย่างรวดเร็วในบางประเทศนั้น สามารถอธิบายได้ว่า มีการเพิ่มขึ้นของค่าจ้างที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย อายุงานและอัตราการว่างงานที่ต่ำ ส่วนในประเทศกำลังพัฒนา เช่น อินโดนีเซียนั้น แรงจูงใจอาจแตกต่างกันไปในการปรับปรุงคุณภาพเพื่อให้โรงงานในท้องถิ่นให้สามารถแข่งขันกับประเทศญี่ปุ่นและประเทศทางตะวันตกได้
ประเทศอื่นๆ ที่มีการบูรณาการหุ่นยนต์เข้ากับโรงงานการผลิตอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็น แคนาดา จีน ญี่ปุ่น รัสเซีย สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา 
ซึ่งประเทศจีนเป็นประเทศที่น่าสนใจ เพราะเป็นประเทศที่มีการนำระบบอัตโนมัติมาใช้อย่างรวดเร็ว แม้ว่าจะมีค่าแรงต่ำมากก็ตาม
เหตุผลนี้จึงเชื่อว่าเป็นที่โรงงานผู้ผลิตในประเทศจีนเห็นสัญญาณว่าจะมีสิ่งไม่ดีเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ โดยค่าแรงที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศจีน ซึ่งมีแนวโน้มที่จะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
 นอกจากนี้ยังมีแรงงานที่มีอายุมากขึ้น ซึ่งเกิดจากนโยบายลูกคนเดียวที่มีมานานนับ 10 ปี แม้ว่านโยบายนี้จะถูกยกเลิกไปแล้วเมื่อไม่นานมานี้ แต่ก็ยังมีปัญหาการขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะและคุณภาพ ซึ่งก็ยังคงเป็นประเด็นที่มีความกังวลอย่างมาก 
ดังนั้นการใช้กลยุทธ์การใช้หุ่นยนต์ในภาคการผลิตในประเทศจีน ก็จะสามารถช่วยชดเชยข้อบกพร่องและจุดอ่อนเหล่านี้ให้แก่ประเทศได้
ประเทศออสเตรเลีย สาธารณรัฐเช็ก เยอรมนี เม็กซิโก และโปแลนด์ มีเคลื่อนไหวในการนำหุ่นยนต์มาใช้ในอุตสาหกรรมช้ากว่ามาก เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศจีน เนื่องจากมีปัจจัยอื่นๆเข้ามาเกี่ยวข้อง อย่างเช่น ข้อบังคับเกี่ยวกับแรงงานที่กำหนดให้นายจ้างต้องชดใช้หากมีการปลดพนักงาน และต้องจ่ายเงินให้คนที่ว่างงานเป็นระยะเวลานาน เป็นต้น
กลุ่มประเทศผู้ส่งออกในอุตสาหกรรมการผลิตรายใหญ่ที่สุด 25 ราย ที่นำเทคโนโลยีหุ่นยนต์มาใช้ช้าที่สุด ซึ่งได้แก่ ออสเตรีย เบลเยี่ยม บราซิล ฝรั่งเศส อินเดีย อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สวีเดน สเปน และสวิสเซอร์แลนด์ 
โดยทุกประเทศเหล่านี้ ยกเว้นอินเดีย ล้วนมีแรงงานที่มีอายุมากขึ้น บางส่วนของค่าแรงปรับตัวเพิ่มตามผลผลิตที่สูง และมีแนวโน้มที่อาจจะต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานอย่างรุนแรงในอนาคต ถ้ายังไม่สามารรถเร่งการนำหุ่นยนต์มาใช้ในอุตสาหกรรมดังกล่าวได้
อินเดียมีการเคลื่อนไหวช้า เพราะความสมดุลทางเศรษฐกิจที่ยังคงให้ความสำคัญกับแรงงานราคาถูกที่มีมากมายในอินเดีย และยังมีอุปสรรคที่เกี่ยวกับระบบราชการ 
โดยบริษัทในอินเดียที่มีพนักงานมากกว่า 100 คน จะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐบาลก่อนที่จะดำเนินการ การขาดความยืดหยุ่นนี้ ไม่เพียงแต่จะเป็นปัญหาในด้านการพัฒนากระบวนการทำงานอัตโนมัติของโรงงานเท่านั้น 
แต่ยังเป็นการส่งสัญญาณต่อทั้งบริษัทหรือนักลงทุน ที่ทำให้เกิดความยุ่งยากในการพิจารณานำระบบอัตโนมัติมาใช้อย่างมาก ทำให้ต้องคิดอย่างรอบคอบก่อนที่จะลงทุนโรงงานแห่งใหม่ที่มีความทันสมัยด้วยเทคโนโลยีอัตโนมัติ
ในขณะที่ประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ในโลกกำลังเติบโตขึ้นและมีต้นทุนด้านแรงงานที่สูงขึ้น เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในประเทศจีน 
และเมื่อเร็วๆนี้ได้เกิดขึ้นในเกาหลีใต้และไต้หวัน ซึ่งอาจมีแนวโน้มที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในอนาคต 
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันแรงงานในประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ ดูเหมือนจะรู้ตัวและจำยอมในการที่หุ่นยนต์อาจเข้ามาที่โรงงานของพวกเขาในเร็วๆนี้ 
IFR ยังได้วิเคราะห์ว่า คลื่นการเปลี่ยนแปลงด้าน digital transformation ในทุกอุตสาหกรรม กำลังผลักดันให้โลกของเรานำหุ่นยนต์มาใช้อย่างมากมาย ซึ่งในช่วงปี 2018 จะเป็นปีที่มีจำนวนหุ่นยนต์ที่ถูกนำมาใช้อย่างก้าวกระโดด อย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อนในอดีต...คุณพร้อมแล้วหรือยังที่จะอยู่กับหุ่นยนต์?

Reference :: http://www.huffingtonpost.com/hal-sirkin/robots-workers-countries_b_9992960.html

พ.อ.ดร.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณรองประธาน กสทช. และประธานกรรมการกิจการโทรคมนาคมwww.เศรษฐพงค์.comLINE id : @march4G