svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"ลิเก" ภูมิปัญญาไทยที่คนรุ่นใหม่เข้าถึงได้

เวลาเราได้ยินคำว่า "ลิเก" หรือ "ยี่เก" จะนึกถึงการแสดงที่ผู้แสดงแต่งกายสวยงาม หรูหรา มีการร้องรำทำเพลงอันอ่อนช้อย งดงาม พร้อมกับสอดแทรกมุขตลกขบขัน โดยไม่ได้คำนึงถึงความสำคัญ ความเป็นมา ความหมายและคุณค่าที่ควรรักษาไว้ เพราะหากเรามองลิเกในแง่มุมต่าง ๆ มากขึ้นจะพบสิ่งดี ๆ และมีประโยชน์

ลิเกถือเป็นศิลปะประจำชาติไทยตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาหรือต้นรัตนโกสินทร์ ซึ่งชาวคณะลิเกทุกคนจะสืบทอดนาฎยศิลป์จนปัจจุบันเพื่อให้ลูกหลานได้สัมผัสความเป็นไทย สิ่งที่งดงามของไทยและมีนัยยะแอบแฝง หลังจากรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ออกพระราชกฤษฎีกากำหนดทางวัฒนธรรมศิลปกรรมเกี่ยวกับการแสดงละครเมื่อ พ.ศ. 2485 ทำให้ลิเกถูกสั่งห้ามเพราะเป็นของต่ำ ไม่เหมาะกับวัฒนธรรมไทยที่จะก้าวสู่ความเป็นสากลตามรอยตะวันตก คณะลิเกต้องเปลี่ยนชื่อการแสดงเป็นนาฏดนตรีเพื่อความอยู่รอด ผู้แสดงต้องผ่านการสอบความรู้ด้านนาฏศิลป์ ก่อนจะกลับมาใช้คำว่าลิเกอีกครั้งหลังสิ้นสมัยจอมพล ป. และเปลี่ยนผู้แสดงจากที่แต่เดิมเป็นผู้ชายทั้งหมด เป็นเล่นบทตรงกับเพศ อย่างไรก็ดีค่านิยมในสมัยก่อนมองว่าลิเกนั้นเป็นการแสดงที่ต่ำ ตลกหยาบโลน ไม่เหมาะกับผู้มีรสนิยมสูง และผู้ที่แสดงลิเกถูกสังคมดูถูกว่าเป็นพวกเต้นกินรำกิน

\"ลิเก\" ภูมิปัญญาไทยที่คนรุ่นใหม่เข้าถึงได้

\"ลิเก\" ภูมิปัญญาไทยที่คนรุ่นใหม่เข้าถึงได้

\"ลิเก\" ภูมิปัญญาไทยที่คนรุ่นใหม่เข้าถึงได้

"พีรวัส โผนผึ้ง" หรือ อาร์ม เด็กหนุ่มวัย 27 ปี ผู้รับผิดชอบคณะลิเก "ประเสริฐศักดิ์" เป็นอีกบุคคลหนึ่งที่มีความรักในอาชีพลิเกนี้ อาร์มช่วยดูแลกิจการคณะลิเกนี้ต่อจากบิดามารดา ซึ่งเป็นนักลิเกที่ปลดระวางตัวเองลง โดยคณะนี้ก่อตั้งมาได้ประมาณ 10 ปี มีฐานประจำอยู่ที่ อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี อาร์มพื้นเพเกิดที่จังหวัดนนทบุรี เคยศึกษาที่โรงเรียนมัธยมไทรน้อย แต่ด้วยการที่พ่อแม่ของตนทำคณะลิเก จึงทำให้ตนเองนั้นต้องฝึกเล่นลิเกตั้งแต่อายุ 10 ขวบ ส่วนหนึ่งคือช่วยเหลือกิจการของครอบครัว และอีกส่วนหน่ึงที่สำคัญคือหาเงินส่งตัวเองเรียน แบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย ในสมัยนั้นค่าตัวเริ่มต้นที่ 20 บาท ต่อคืน พอผ่านไปประสบการณ์เพิ่มขึ้นก็กลายเป็น 200-300 บาทต่อคืน

\"ลิเก\" ภูมิปัญญาไทยที่คนรุ่นใหม่เข้าถึงได้

\"ลิเก\" ภูมิปัญญาไทยที่คนรุ่นใหม่เข้าถึงได้

\"ลิเก\" ภูมิปัญญาไทยที่คนรุ่นใหม่เข้าถึงได้


"เมื่อก่อนรู้สึกอายมากที่ต้องมาเล่นลิเก ไม่กล้าบอกเพื่อนที่โรงเรียนเพราะกลัวถูกล้อ แต่เราต้องทำเพราะความจำเป็น จะมีแต่เพื่อนสนิทของเราเท่านั้นที่รู้ว่าเราเล่นลิเกอยู่" อาร์มเล่าถึงความทรงจำในสมัยเรียน หลังจากเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ อาร์มก็ยังคงเล่นลิเกกับคณะของครอบครัวต่อจนจบการศึกษาระดับปริญญาตรี โดยในตอนนี้ได้ผันตัวเองมาดูแลคณะลิเกนี้เต็มตัว และทำธุรกิจส่วนตัวควบคู่ไปด้วย โดยอาร์มจะคอยดูแลหรือรับงานที่มีลูกค้าติดต่อเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นลิเกชุดเล็ก ที่ส่วนมากมีระยะเวลาหลายวัน ราคาจึงไม่ค่อยแพงนัก อยู่ที่ประมาณ 10,000 - 13,000 บาท ต่อคืน เช่น ตามงานวัดต่างๆ หรือที่เรียกว่า "งานวิก" ที่จะมีการจัดงานยาวนาน 7-9 วัน หรือเป็นลิเกชุดมาตรฐาน หรือ "งานปลีก" ขนาดเต็มวง ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 40,000 - 45,000 บาท ต่อคืน บางครั้งก็รับงานต่างจังหวัดเหมารถเป็นคันไป ในส่วนของนักแสดงมีทั้งนักแสดงประจำ นักแสดงขาจร และนักแสดงรับเชิญ ค่าตัวตามขนาดของเวที ถ้าเป็นเวทีเล็กอยู่ที่ 10 คน ตกคนละ 200-300 บาทต่อวัน เวทีมาตรฐานอยู่ที่ 15 คนขึ้นไป ตกคนละ 400-800 บาทต่อวัน ไม่รวมค่าเดินทางที่จ่ายต่างหาก ส่วนของกำไรนั้นอยู่ที่ประมาณ 3,000 - 8,000 บาท

\"ลิเก\" ภูมิปัญญาไทยที่คนรุ่นใหม่เข้าถึงได้

\"ลิเก\" ภูมิปัญญาไทยที่คนรุ่นใหม่เข้าถึงได้

\"ลิเก\" ภูมิปัญญาไทยที่คนรุ่นใหม่เข้าถึงได้


"ลิเกในตอนนี้ต่างไปจากแต่ก่อนแล้ว มีเด็กวัยรุ่น เด็กจบใหม่ หรือแม้แต่คนมีอายุหลายคนสนใจอยากมาเรียนลิเก" เด็กหนุ่มวัย 27 ปีพูดด้วยความภาคภูมิใจ นอกจากอาร์มจะเป็นหัวหน้าคณะลิเกแล้ว เขายังทำธุรกิจเสริม ไม่ว่าจะเป็น ทำกล่องเครื่องแต่งหน้า ราคาประมาณ 3,500 บาท, เครื่องแต่งตัวลิเก ตั้งแต่หัวจรดเท้า ลำพังแค่ค่าหมวกก็ 7,000 บาท ยังไม่รวมค่าชุดประมาณ 20,000 บาท ซึ่งผู้แสดงลิเกทุกคนต้องมีเป็นของตนคนละ 1-2 ชุด และตัดใหม่เรื่อยๆ โดยเครื่องแต่งกายในปัจจุบันเรียกว่า เครื่องลูกบทเพชร คือแต่งอย่างลูกบทแต่มีเพชรหรูหราอลังการ ไม่ว่าจะเป็นเสื้อกั๊กปักเพชรทับเสื้อคอกลมสวมสนับเพลา แล้วสวมถุงน่องสีขาว นุ่งผ้าโจงทับอย่างตัวพระ ใช้แถบเพชร หรือ "เพชรหลา" มาทำสังเวียนคาดศีรษะ ประดับขนนกสีขาว คาดสะเอวเพชร แถบเชิงสนับเพลาเพชร

\"ลิเก\" ภูมิปัญญาไทยที่คนรุ่นใหม่เข้าถึงได้

\"ลิเก\" ภูมิปัญญาไทยที่คนรุ่นใหม่เข้าถึงได้

\"ลิเก\" ภูมิปัญญาไทยที่คนรุ่นใหม่เข้าถึงได้

สำหรับผู้ที่มาชมนั้นก็มีทั้งขาจรและขาประจำ โดยทางคณะมีแฟนเพจให้ผู้ชมที่เป็นแฟนคลับได้ติดตามการแสดงและผลงานของคณะอย่างต่อเนื่อง ฐานผู้ชมมีหลายช่วงอายุตั้งแต่สูงวัยยันเด็กวัยรุ่น อีกทั้งมีแม่ยกที่คอยตามไปเกาะติดขอบเวทีที่นักแสดงที่ตนเองชื่นชอบเล่น อีกทั้งเป็นแหล่งรายได้สำคัญที่ช่วยล่อเลี้ยงคณะลิเกให้คงอยู่ได้ จึงต้องมีการเชิญนักแสดงลิเกที่ได้รับความนิยมและมีแม่ยกเยอะมาร่วมแสดงเพื่อดึงฐานคนดู สำหรับบทการแสดงนั้นเน้นเรื่องจักรๆ วงศ์ๆ แต่มีการเพิ่มการแสดงประเภทอื่นเพื่อให้เป็นที่นิยม เช่น เพลงลูกทุ่ง และสอดแทรกมุกตลกที่สอดคล้องกับเหตุการณ์บ้านเมืองเพื่อเพิ่มอรรถรสและร่วมสมัย

\"ลิเก\" ภูมิปัญญาไทยที่คนรุ่นใหม่เข้าถึงได้

\"ลิเก\" ภูมิปัญญาไทยที่คนรุ่นใหม่เข้าถึงได้

\"ลิเก\" ภูมิปัญญาไทยที่คนรุ่นใหม่เข้าถึงได้

"มันไม่ใช่การแสดงของผู้ที่ไม่มีทางเลือก แต่อาร์มและหลายคนเลือก...เลือกที่จะเป็นนักแสดงลิเก" อาร์มกล่าวความรู้สึกหลังจากตนเองผันมาอยู่ในวงการนี้เต็มตัว "ตอนเด็กอาร์มมองว่ามันเป็นสิ่งที่น่าอาย แต่ตอนนี้อาร์มภูมิใจและเต็มใจในสิ่งที่อาร์มทำ"

\"ลิเก\" ภูมิปัญญาไทยที่คนรุ่นใหม่เข้าถึงได้

\"ลิเก\" ภูมิปัญญาไทยที่คนรุ่นใหม่เข้าถึงได้

\"ลิเก\" ภูมิปัญญาไทยที่คนรุ่นใหม่เข้าถึงได้

\"ลิเก\" ภูมิปัญญาไทยที่คนรุ่นใหม่เข้าถึงได้

ในปัจจุบันลิเกได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มวัยรุ่นไทย มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาจากรุ่นสู่รุ่น จนทำให้ภาพลักษณ์ของลิเกไม่ใช่สิ่งที่หยาบโลนเหมาะสำหรับคนชนชั้นต่ำอีกต่อไป หากแต่กลายเป็นศิลปะและภูมิปัญญาของชนชาติไทยที่เหมาะกับทุกเพศทุกวัยและทุกชนชั้น ถือเป็นมรดกอันงดงามที่สามารถประกอบเป็นอาชีพและอวดโฉมสู่สายตาชาวโลกได้อย่างภาคภูมิใจ