svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"คนข่าว" ค้าน กม.คุมสื่อ พร้อมใจกันเปลี่ยนโปรไฟล์ กระชากโซ่ตรวนปลดปล่อยนกพิราบ

คนข่าว พร้อมใจเปลี่ยนโปรไฟล์ลงโซเชียล ค้านกฎหมายคุมสื่อ ขณะที่สมาคมนักข่าวฯนัดรวมตัวแสดงพลังคนข่าว ยื่นหนังสือค้านร่าง พ.ร.บ.อัปยศ

จากกรณี คณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการสื่อสารมวลชน สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ได้ผลักดันพิจารณาร่าง พ.ร.บ. การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ... เข้าสู่วาระการพิจารณา สปท.ในวันที่ 1 พ.ค.นี้

\"คนข่าว\" ค้าน กม.คุมสื่อ
พร้อมใจกันเปลี่ยนโปรไฟล์
กระชากโซ่ตรวนปลดปล่อยนกพิราบ


ทั้งนี้ในวันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคมนี้ นายปราเมศ เหล็กเพ็ชร์ นายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย และตัวแทนสื่อจากองค์กรต่างๆ จะไปยื่นหนังสือถึงสปท. โดยผ่านนายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธาน สปท. คนที่ 1 ที่อาคารรัฐสภา เวลา 09.00น. โดยจะยื่นผ่าน นายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธาน สปท. คนที่ 1 ซึ่งในวันดังกล่าว เวลา 9.30 น. ทาง สปท.จะมีการประชุม เพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว

\"คนข่าว\" ค้าน กม.คุมสื่อ
พร้อมใจกันเปลี่ยนโปรไฟล์
กระชากโซ่ตรวนปลดปล่อยนกพิราบ


อย่างไรก็ตาม ตลอดวันนี้ คนข่าว นักวิชาการ และประชาชน ได้พร้อมใจกันเปลี่ยนโปรไฟล์ของตัวเอง ในโซเชียล ทั้งเฟสบุ๊ค ไลน์ ทวิตเตอร์ อินสตาแกรม เป็นภาพ.. หมัดสีดำกำโซ่ปลดปล่อยนกพิราบ พร้อมกับมีข้อความใต้ภาพว่า "หยุดตีทะเบียนสื่อ ครอบงำประชาชน" เพื่อเป็นการแสดงพลัง คัดค้านร่างกฎหมายดังกล่าว

\"คนข่าว\" ค้าน กม.คุมสื่อ
พร้อมใจกันเปลี่ยนโปรไฟล์
กระชากโซ่ตรวนปลดปล่อยนกพิราบ


นายชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ชี้แจงผ่าน เฟสบุ๊ค บอกถึงเหตุผลที่ต้องออกมาต่อต้านร่างกฎหมายดังกล่าว โดยระบุว่า...
"มีคำถามเกี่ยวกับการรณรงค์คัดค้านร่าง พรบ.คุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ.... ที่กำลังมีการผลักดันผ่านสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศในขณะนี้ มากมายหลายประเด็น จึงอยากใช้พื้นที่นี้ ทำความเข้าใจกับเพื่อนพ้องน้องพี่ ทั้งในและนอกวงการสื่อมวลชนดังต่อไปนี้...

\"คนข่าว\" ค้าน กม.คุมสื่อ
พร้อมใจกันเปลี่ยนโปรไฟล์
กระชากโซ่ตรวนปลดปล่อยนกพิราบ



๑.กฎหมายนี้ มีเนื้อหาควบคุมสื่ออย่างไร ทำไมต้องออกมาคัดค้าน?
ตอบ: กฎหมายนี้ ให้มีการจัดตั้งสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ โดยให้มีตัวแทนจากภาครัฐหรือหน่วยราชการเข้าไปเป็นกรรมการด้วย ขณะที่ตัวแทนที่มาจากภาคสื่อมวลชนดองก็สุ่มเสี่ยงต่อการครอบงำโดยผู้มีอำนาจทางการเมืองในแต่ละยุคสมัย พูดง่ายๆ คือ สภานี้ สามารถถูกการเมืองแทรกแซงได้โดยง่าย
นอกจากว่าสภานี้ จะถูกแทรกแซงได้โดยง่ายแล้ว ยังจะมีอำนาจในการลงโทษ(ปรับ ๕ หมื่น-๑.๕ แสนบาท)สื่อมวลชนที่ (ถูกกล่าวหาว่า) ละเมิดจริยธรรมวิชาชีพ ซึ่งประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยทั่วโลก เขาใช้วิธีให้สื่อกำกับดูแลกันเองในด้านจริยธรรมและการลงโทษจะใช้วิธีการลงโทษทางสังคมแทนที่จะใช้การลงโทษทางกฎหมาย
ยิ่งกว่านั้น สภานี้ ยังมีอำนาจในการออกและเพิกถอนใบประกอบวิชาชีพสื่อมวลชนกับคนทำสื่อทั้งหลาย ซึ่งในทางสากลแล้ว การออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จะใช้กับวิชาชีพที่ต้องผ่านการศึกษาอบรมมาโดยเฉพาะเช่น แพทย์ พยาบาล วิศวกร ทนายความ เป็นต้น
ในขณะที่วิชาชีพสื่อมวลชน เป็นวิชาชีพที่เปิดกว้างให้ทุกคนสามารถเข้ามาประกอบวิชาชีพนี้ได้ เนื่องจากต้องการคนที่มีความคิดและทักษะความรู้ที่หลากหลายแต่ก็ต้องทำงานภายใต้กรอบจริยธรรมวิชาชีพที่สภาวิชาชีพที่เป็นอิสระ (ไม่ได้ตั้งขึ้นตามกฎหมาย) เป็นผู้กำหนด การกำหนดให้คนทำสื่อต้องขอใบอนุญาต จึงเป็นแนวคิดที่ผิดหลักการเสรีภาพสื่อโดยสิ้นเชิง

\"คนข่าว\" ค้าน กม.คุมสื่อ
พร้อมใจกันเปลี่ยนโปรไฟล์
กระชากโซ่ตรวนปลดปล่อยนกพิราบ


๒.ที่ผ่านมา สื่อมวลชน ควบคุมกันเองไม่ได้จริงหรือ?
ตอบ: การควบคุมกันเองของสื่อมวลชน คือ การควบคุมกันเองทางจริยธรรม เนื่องจากมีกฎหมายที่ควบคุมการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนมากมายอยู่แล้ว เช่น กฎหมายหมิ่นประมาท กฎหมายคุ้มครองเด็ก กฎหมายป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ เป็นต้น ดังนั้น การควบคุมกันเอองทางจริยธรรมที่เน้นการลงโทษทางสังคม จึงต้องอาศัยองค์ประกอบสำคัญ ๓ ส่วนคือ องค์กรสื่อมวลชน องค์กรวิชาชีพสื่อมวลชนและประชาชนผู้บริโภคสื่อ หากทั้ง ๓ ส่วนมีความตื่นตัว (เช่น ในประเทศประชาธิปไตยทั้งหลาย) การกำกับดูแลกันเองของสื่อมวลชนก็จะมีประสิทธิภาพ สำหรับประเทศไทยนั้น องค์ประกอบทั้ง ๓ ส่วนนี้ กำลังมีการปรับตัวไปสู่แนวทางที่พัฒนามากขึ้น การแก้ปัญหาด้วยความเชื่อว่า สื่อมวลชนควบคุมกันเองไม่ได้แล้วใช้วิธีออกกฎหมายลักษณะนี้ออกมา จึงเป็นวิธีการที่ล้าหลัง ไม่ทันกับความเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกเป็นอย่างยิ่ง

\"คนข่าว\" ค้าน กม.คุมสื่อ
พร้อมใจกันเปลี่ยนโปรไฟล์
กระชากโซ่ตรวนปลดปล่อยนกพิราบ



๓.แล้ววิชาชีพสื่อมวลชนจะมีหลักประกันอะไร ที่จะกำกับดูแลกันเองด้านจริยธรรม?
ตอบ: ปัจจุบันองค์กรวิชาชีพสื่อมวลชน ไม่ว่าจะเป็นสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย สมาคมผู้ผลิตข่าวออนไลน์ ฯลฯ ซึ่งมีหน้าที่โดยตรงในการกำกับดูแลด้านจริยธรรมของสมาชิก ได้ทำงานร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดกับนักวิชาการสื่อสารมวลชน (ผู้ตระหนักถึงความสำคัญของเสรีภาพสื่อ)
และองค์กรที่ทำงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในการเพิ่มกลไกการกำกับดูแลกันเองให้มีความเข้มข้นมากขึ้นมาตลอดระยะเวลาเกือบ ๒๐ ปีมาแล้ว แต่อาจไม่ทันใจกับบางท่านที่อยากจะเห็นการกำกับดูแลโดยกฎหมาย แต่ลืมคำนึงถึงผลกระทบที่จะตามมา โดยเฉพาะผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพในการรับรู้ข่าวสารของประชาชน

\"คนข่าว\" ค้าน กม.คุมสื่อ
พร้อมใจกันเปลี่ยนโปรไฟล์
กระชากโซ่ตรวนปลดปล่อยนกพิราบ

\"คนข่าว\" ค้าน กม.คุมสื่อ
พร้อมใจกันเปลี่ยนโปรไฟล์
กระชากโซ่ตรวนปลดปล่อยนกพิราบ

\"คนข่าว\" ค้าน กม.คุมสื่อ
พร้อมใจกันเปลี่ยนโปรไฟล์
กระชากโซ่ตรวนปลดปล่อยนกพิราบ


อ่านเพิ่มเติม :สุทธิชัย หยุ่น ฟันธง ร่างกฎหมายคุมสื่อ คือเผด็จการเต็มรูปแบบ!"ตีตรวน-ตีทะเบียนสื่อ คือกักขังความคิดประชาชน"http://www.nationtv.tv/main/content/social/378545114/5 เหตุผล ทำไมต้องค้าน "ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองสื่อ"http://www.nationtv.tv/main/content/social/378545127/