ประเดิมด้วย "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 ม.ค. 2558 โดยถอดถอนจากกรณีการปล่อยปละละเลยให้เกิดการทุจริตจากโครงการรับจำนำข้าว โดยในครั้งนั้น สนช. มีมติ 190 ต่อ 18 เสียง และ งดออกเสียง 8 เสียง
ต่อมา ในวันที่ 8 พ.ค. 2558 เป็นคิวของรัฐมนตรีและข้าราชการที่เกี่ยวข้องกับโครงการรับจำนำข้าว จากกรณีการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐหรือ G to G โดยเริ่มที่ "บุญทรง เตริยาภิรมย์" อดีต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ด้วยคะแนน 180 ต่อ 6 เสียง และงดออกเสียง 4 เสียง ตามด้วยนายภูมิ สาระผล อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ด้วยมติ 182 ต่อ 5 เสียง และงดออกเสียง 1 เสียง และสุดท้ายเป็นคิวของข้าราชการ ซึ่งคือนายมนัส สร้อยพลอย อดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ก็ถูกลงมติถอดถอนด้วยคะแนน 158 ต่อ 25 เสียง และงดออกเสียง 6 เสียงต่อมา ในวันที่ 16 ก.ย. 2559 สนช. ก็ได้ถอดถอน พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม จากรณีกรณีแทรกแซงการทำงานการในแต่งตั้งปลัดกระทรวงกลาโหม โดยมีมติ 159 ต่อ 27 เสียง โดยงดออกเสียง 1 เสียงวันที่ 4 พ.ย. 2559 ถึงคราวของ "นริศร ทองธิราช" อดีตส.ส.สกลนคร พรรคเพื่อไทย กรณีใช้บัตรลงคะแนนอิเล็กทรอนิกส์ลงคะแนนแทนบุคคลอื่นหรือที่เรียกว่าเสียบบัตรแทนกัน ในการลงมติร่างรัฐธรรมนูญ โดยที่ประชุมมีมติถอดถอนด้วยคะแนน 220 เสียง ไม่ถอดถอน 1 เสียง ไม่ออกเสียง 2 เสียง วันเดียวกัน สนช.ก็ได้ลงมติถอดถอน "อุดมเดช รัตนเสถียร" อดีต ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย และอดีตประธานวิปรัฐบาล ถูกถอดถอนออกจากตำแหน่ง กรณีสับเปลี่ยนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ด้วยคะแนน 206 ต่อ 15 เสียง
และล่าสุดวันนี้ 30 มี.ค. 2560 สนช. มีมติถอดถอน "สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล" อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ จากกรณีออกหนังสือเดินทางให้นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯโดยมิชอบ ซึ่งที่ประชุมมีมติ 231 ต่อ 4 เสียง และงดออกเสียง 3 เสียงโดย "สุรพงษ์" ถือเป็นผู้ที่ถูกถอดถอนด้วยเสียงสูงสุด และนายสุรพงษ์น่าที่จะเป็นคนสุดท้ายที่ถูกถอดถอนโดย สนช. เพราะรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จะประกาศใช้ในเร็วๆนี้แล้ว