เดิมกุ้งก้ามแดงเป็นสัตว์ต่างถิ่น ที่ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องของพฤติกรรมว่าจะทำลายสิ่งแวดล้อมล้อม หรือ เอเลี่ยน สปีชีส์ หรือไม่ เพราะไม่มีงานวิจัยที่ชัดเจนในประเทศไทย ล่าสุดนักวิจัย จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒิ (มศว.) วิทยาเขตองครักษ์ จ.นครนายก "นายกฤติญา แสงภักดี" จากคณะวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวระบบนิเวศน์ ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง หรือเครฟิชแล้ว
แม้ว่ากรมประมงยังไม่ให้การรับรอง และไม่สนับสนุนเนื่องจากเป็นสัตว์ต่างถิ่น ที่จัดในประเภทสัตว์ควบคุมของกรมประมง แต่สามารถเลี้ยงได้ด้วยการไปแจ้งให้กรมประมงทราบก่อนว่ามีการเลี้ยงเท่าไร" นายประทีป กล่าว
นายกสมาคมการค้ากุ้งก้ามแดง บอกอีกว่า การเลี้ยงกุ้งก้ามแดงไม่เฉพาะในประเทศไทย แต่ลามไปยังประเทศเพื่อนบ้านเช่น สปป.ลาว ถึงขนาดรัฐบาลส่งเสริมให้เกษตรกรในประเทศของเขาทำการเลี้ยงอย่างจริงจัง เพื่อทำการตลาดส่งออกถึงผู้บริโภคต่างทวีป และประเทศที่มีกำลังการซื้อสูง เช่นจีนเป็นลูกค้าหลัก ส่วนในประเทศไทยเอง
ขณะนี้มีร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงแรมต่างๆ หลายแห่งเริ่มมีการนำกุ้งก้ามแดงไปอยู่ในเมนูอาหารของร้านบ้างแล้ว เป็นสิ่งที่บ่งบอกว่า ตลาดกุ้งก้ามแดงสำหรับทำเป็นอาหารจะโตอย่างต่อเนื่องในเร็ววันอย่างแน่นอน
สำหรับการเลี้ยงกุ้งก้ามแดงผู้เลี้ยงกุ้งกก้ามแดงสามารถเลี้ยงได้หลายวิธี ทั้งเลี้ยงในนาข้าว เลี้ยงในบ่อซิเมนต์ บ่อดิน อย่างของเขาเลี้ยงในรูปแบบของชีววิถี ที่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี ปล่อยให้หากินตามธรรมชาติ ล่าสุดได้มีการตกลงกับห้างโมเดิ้ลเทรด ที่จะรับซื้อกุ้งก้ามแดงแล้ว แต่ปัญหาเกษตรกรยังผลิตได้ไม่สม่ำเสมอ จึงคากว่าหากเกษตรกรเลี้ยงมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่มีตลาดรองรับแน่นอน
ก่อนหน้านี้ นายกฤติญา แสงภักดี ที่ทำการวิจัยเรื่องกุ้มก้ามแดง ดำเนินภายใต้โครงการวิจัยการศึกษารูปแบบการเลี้ยงกุ้งก้ามแดง Cherax quadricarinatus ในนาข้าวและผลกระทบต่อระบบนิเวศในนาข้าว จังหวัดนครนายก เริ่มตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2558 - 15 มิถุนายน พ.ศ.2559 ณ แหล่งเรียนรู้พฤกษศาสตร์ วิถีธรรมชาติ ชุมชน มศว อ.องครักษ์ จ.นครนายก
และพื้นที่เครือข่ายจังหวัดใน 5 ภูมิภาค ได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคตะวันออก และภาคใต้ เพื่อสำรวจข้อมูลและข้อเท็จจริงต่างๆ เกี่ยวกับประเด็นผลกระทบของการเลี้ยงกุ้งก้ามแดงต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะในนาข้าว โดยสำรวจข้อมูลจากทั้ง 2 ด้านทั้งในทางบวก และลบ ให้เกิดความชัดเจนในเรื่องนี้
การศึกษาวิจัยในครั้งนี้ เน้นการเลี้ยงกุ้งก้ามแดงและผลกระทบต่อระบบนิเวศ ทั้ง 5 ภูมิภาค โดยศึกษาจากที่เราเลี้ยงแบบชีววิถีคือคือปล่อยแมลงน้ำ และวัชพืชน้ำในนาข้าวร่วมกับการเลี้ยงกุ้ง วิธีที่ 2ปล่อยกบ หอย และแมลงในน้ำและวัชพืชน้ำร่วมกับการเลี้ยงกุ้ง,วิธีที่ 3 การปล่อยกุ้งฝอย ปลากินพืช หอย แมลงในน้ำ และวัชพืชน้ำร่วมกับการเลี้ยงกุ้ง,วิธีที่ 4การปล่อยแมลงน้ำ กบ หอย กุ้งฝอย ปลากินพืช ปลากินเนื้อ และวัชพืชน้ำร่วมกับการเลี้ยงกุ้งในนาหว่านน้ำตม หลังข้าวงอก 20 วัน, และวิธีที่ 5 การเลี้ยงกุ้งในนาหว่านน้ำตม หลังข้าวงอก 20 วัน
ผลการศึกษาของเราพบว่า กรรมวิธีที่ 3 การเลี้ยงกุ้งก้ามแดงในนาข้าว ร่วมกับการเลี้ยงกุ้งฝอย หอยขม ปลากินพืช แมลงในน้ำ และวัชพืชน้ำ กุ้งก้ามแดงเจริญเติบโตและอัตราการรอดชีวิตดีที่สุดถึง 90 % ต้นข้าวได้ผลผลิตสุง 450-550 กก./ไร่ ส่วนกุ้งฝอย หอยขม ปลากินพืชเจริญเติบโตได้อย่างปกติ รองลงมาได้แก่ กรรมวิธีที่ 5 และ 1 กุ้งก้ามแดงเจริญเติบโตและอัตราการรอดชีวิต คือ 75% และ 50% ตามลำดับ ในขณะที่ กรรมวิธีที่ 2 และ 4 กุ้งก้ามแดงตายทั้งหมด เนื่องจาก ถูกสัตว์ศัตรู ได้แก่ กบ และปลากินเนื้อกำจัดหมดนอกจากนี้ เขา ยังพบอีกว่า กุ้งก้ามแดงไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว เพราะเหมือนสัตว์ต่างถิ่นทั่วไปอย่างปลานิล กินพืชและสัตว์ ที่เป็นเป้านิ่ง หรือเคลื่อนไหวช้า และไม่แตกต่างกับกุ้งก้ามกราม แต่เพื่อความแน่ชัด เขาได้ทำแผนวิจัยภาค 2 เพื่อให้ครบวงจรต่อไป..