ข่าวที่เกี่ยวข้องพศ.ส่งเรื่องคณะปกครองสงฆ์จัดการ #ธัมมชโย ตามกฎ มส. ฉบับ 21
เปิดกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๑ (พ.ศ. ๒๕๓๘) ซึ่งออกโดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๕ ตรี และมาตรา ๒๗ แห่ง พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะ สงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มหาเถรสมาคมตรากฎมหาเถรสมาคมไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ กฎมหาเถรสมาคมนี: เรียกว่า "กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๑ (พ.ศ.๒๕๓๘) ว่าด้วยการให้พระภิกษุสละสมณเพศ
ข้อ ๒ กฎมหาเถรสมาคมนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในแถลงการณ์คณะสงฆ์เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ในกรณีพระภิกษุรูปใด
(๑) ประพฤติล่วงละเมิดพระธรรมวินัยเรื่องเดียวกัน หรือหลายเรื่องเป็นอาจิณ ให้เจ้าอาวาสวัดซึ่งพระภิกษุรูปนั้นสังกัด หรือพํานักอาศัยมีอํานาจหน้าที่แนะนํา ชี้แจง ตักเตือน ให้พระภิกษุรูปนั้นประพฤติตามพระธรรมวินัยเป็นลายลักษณ์อักษร โดยกําหนดเวลาให้ปฏิบัติ หากพระภิกษุรูปนั้นไม่ปฏิบัติตาม คําแนะนํา ชี้แจง ตักเตือน ภายในเวลาที่กําหนด ให้เจ้าอาวาสซึ่งพระภิกษุรูปนั้น สังกัดหรือพํานักอาศัย รานงานโดยลําดับ จนถึงเจ้าคณะอําเภอเจ้าสังกัด เพื่อวินิจฉัยให้สละสมณเพศต่อไป
(๒) ไม่สังกัดอยู่ในวัดใดวัดหนึ่ง หรือไม่มีวัดเป็นที่อยู่เป็นหลักแหล่ง ให้พระภิกษุผู้ดํารงตําแหน่งปกครองวัดหรือพระภิกษุผู้ดํารงตําแหน่งปกครองคณะสงฆ์ ในเขตท้องที่ที่พบพระภิกษุรูปนั้น มีอํานาจหน้าที่วินิจฉัยให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศเสียได้
ข้อ ๔ ในกรณีที่มีการฟ้องร้องว่าพระภิกษุรูปใดกระทําความผิดอันเป็น "ครุกาบัติ" เมื่อคณะผู้พิจารณาชั้นต้นไต่สวนมูลฟ้องตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๑) ว่าด้วยการลงนิคหกรรมแล้ว มีคําสั่งประทับฟ้องเพื่อดำเนินการพิจารณาวินิจฉัยต่อไปก็ดี คณะผู้พิจารณาชั้นต้นวินิจฉัยแล้วไม่ว่าจะลงนิคหกรรม หรือไม่ก็ตาม และเรื่องยังอยู่ภายในกําหนดเวลาอุทธรณ์ก็ดี หรือมีการอุทธรณ์ ภายในกําหนดเวลาแล้วไม่ว่าคณะผู้พิจารณาชั้นอุทธรณ์แล้วแต่กรณี รายงาน ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย และพระธรรมวินัยที่เกี่ยวข้องต่อมหาเถรสมาคม
ในกรณีที่การพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมอยู่ในชั้นฎีกา กรรมการมหา เถรสมาคมรูปใดรูปหนึ่งอาจรายงานต่อมหาเถรสมาคมเพื่อให้ดําเนินการตามข้อนี้ นอกเหนือจากการพิจารณาวินิจฉัยการลงนิคหกรรมก็ได้
ในกรณีที่มหาเถรสมาคมพิจารณาจากรายงานดังกล่าวและพยานหลักฐานอื่นประกอบกันแล้ว เห็นว่าพระภิกษุผู้เป็นจําเลยประพฤติล่วงละเมิดพระธรรมวินัย เรื่องเดียวกัน หรือหลายเรื่องอันเป็นโลกวัชชะเป็นอาจิณ ทั้งความประพฤตินั้นเมื่อพิจารณาจากพฤติการณ์ที่ล่วงมาแล้ว หากให้ดํารงเพศบรรพชิตต่อไป จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่พระศาสนา และการปกครองคณะสงฆ์ มหาเถรสมาคมมีอํานาจวินิจฉัยให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศได้ ทั้งนี้ไม่กระทบต่อการพิจารณาวินิจฉัย การลงนิคหกรรมที่กําลังดําเนินการอยู่ไม่ว่าในชั้นใดๆ
ข้อ ๕ คําวินิจฉัยให้พระภิกษุสละสมณเพศตามข้อ ๓ หรือข้อ ๔ ให้เป็น อันถึงที่สุด
ข้อ ๖ เมื่อคําวินิจฉัยให้พระภิกษุรูปใดสละสมณเพศตามข้อ ๓ หรือ ๔ แล้ว ให้เจ้าอาวาสซึ่งพระภิกษุรูปนั้นสังกัด หรือพํานักอาศัย หรือพระภิกษุผู้ดํารง ตําแหน่งปกครองวัด หรือพระภิกษุผู้ดํารงตําแหน่งปกครองคณะสงฆ์ในเขตท้องที่ที่พบพระภิกษุรูปนั้นแล้วแต่กรณี แจ้งผลคําวินิจฉัยให้พระภิกษุรูปนั้นทราบ และ จัดการให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณเพศ
ในกรณีที่ไม่อาจพบพระภิกษุรูปนั้น หรือพระภิกษุรูปนั:นไม่ยอมรับทราบคําวินิจฉัยเมื่อปิดประกาศคําวินิจฉัยไว้ ณ ที่พํานักอาศัยของพระภิกษุรูปนั้น ถือว่า พระภิกษุรูปนั:นทราบคําวินิจฉัยดังกล่าวแล้ว
ข้อ ๗ พระภิกษุผู้ต้องคําวินิจฉัยให้สละสมณเพศต้องสึกภายในสามวัน นับแต่วันทราบหรือถือว่าทราบคําวินิจฉัยนั้น
ในกรณีที่พระภิกษุรูปนั้นไม่สึกภายในกําหนดเวลาดังกล่าว ให้พระภิกษุผู้มีหน้าที่จัดการให้พระภิกษุรูปนั้นสละสมณะเพศอารักขาต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายราชอาณาจักร เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามคําวินิจฉัย
ข้อ ๘ ให้คณะผู้พิจารณาชั้นต้น หรือชั้นอุทธรณ์แล้วแต่กรณี ซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณา วินิจฉัยการลงนิคหกรรมตามกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๑) ว่าด้วยการลงนิคหกรรมและการพิจารณานั้นยังไม่ถึงที่สุด ปฏิบัติตามกฎมหาเถรสมาคมนี้ และกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๑๑ (พ.ศ. ๒๕๒๑) ต่อไป
ซึ่ง กฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ ๒๑ ได้ตราไว้เมื่อ วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๓๘ และลงนามโดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลสังฆปริณายก ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม
หมายเหตุท้ายเรื่อง...นิคหกรรม (อ่านว่า นิก-คะ-หะ-กำ) แปลว่า การข่ม เป็นวิธีการลงโทษภิกษุตามพระธรรมวินัยเพื่อให้เข็ดหลาบ นิคหกรรม ใช้สำหรับลงโทษภิกษุ ผู้ทำเสียหาย เช่น ก่อการทะเลาะวิวาทบาดหมาง ทำความอื้ฉาว มีศีลวิบัติ ติเตียนพระรัตนตรัย ประพฤติอนาจาร ลบล้างพระบัญญัติ ประกอบมิจฉาชีพ ฟอกเงิน รับของโจร เป็นต้น.
นิคหกรรม เป็นกิจที่พึงทำอย่างหนึ่งของผู้ปกครองหมู่คณะฯ ทั้งนี้เพื่อความอยู่ผาสุกแห่งสงฆ์เมื่อมีผู้ประพฤติมิชอบ สมควรแก่นิคหกรรม
นิคหกรรม ในปัจจุบัน มีกฎของคณะสงฆ์ เพื่อการนี้เรียกว่า กฎนิคหกรรม แต่ใช้ในกรณีพระทำความผิดที่ร้ายแรง หรือ คุรุกาบัติ ต้องถูกลงโทษตามพระธรรมวินัย เช่น ถอดยศ ทำให้หมดอำนาจหน้าที่, ขับไล่ออกจากหมู่คณะ ให้สึก! ฯลฯ