svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

"สมาร์ทกริด" โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ

"สมาร์ทกริด" โครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ

พาไปรู้จัก Smart Grid ระบบโครงข่ายสำหรับส่งไฟฟ้าอัจฉริยะแบบครบวงจร แม้ยังไม่คุ้นหูคนทั่วไป แต่ระบบนี้จะเริ่มเป็นเรื่องใกล้ตัวมากขึ้น ติดตามจากรายงาน คุณวุฒินันท์ นาฮิม

เหตุผลที่ทำให้ Smart Grid เริ่มเป็นที่รู้จักและถูกนำไปใช้งานอย่างแพร่หลาย เพราะแนวโน้มธุรกิจไฟฟ้าของโลกเบนเข็มมาที่การใช้พลังงานสะอาด จากพลังงานลม แสงอาทิตย์ หรือพลังงานชีวภาพอื่นๆ สังเกตเห็นได้จากการติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์หรือกังหันลม

จริงๆ ระบบโครงข่ายสำหรับส่งไฟฟ้าอัจฉริยะแบบครบวงจร หรือ สมาร์ทกริด มีมาตั้งแต่ยุคอนาล็อกแล้ว และเมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัลไทยแลนด์ 4.0 เทคโนโลยีต่างๆ เอื้อให้แนวคิดสุดล้ำจากอดีตเป็นจริง

สมาร์ทกริดทำหน้าที่ส่งไฟฟ้าจากผู้ให้บริการไปยังผู้ใช้บริการด้วยระบบสื่อสารสองทางเพื่อควบคุมเครื่องใช้ไฟฟ้า จากบ้านของผู้ใช้ ช่วยให้สามารถบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าได้มีประสิทธิภาพ

โดยบริษัทที่ให้บริการระบบส่งจ่ายไฟฟ้าสมาร์ทกริดได้พัฒนาโปรแกรมพร้อมติดตั้งอุปกรณ์ที่ตรวจสอบยอดใช้ไฟฟ้าได้ตามจริงแบบ Real Time แต่ละครัวเรือนรู้ว่าใช้ไฟฟ้าเท่าไหร่ จุดไหนใช้มากน้อยอย่างไร และยังช่วยคำนวณการแจกจ่ายกระแสไฟของเมือง ช่วยให้การจ่ายกระแสไฟฟ้ามีความเสถียร ลดปัญหาไฟดับในช่วงที่มีการใช้ไฟสูง ทั้งยังทำให้ผู้ใช้สามารถเห็นพฤติกรรมและปรับลดการใช้พลังงานของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพถามว่าแล้วดีอย่างไร ก็ดีตรงที่ เมื่อเราผลิตไฟฟ้าได้เกินจากการใช้งานก็ย่อมสามารถส่งกลับไปขายให้รัฐหรือบริษัทผู้ให้บริการไฟฟ้าได้ ทำให้สามารถจัดสรรพลังงานทดแทนเข้ามาใช้ในระบบในช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง และไม่เพียงประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ระบบนี้ยังมุ่งเน้นไปในด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการพลังงานทดแทนด้วย อย่างที่ผู้สนใจกลุ่มนี้กำลังศึกษาเทคโนโลยีจากองค์กรด้านพลังงานไฟฟ้าที่ทุ่มทุนวิจัยและพัฒนาสมาร์ทกริดเพื่อนำมาใช้อย่างจริงจัง

ซึ่งพบว่า สมาร์ทกริด กำลังเบ่งบานขึ้นในหลายประเทศยุโรป หลายเมืองในอเมริกา และประเทศในเอเชียที่สนใจการลงทุนพัฒนาเพื่ออนาคต เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และไทยซึ่งถือว่าได้เปรียบเมื่อเทียบกับกลุ่มประเทศอินโดจีน แม้แต่สถาบันอุดมศึกษาของไทยที่เด่นงานวิจัยด้านพลังงาน ก็เร่งส่งเสริมในด้านเหล่านี้
ปัจจุบันกระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างขับเคลื่อนแผนแม่บทการพัฒนาระบบโครงข่ายสมาร์ทกริดให้เป็นแผนเชิงปฏิบัติการ โดยจะบรรจุเรื่องการพัฒนาระบบกักเก็บพลังงาน หรือ แบตเตอรี เอ็นเนอร์ยี สตอเรจ ลงในแผนฯ พร้อมส่งเสริมการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่ เพื่อลดการพึ่งพาไฟฟ้าจากส่วนกลาง ซึ่งจะช่วยให้เกิดความมั่นคงด้านไฟฟ้ามากขึ้น เบื้องต้น สนพ. ได้จัดสรรงบประมาณไว้จำนวน 700 ล้านบาท เพื่อวิจัยและพัฒนา

    News Hub